รหัสโครงการ : | R000000200 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ความยากจนกับกระบวนการยุติธรรม ; กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Poverty with Criminal justice Process ; A case study The Observation and Protective Center of Nakhonsawan |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ความยากจน (Poverty) และกระบวนการยุติธรรม(Poverty with Criminal justice Process) |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 30000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 30,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาความยากจนในสังคมไทยเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงควบคู่กับการพัฒนาประเทศตลอดมา ซึ่งในช่วงหลังนี้สังคมไทยเริ่มประจักษ์ถึงความจริงที่ว่าความยากจนมิได้จำกัดเฉพาะการมีรายได้น้อยเท่านั้น แต่ยังรวมประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของประชาชน ซึ่งผลการศึกษาและงานวิจัยด้านอาชญาวิทยา พบว่า ผู้กระทำผิดคดีประเภทอาชญากรรมพื้นฐานที่ถูกดำเนินการกระบวนพิจารณาคดีในศาลส่วนใหญ่เป็นคนยากจน คนตกงาน และกรรมกรผู้ใช้แรงงาน ซึ่งประเด็นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแสดงทัศนะในเรื่องความยุติธรรมกับความยากจนไว้เมื่อ วันที่ 12 กันยายน 2545 ณ ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาลว่า “คนจน” มักตกเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมของคนจนด้วยกัน กล่าวคือ คนที่เป็นอาชญากรรมก็เป็นคนจน ผู้เสียหายทางอาชญากรรมก็มักจะเป็นคนจน ซึ่งถ้าศึกษาสถิติคนติดคุกจะพบว่า ประมาณร้อยละ 90 ของทั้งหมดเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มระดับล่างที่มีรายได้น้อย
ความยากจน กับ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นปัจจัยที่ต่างเป็นเหตุผลกันและกัน กล่าวคือ เพราะเหตุที่ยากจนจึงทำให้คนเหล่านั้นไม่อาจเข้าถึงความยุติธรรมได้ตามสิทธิอันควรหรือไม่เท่าทียมกับผู้อื่นที่ ไม่ยากจน สามารถกระทำได้ในทางตรงกันข้ามเมื่อกลับเอา การเข้าถึงความยุติธรรมจะพบว่าผู้คนที่มีความต้องการเข้าถึงความยุติธรรมเพราะไม่ได้รับความยุติธรรม หรือ ประสบกับความไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน หรือถูกเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เมื่อมีความประสงค์จะเข้าถึงความยุติธรรมแล้ว ผู้คนเหล่านั้นต้องจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมากเพื่อเหล่านั้น ทำให้เกิดผลคือความยากจน ขาดแคลน ขาดสภาพคล่องตามมาหรือบางคนได้เห็นถึงความยุ่งยากซับซ้อนของช่องทางในการเข้าถึงความยุ๖ธรรมที่เป็นแบบแผนพิธีการซึ่งต้องดำเนินการผ่านกระบวนการวิธีที่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมาก จนต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อการต่อสู้คดีที่อาจเลือกใช้กระบวนการยุติธรรมนอกระบบ ซึ่งรวดเร็ว ย่อมเยากว่าแม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อกฎหมายมากว่าก็ตาม(สมชาย ศักดาเวศีศร,2549 )
ความไม่เสมอภาคในกระบวนการยุติธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนยากจนในทุกกลุ่มอายุในส่วนของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและถูกจับส่งสถานพินิจ ในประเทศไทยนั้น นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งและเป็นปัญหาที่ทุกภาคทุกส่วนต้องให้ความสนใจและดำเนินการแก้ไขโดยเร่งรีบ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีนั้นมีจำนวนเป็นหมื่น ๆ รายอย่าง เช่น ในปี พ.ศ.2547 มีจำนวน 33,308 รายและในปี พ.ศ.2548 มีจำนวน 36,080 รายในปี พ.ศ.2549 มีจำนวน 48,218 ราย ในปี พ.ศ.2550 มีจำนวนถึง 51,128 ราย และในปี พ.ศ.2551 มีจำนวนถึง 42,766 ราย(รายงานสถิติคดีประจำปี,กลุ่มงานข้อมูลและสารสนเทศ,สำนักงานพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน,2551 :22) เนื่องจากเด็กและเยาวชนเหล่านี้เป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (Transitional period) โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น คือ เป็นช่วงที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กเข้าไปสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (อายุระหว่าง 17-25 ) ซึ่งในช่วงอายุดังกล่าวนี้ในทางอาชญาวิทยาในกลุ่มของ Life-course theory ถือว่าเป็นช่วงอายุที่มีปัญหามากกว่ากลุ่มอื่น ๆ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจและช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการกระทำผิดมากที่สุดหรือสูงที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุระว่าง 13-18 ปี (Sampson and Laub,1993 : 312) ฉะนั้นกลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้จะต้องได้รับความสนใจและให้การดูแล ป้องกันและแก้ไขเป็นพิเศษมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพื่อมิให้กลุ่มคนเหล่านี้กระทำผิดขึ้นอีก หรือเป็นปัญหาสังคมต่อไป และพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เจริญมั่นคงสืบต่อไป
อย่างไรก็ดีการกระทำผิดครั้งแรกของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ก็นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งอยู่แล้วที่รัฐบาลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องระดมสรรพกำลังต่าง ๆ เข้าดำเนินการแก้ไขอย่างหลีกเลี้ยงมิได้แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้ยังมีการกระทำผิดหลาย ๆ ครั้งหรือ กระทำผิดซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะต้องระดมสรรพกำลังเข้าดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก ยากกว่าการกระทำผิดครั้งแรกอีกหลายเท่าตัวเนื่องจากการกระทำผิดซ้ำนั้นมีสาเหตุที่เชื่อมโยงหรือได้รับอิทธิพลเหล่านี้ ยังเป็นปัจจัยที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้งและยากต่อการที่จะค้นหา และยากต่อการป้องกันและแก้ไขได้
ด้วยเหตุนี้เพื่อคุ้มครองและให้ความยุติธรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ยากจน รวมทั้งเพื่อพัฒนาให้เป็นกำลังสำคัญของส่วนรวม ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาถึงความยากจนกับกระบวนการยุติธรรม กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนในสถานพินิจนครสวรรค์ เพื่อทราบสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนยากจนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อที่จะนำข้อมูลเล่านี้มาทำการวิเคราะห์ร่วมกับแนวคิดต่าง ๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนามาตรการหรือนโยบายสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมในส่วนของเด็กและเยาวชนที่ยากจนให้เสมอภาคมากขึ้น
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 6.1 เพื่อศึกษาสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดนครสวรรค์
6.2 เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน
|
ขอบเขตของโครงการ : | เพื่อให้การศึกษาสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามกำหนดเวลามีความกระชับชัดเจน จึงกำหนดของเขตการศึกษาไว้ดังนี้
1.ศึกษาสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนยากจนในการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม โดยศึกษาเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อยู่ในสถานพินิตและคุ้มครองเด็กและเยาวชนนครสวรรค์
2.ช่างระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา กำหนดระยะเวลา 1 ปี
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 11.1 ได้รับทราบสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนยากจนในกระบวนการยุติธรรม ในสถานพินิตและคุ้มครองเด็กนครสวรรค์
11.2 หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้แก่ ตำรวจ สถานพินิตและคุ้มครองและเยาวชน สามารถนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในการวางมาตรการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) และได้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณในรูปของการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย เพื่อสำรวจตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิจัย
ขอบเขตการวิจัย การวิจัยครั้งนี้จะทำการศึกษาวิจัยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและเป็นผู้ที่ถูกศาลตัดสินให้ฝึกอบรมในศูนย์ในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนนครสวรรค์ ของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
ประชากรเป้าหมายดังกล่าวนี้ หมายถึงเฉพาะเด็กเละเยาวชนที่ฝึกอบรม อยู่ในศูนย์ฝึก ในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงเด็กและเยาวชนที่ปล่อยตัวไปแล้ว และนอกจากนั้นเด็กและเยาวชนดังกล่าว จะหมายถึงเฉพาะเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์ ในขณะที่กระทำผิดซ้ำครั้งหลังสุด และถูกจับกุม-ดำเนินคดี แม้ว่าในขณะที่เก็บรวบรวมข้อมูลจะมีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ก็ตาม เพราะการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้จะมุ่งเน้นการกระทำผิดซ้ำครั้งสุดท้ายหลังสุดในขณะที่อายุไม่เกิน 18 ปี บริบูรณ์เป็นสำคัญ
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 686 ครั้ง |