รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000201
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Factors Affecting The Self Discipline Of Students Humanities and Social Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ปัจจัย,ความมีวินัยในตนเอง,นักศึกษา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันประเทศจะเกิดการพัฒนาและเจริญก้าวหน้านั้นจะต้องมีพลเมืองที่มีคุณภาพซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลในการพัฒนาประเทศชาติให้ลุล่วงตามเป้าหมาย การปลูกฝังวินัยในตนองให้แก่เยาวชนจึงเป็นการพัฒนาบุคคลให้มีคุณภาพ ซึ่งมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะให้ได้ว่ามีนักศึกษาที่สำคัญได้กล่าวถึงคุณค่าและประโยชน์ของความมีวินัยในตนเองไว้ว่าคุณค่าของความมีวินัยนั้นช่วยให้ กลุ่มคนหรือสังคมต่างๆ อยู่ร่วมกันได้อย่างมีปกติสุขซึ่งวินัยไม่ได้ หมายถึงกฎเกณฑ์หรือระเบียบ ข้อบังคับเฉพาะในกลุ่มคนเท่านั้น แต่ยังหมายถึงระเบียบวินัยในตัวบุคคลด้วย กลุ่มสังคมใดที่มีวินัยในตนเองมากก็จะทำให้การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ไม่เบียดเบียนกันและเจริญก้าวหน้าไปด้วยดี ซึ่งผลของการมีวินัยในตนเองของนักเรียน นักศึกษาส่งผลต่อความสำเร็จในสิ่งที่ทำกล่าวถึงคุณลักษณะของความมีวินัยในตนเองที่ส่งผลต่อความสำเร็จเอาไว้ คือ ความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความตรงต่อเวลา ความเป็นผู้นำ ซึ่งในที่กล่าวมานี้เป็นคุณลักษณะที่ในตัวของนักเรียน นักศึกษามีแล้วก็จะก่อให้เกิดความสำเร็จในการเรียน การทำกิจกรรมที่บรรลุเป้าหมายได้เป็นอย่างดี วินัยในตนเองจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก การมีวินัยในตนเองนอกจากจะส่งผลให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิต ได้รับการยอมรับ นับถือ ชื่นชมจากบุคคลอื่นๆ ที่รู้จักแล้วยังส่งผลให้ชุมชน สังคม ประเทศชาติ มีความสงบสุขเจริญก้าวหน้า เป็นสังคมที่มีคุณภาพ ดังนั้นจึงควรพัฒนาให้บุคคลมีวินัยในตนเอง ตั้งแต่เด็กและรักษาไว้อย่างต่อเนื่องความสำเร็จทั้งหลายทั้งปวงในชีวิตขึ้นอยู่กับความสามารถในการจูงใจตนเองให้มีความเพียรพยายามไม่ย่อท้อจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายก็คือ วินัยในตนเอง(บุญชม ศรีสะอาด.2555 : 3) การพัฒนาให้เกิดวินัยในตนเองต้องอาศัยสถาบันต่างๆ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนๆ โรงเรียน ศาสนาสถาบันอาชีพต่างๆ สถาบันการเมือง โดยสถาบันครอบครัวประกอบด้วยบิดามารดา พี่น้อง ญาติ สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันที่สำคัญที่สถาบันที่สถาบันที่สำคัญที่สุดและเป็นแหล่งแรกที่ทำหน้าที่ปลูกฝังและหล่อหลอมตลอดจนถ่ายทอดลักษณะอันทรงคุณธรรมและจริยธรรม และระเบียบวินัยแก่สมาชิกในครอบครัว ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่วัยทารก การพัฒนาวินัยในตนเองกระทำทางตรงด้วยการอมรมสั่งสอนและโดยทางอ้อมซึ่งอาศัยการสังเกตลักษณะและการกระทำต่างๆ โดยสิ่งที่จะทำให้เด็กนักเรียน นักศึกษา เกิดความมีวินัยในตนเองได้จะต้องมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดูของผู้ปกครอบตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น การให้ความสำคัญในสัมพันธภาพในครอบครัวในทางที่ดีมีความอบอุ่นหรือแม้กระทั่งกระบวนการที่โรงเรียน สถานศึกษามีการจัดการกิจกรรมส่งเสริมความมีวินัยในเองที่สอดแทรกเข้าไปนอกจากการเรียนการสอนรวมถึงพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงในการเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาเป็นอย่างดีโดยผ่านทางพฤติกรรมทางการสอนของอาจารย์อีกประการหนึ่งที่เป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดความมีวินัยในตนเองก็คือแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของตัวเด็กนักเรียน นักศึกษาเองที่ต้องสร้างแรงจูงใจเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ตนเองมีความใฝ่เรียนรู้และใฝ่หาความรู้เข้าสู่ตนเองอยู่ตลอดเวลาจากสิ่งที่กล่าวมานี้พอเห็นได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมความมีวินัยในตนเองไม่มากก็น้อยอย่าง ดวงเดือน พันธุมนาวิน (2538 : 63-65) ได้เสนอวิธีการปลูกฝังมีวินัยในตนเองให้แก่เด็กดังนี้ คือ 1.การอบรมเลี้ยงดูเด็กโดยครอบครัวและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการให้การศึกษาควรให้การอบรมเลี้ยงดูที่ดีที่สุด คือ การให้ความรักและความเข้าใจเป็นเครื่องสนับสนุน อีกทั้งมีการให้เหตุผล การลงโทษทางจิตมากกว่าทางกาย รวมทั้งการควบคุมอย่างพอเหมาะ ไม่บังคับมากเกินไป นั่นคือควรใช้การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย 2.การฝึกอมรมเพิ่มเติมโดยการถ่ายทอดวินัยในตนเองให้แก่เด็กทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ การให้ความรู้คำแนะนำการลงโทษ การให้รางในพฤติกรรมต่างๆ อีกทั้งผู้ใหญ่จะต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการเลียนแบบเด็ก ถ้าต้องการให้การพัฒนาวินัยในตนเองได้ผลตามต้องการ บิดามารดาควรจะใช้วิธีวางเป้าหมายระยะยาว โดยมุ่งให้เด็กยอมรับค่านิยมต่างๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งในจิตใจของเด็ก ด้วยการให้เหตุผล ให้ความรักแก่เด็ก เนื่องจากการพัฒนาวินัยในตกเองเป็นการฝึกให้เด็กแสดงพฤติกรรมในทางที่ดีได้ แต่ถ้าบิดามารดาควบคุมมากเกินไปก็จะเรียนรู้ค่านิยมมาตรฐานของสังคมและพฤติกรรมในทางที่ดีได้ แต่ถ้าบิดามารดาควบคุมมากเกินไปก็จะมีผลทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่น ขาดความสามารถในการปกครองตนเองและไม่น่าเชื่อถือตนเอง โรงเรียนหรือสถานศึกษาเป็นสถาบันที่สำคัญมากในการพัฒนาวินัยในตนเองของบุคคลในทุกวัย ทุกระดับการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ผู้มีบทบาทสำคัญคือครูและผู้บริหาร ที่ทำการอบรมสั่งสอนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน การจัดกิจกรรมประสบการณ์ต่างๆ การเป็นแบบอย่างที่ดี รวมถึงการบริหารจัดการให้มีสิ่งแวดล้อมที่ดีมีบุคคลจำนวนมากที่มีวินัยในตนเอง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากโรงเรียนหรือสถาบัน อย่างมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่สำคัญที่สุดในการส่งเสริมและเสริมสร้างให้นักศึกษาเกิดความมีวินัยในตนเองเพราะเป็นแหล่งบ่มเพราะคุณลักษณะนิสัยที่ดีงามสร้างให้นักศึกษาเป็นคนดีของสังคมของประชาคมโลก ฝึกอบรมโดยการถ่ายทอดวินัยในตนเองให้แก่นักศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในฐานะเป็นองค์กรย่อยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ก็ดำเนินการปลูกฝังเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาด้วยเช่นกัน คือ การให้ความรู้ คำแนะนำผ่านครูบาอาจารย์ โดยมหาวิทยาลัยได้เน้นความมีวินัยในตนเองซึ่งจะเห็นได้จากการฝึกฝนผ่านวิชาการเรียนการสอน ผ่านกิจกรรมเสริมสร้างวินัยในตนเองให้แก่นักศึกษาแต่ในปัจจุบันจะเห็นได้จากความจริงว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์นั้นยังขาดความมีวินัยในตนเองทั้ง ความรับผิดชอบในเรื่องการเรียน การไม่กล้าแสดงออกเนื่องจากขาดความเชื่อมั่นในตนเองส่งผลให้นักศึกษาขาดการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัยน้อยลงแม้กระทั่งในห้องเรียนก็เห็นได้จากการไม่กล้าคิดไม่กล้าตอบคำถามรวมถึงภาวะความเป็นผู้นำที่นักศึกษายังไม่เห็นความสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่ผู้ตามที่ต้องรอคำสั่งเพียงอย่างเดียวแม้กระทั่งความอดทนความตั้งใจนักศึกษาก็ยังมีน้อยดูจากการเข้าประชุมอมรบสัมมนานักศึกษาไม่มีความตั้งใจที่จะใฝ่หาความรู้แถมยังไม่สนใจที่จะฟังซึ่งทำให้นักศึกษาไม่เกิดการแสวงหาความรู้ที่ใหม่ๆ มาใส่ตัวตรงนี้ยังมองไปถึงความซื่อสัตย์ของตัวเองทั้งในเรื่องกฎ ระเบียบ กติกาหรือความซื่อสัตย์ในหน้าที่ที่ตนเองควรกำทำซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวแล้วก็ยังมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่ทำให้นักศึกษาขาดความมีวินัยในตนเองอันส่งผลต่อการเรียนรู้และความสำเร็จในการกระทำสิ่งใดให้บรรลุเป้าหมายได้ ดังนั้นจากการที่ผู้วิจัยเองเป็นผู้ปฏิบัติงานงานในฐานะอาจารย์ในคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นผู้ที่คอยเสริมสร้างความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาโดยตรง จึงสนในที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีวินัยในตนเองอันจะก่อเกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การเข้าร่วมกิจกรรมที่
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อการศึกษาระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนคสวรรค์ 3 เพื่อศึกษาเพื่อความสำคัญระหว่างปัจจัยที่เป็นตัวแปรกับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4 เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของเนื้อหา ในการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในครั้งนี้จะศึกษาขอบเขตด้านเนื้อหาการศึกษาปัจจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในกรณีศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในครั้งนี้มีขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่างดังนี้ ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้นี้ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ระหว่างปีการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 3147 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จำนวน 3147 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มในตัวอย่างคือนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 355 คน ขอบเขตด้านตัวแปร ในการศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาคร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนคนวรรค์ ในครั้งนี้มีขอบเขตด้านตัวแปร ดังนี้ ตัวแปรต้นไม้ คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตรเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 5 ตัวแปหร คือ - การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตร - สัมพันธภาพใรนครอบครัว - การจัดกิจกรรมส่งเสริมความมีวินัย - แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ - พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ ตัวแปรตาม คือ ความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมุษยศาตร์และสังคมศษสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 6 ตัวแปร คือ - ความรับผิดชอบ - ความเชื่อมั่นในตนเอง - ความเป็นผู้นำ - ความอดทน - ความสื่อสัตย์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1ทำให้ทาบถึงระดับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2 ทำให้ทราบถึงระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3 ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เป็นปัจจัยความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4 ทำให้ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 5 สามารถนำพลที่ได้จากการศึกษามาเป็นแนวทางในสร้างควมมีวินัยในตนเอง และพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1 แนวคิดเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเอง 2 แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่มีต่อความมีวินัยใตนเอง 3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ครั้งนี้ผู้วิจัยตั้งสมมุติฐาน ดังนี้ 1 การอบรบเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตรมีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2 สัมพันธภาพในครอบครัวมีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3 พฤติกรรมการสอนของอาจารย์มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 4 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 5 การจัดกิจกรรมการส่งเสริมความมีวิในมีอิทธิพลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :กรณีศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยรายละเอียดดังนี้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 3147 คน กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 3147 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เกณฑ์การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยใช้สูตรของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ คือนักศึกษาภาคปกติ ชั้นปีที่ 1-4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในการศึกษา 2556 ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศษสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 355 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยผู้วิจัยได้กำหนดโครงสร้างของแบบสอบถามออกเป็น 3 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา สาขาวิชาที่เรียน คณะที่เรียน ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบปลายปิด จำนวน 5 ข้อ ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความมีวินัยในตนเองของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสัมคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ลักษณะคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับคือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและหาคุณภาพของเครื่องมือ ในการสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือตามลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาหลักการแนวคิดทฤษฎี จากเอกสารและงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่จะศึกษา เพื่อนิยามเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถาม 2. สร้างแบบสอบถามตามกรอบแนวคิด 3. นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้น ไปขอความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเที่ยงตรง (Validity) ของเนื้อหา ในการแปลความหมายโดยเลือกข้อที่มีค่าเฉลี่ย IOC มากกว่า 0.5 ถือว่าผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในระดับที่ยอมรับได้ 4. นำแบบสอบถามที่ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาไปตรวจสอบเพื่อแก้ไขและปรับปรุงอีกครั้ง 5. นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน 6. นำแบบสอบถามที่คัดเลือกไว้ไปหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ ตามวิธีของ ครอนบาค (Conbrach) 7. ปรับปรุงแบบสอบถามให้เป็นเครื่องมือฉบับสมบูรณ์ แล้วนำไปเก็บข้อมูลงานวิจัยต่อไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :346 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายอดุลเดช ถาวรชาติ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด