รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000197
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Management Guidelines for Community-Based Cultural-Tourism of Tambon Keoychai ,Chum Saeng District ,Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :340000
งบประมาณทั้งโครงการ :340,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :12 มกราคม 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาการท่องเที่ยวภายในประเทศ มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมาก เป็นโอกาสในการกระจายรายได้สู่ชุมชนในชนบท และการจ้างงานในท้องถิ่น ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism) ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และคาดหวังว่าจะเป็นการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ เพราะเป็นการท่องเที่ยวแบบสร้างส่วนร่วมให้แก่ชุมชน สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างรายได้แก่เศรษฐกิจชุมชนของประชาชนในท้องถิ่นอีกด้วย “เมืองพระบาง” “เมืองชอนตะวัน” “เมืองจันเสน” หลากหลายชื่อเรียกเหล่านี้ คือชื่อเรียกของจังหวัดนครสวรรค์เมื่อครั้งอดีต เมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่สำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี จนในปัจจุบันเป็นเมืองที่เปรียบเสมือนประตูสู่ภาคเหนือและเป็นเมืองการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่ง นอกจากจุดเด่นที่เป็นคำขวัญของเมืองที่ว่า “เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ” แล้ว นครสวรรค์ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยวทั้งทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต หัตถกรรม ตลอดจนถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันงดงาม ที่รอคอยให้นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกได้มาสัมผัส ทุกวันนี้นครสวรรค์ ประกอบไปด้วย ๑๕ อำเภอ ซึ่งแต่ละอำเภอล้วนมีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยวที่แตกต่างหลากหลาย นับได้ว่าเป็นเสน่ห์และเป็นทางเลือกที่เย้ายวนให้มาผู้เยือนได้หวนคืนกลับมาท่องเที่ยวอีกอย่างไม่รู้หน่าย อำเภอชุมแสงเป็นอำเภอใหญ่ที่อยู่ห่างจากอำเภอเมืองราว ๔๐ กิโลเมตร ในอดีตเป็นเมืองย่านการค้าที่สำคัญ ซึ่งยังมีเรื่องราวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ให้เราได้ศึกษา สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชุมแสงคือเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง ที่คอยปกป้องภัยอันตรายให้กับชาวชุมแสงมาเนิ่นนานนับร้อยปี แหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของอำเภอนี้ คือวัดเกยไชยเหนือ วัดเก่าสมัยอยุธยา ซึ่งมีเจดีย์ทรงลังกาฐาน ๘ เหลี่ยม ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุของพระองคุลีมาล ตั้งเด่นอยู่ริมแม่น้ำ ที่วัดนี้เป็นจุดบรรจบกันของแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ซึ่งถือเป็นชัยภูมิที่ดีจุดหนึ่ง และว่ากันว่า พระเจ้าตากสินก็เคยใช้ที่วัดแห่งนี้เป็นจุดค้างแรมและตั้งทัพเพื่อจะไปปราบหัวเมืองพิษณุโลกที่พยายามจะแข็งเมืองในยุคนั้นอีกด้วย ดังนั้นปัจจุบัน ชาวชุมแสงจึงได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระเจ้าตากสินมหาราช ไว้ที่ริมเขื่อนติดกับตลาดให้คนได้เคารพสักการะและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณด้วย อดีตเจ้าอาวาสที่พัฒนาจนวัดเกยไชยเหนือ กลายเป็นวัดน่าร่มรื่น และน่าเลื่อมใส ก็คือหลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาถึงวัดนี้ไม่ควรพลาดการนมัสการรูปหล่อของท่านที่อยู่ในมณฑป ที่วัดเกยไชยเหนือนี้ ยังเป็นต้นกำเนิดของจระเข้ยักษ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง “ไอ้ด่างเกยไชย” ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นจระเข้แปลงที่เกิดจากชายผู้มีเวทย์มนต์แก่กล้า พาแฟนสาวหนีจากพ่อตามาที่ริมแม่น้ำ จึงแปลงร่างเป็นจระเข้ใหญ่เพื่อจะพาหนี แล้วเสกน้ำมนต์ที่จะทำให้กลายร่างกลับมาเป็นคนตามเดิมไว้ ครั้นเมื่อกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์ ปรากฏว่าแฟนสาวตกใจทำน้ำมนต์ที่เตรียมไว้หกทิ้งไปหมด จึงไม่สามารถกลับคืนร่างเป็นคนได้อีก จากนั้นมาความดุร้ายของจระเข้ยักษ์ไอ้ด่างเกยไชย ก็สร้างความสยองขวัญสั่นประสาทจนโด่งดังไปทั่วประเทศ และจากบันทึกของกรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึงความใหญ่โตของจระเข้ด่างเกยไชย ไว้ว่าเฉพาะของหัวกะโหลกก็ สูงถึง ๖ ศอกแล้ว และที่วัดแห่งนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่รวบรวมและจัดแสดงข้าวของโบราณ ในอาคารทรงไทยที่ชื่อ พิพิธภัณฑ์ต้นน้ำ โดยความร่วมมือของทางวัดกับชุมชนรวบรวมสิ่งของ เช่น ถ้วยชามเบญจรงค์ เครื่องแก้ว เครื่องทองเหลือง เหรียญโบราณ ธนบัตรจากประเทศต่างๆ มาเก็บรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกัน บริเวณติดกันคืออาศรมศิลป์ท้องถิ่นชุมชนเกยไชย ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชนกับทางวัด ที่จะรวบรวมของเก่าหายาก ข้าวของเครื่องใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา รวมทั้ง ประเพณีการไหว้ครูตาล (ต้นตาล) ของชุมชนบ้านเกยไชย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมมีสืบต่อกันมายาวนาน คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในพิธีการไหว้ครูตาลแบบโบราณจากรุ่นสู่รุ่น ได้เรียนรู้จากภูมิปัญญาคนรุ่นปู่ยาตายายในการสร้างผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน อาศัยป่าตาลดำรงชีวิตในการทำมาหากิน นำผลผลิตที่ได้จากป่าตาลมาสร้างผลผลิตและสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน การตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการดูแลและรักษาผืนป่าตาล การนำผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญามาปรับปรุงคุณภาพพัฒนาสินค้าของชุมชนให้คงคุณภาพของท้องถิ่น ให้คงคุณค่าในความทรงจำของคนที่ได้บริโภคผลิตภัณฑ์จากชุมชน ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง เพราะนอกจากชุมชนจะได้แนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว ยังเป็นการสืบทอดทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนทั้งในด้านวิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อให้เยาวชนรุ่นต่อไปได้สืบสานและรักษาให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) สืบค้นและสืบสานทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อหารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยเรื่องนี้ ทำการวิจัยด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมุ่งเน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งกำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ดังนี้ ขอบเขตของการวิจัยด้านพื้นที่ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยด้านพื้นที่คือ ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวนหมู่บ้าน 16 หมู่บ้าน ขอบเขตของการวิจัยด้านรูปแบบการจัดการการท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. การมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยว 2. ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการท่องเที่ยว 3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในจัดการการท่องเที่ยว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :17.1 ได้ข้อมูลองค์ความรู้ด้านทุนทางวัฒนธรรม ของตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ให้กับประชาชนที่สนใจ และเป็นข้อมูลการเรียนรู้ให้กับชนรุ่นหลังต่อไป (P) 17.2 ได้รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ข้อมูลการท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม ของตำบลเกยไชย (I) 17.3 เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ และความคงอยู่ของทุนทางวัฒนธรรมของตำบลเกยไชย ให้เกิดความยั่งยืน (G)
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :จริยา โลหะพูนตระกูล (2550) ศึกษาเรื่อง การศึกษาการพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชน ด้วยการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชม กรณีศึกษาตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำผึ้ง สามารถแก้ไขปัญหาให้แก่ชุมชนเรื่องผลผลิตทางการเกษตรได้ เพราะเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยภายนอกอันได้แก่กระแสการส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐควบคู่กับการส่งเสริมแหล่ท่องเที่ยวระดับท้องถิ่น โดยมีปัจจัยภายใน คือ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนเกษตรดั้งเดิมแบบยกร่อง ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ของภาครัฐและที่ตั้งใกล้กรุงเทพมหานคร ประกอบกับนายก อบต. สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงสามารถขยายผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง จันทนา อินทปัญญา และคณะ (2552) ศึกษาเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี ผลการศึกษาพบว่า การสร้างเครือข่ายเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีและพร้อมที่จะเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับวนอุทยานเขาหลวงต่อไป ผลการฝึกอบรมพบว่า นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมและคณะครูผู้ควบคุม ต่างมีความตื่นตัวสูง มีความสนใจในกระบวนการค่ายศึกษาธรรมชาติ ซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อน และเห็นว่าสามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนได้ และในส่วนของการจัดฝึกอบรมราษฎรเพื่อส่งเสริมความรู้และศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยงเชิงนิเวศได้ดำเนินการในสองพื้นที่ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกหินดาด ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว และ แหล่งท่องเที่ยวหุบเขาคีม ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ จังวักนครสวรรค์ พบว่า แกนนำชาวบ้านด้าน แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกหินดาด ตำบลวังม้า ยังไม่มีความพร้อมที่จะจัดตั้งกลุ่มแกนนำเพื่อขับเคลื่อนงานด้านการท่องเที่ยว ส่วนแกนนำชาวบ้านด้านแหล่งท่องเที่ยวหุบเขาคีม มีความกระตือรือร้นและได้ดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งการก่อสร้างศูนย์ท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อใช้จัดกิจกรรมเครือข่ายต่อไป ชมนาด ตันติเสรี (2546) ศึกษาเรื่อง ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ : กรณีศึกษา ชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประชาชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มต่าง ๆ ภายในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการท้องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระดับปานกลาง มีส่วนร่วมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระดับปานกลาง และมีการยอมรับบทบาทของผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน/ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อบต. และเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ททท. ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าประธาน อบต. /ปลัดอบต. และสมาชิก อบต. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากที่สุด ฐิติพัชร พลีไพร (2553) ทำการศึกษาเรื่อง การจัดการองค์ความรู้การทำน้ำตาลโตนด โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ผลการศึกษาพบว่า ชาวอำเภอบ้านลาดที่มีอาชีพเกี่ยวกับตาลโตนด มีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นองค์ความรู้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่การสังเกตต้นตาล การขึ้นตาล การปาดตาลหรือการนวดตาล การทำน้ำตาลสด การทำน้ำตาลโตนด ตลอดจนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด ก่อเกิดประโยชน์ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท่องถิ่นในจังหวัดเพชรบุรีทุกระดับ ควรจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีแหล่งเรียนรู้ ซึมซับ และเกิดความรักความหวงแหนในภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนต่อไป พรทิพย์ กิจเจริญไพศาล (2553) ทำการศึกษาเรื่อง การศึกษาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญ เพื่อส่งสรเริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดปทุมธานี ผลการศึกษาพบว่า จังหัดปทุมธานีมีทรัพยากรท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง โดดเด่นด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวมอญ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านโบราณสถานและโบรานวัตถุ ได้แก่ วัดมอญ เตาโอ่งอ่าง เครื่องปั้นดินเผา ตุ่มสามโคก ตลอดจนประเพณี เทศกาล ได้แก่ งานสงกรานต์ งานแห่เสาหงส์ธงตะขาบ และวิถีชีวิตของชุมชนชาวมอญ ได้แก่ อาหารการกิน การแต่งกาย ส่วนแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวควรเน้นการพัฒนาคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรมของชุมชนชาวมอญ อนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญา และองค์ความรู้ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง และแนวทางในการพัฒนาด้านกิจกรรมท่องเที่ยวนั้น ควรพัฒนาด้านการคมนาคมตลอดจนพัฒนาด้านบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก โดยการให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวกับนักท่องเที่ยว ควบคู่กับการให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ วีระพล ทองมา (2554) ศึกษาเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนของชุมชนชาวจีนในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำงอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนชาวจีนยูนานมีศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในระดับมาก โดยมุ่งเน้นในชุมชนและคนภายในชุมชนเป็นศูนย์กลางของการนำเสนอเรื่องราวประวัติความเป็นมา ภูมิปัญญา ความรู้และประสบการณ์ผ่านทางนิทรรศการ วัตถุที่สะสมมาตั้งแต่อดีต หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงอนุรักษ์ควบคู่ไปกับ “โรงงานสีเขียว” ที่สร้างคิดตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ที่ปรารถนาให้พิพิธภัณฑ์ในชุมชนบ้านยางเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่เชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรม สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน พบว่ามีส่วนร่วมในระดับมากกับกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมทางความคิด (ความเชื่อและค่านิยม) และวัฒนธรรมบรรทัดฐาน (อาชีพและวิถีชีวิตประจำวัน) ส่วนด้านวัฒนธรรมบรรทัดฐาน (อาหารและพืชสมุนไพร) รวมทั้งด้านวัฒนธรรมทางวัตถุ (ศิลปะและหัตถกรรม) นั้นมีส่วนรวมระดับปานกลางเท่านั้น สุวัฒน์ เรืองศิลป์ (2552) ทำการศึกษาเรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาในการทำน้ำตาลโตนด : กรณีศึกษาบ้านแหลมวัง จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า ภูมิปัญญาในการทำตาลโตนด เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ทำการมาช้านาน ประกอบด้วยภูมิปัญญาการเลือกตาล และพาดตาล การคาบตาล การเคี่ยวน้ำตาล ผลพลายได้ที่ได้จากตาลโตนด และการทำน้ำตาลโตนด วิธีการอนุรักษ์ภารัฐควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสืบทอด เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดนโยบายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติที่เป็นรูปธรรม ตลาดจนสนับสนุนผลิตภัณฑ์และสรรหาบุคคลทางด้านภูมิปัญญา นอกจากนี้ผลการศึกษายังพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทำน้ำตาลโตนดที่สำคัญ คือ การแพร่หลายของน้ำตาลทรายที่เข้ามามีบทบาทประกับน้ำตาลโตนดไม่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากตรงกับฤดูทำนา ประกอบกับชาวบ้านไม่สามารถรวมกลุ่มอาชีพในการผลิตน้ำตาลโตนดได้ ทำให้แนวโน้มในการประกอบอาชีพการทำน้ำตาลโตนดจะลดน้อยลง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 1. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หมายถึง การท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยมีการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้อง และให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการ เพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น และสร้างจิตสำนึกให้ทุกฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบต่อระบบนิเวศอย่างยั่งยืน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบหลักที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ (ททท., 2545) 1. องค์ประกอบด้านพื้นที่เป็นลักษณะเฉพาะประการหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ การมุ่งเน้นในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อประสานการท่องเที่ยวกับความพอใจในการเรียนรู้และสัมผัสกับระบบนิเวศ (Eco-system) อาจมีบางแห่งที่รวมเอาลักษณะวัฒนธรรมที่มีวิถีชีวิตแบบธรรมชาติ หรือเป็นส่วนหนึ่งในระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยวนั้น ๆ ไว้ (nature-based tourism) โดยเฉพาะ แม้ว่าจะมีความคาบเกี่ยวกันในพื้นที่ก็ตามในทำนองเดียวกันการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural tourism) จึงไม่ใช่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งหมด ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดการการท่องเที่ยวนั้น ๆ ด้วย อาจเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น (identity or authentic or endemic or unique) ธรรมชาตินั้นอาจรวมถึงแหล่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ (Eco-system) ในพื้นที่ด้วยตัวอย่างเช่น จุดหมายปลายทางที่ดอยอ่างกาหลวง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนน์ เราจะต้องผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งขุนกลาง ซึ่งมีวิถีชีวิตอยู่กับป่าผืนนั้นด้วย 2. องค์ประกอบด้านการจัดการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (responsible travel) โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและอัตลักษณ์ท้องถิ่นซึ่งมีการจัดการที่ยั่งยืนครอบคลุมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร การจัดการสิ่งแวดล้อมการป้องกันและกำจัดมลพิษ และควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขต จึงเป็นการท่องเที่ยวที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน (sustainably managed tourism) เพื่อให้เกิดเป็นการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ (responsibly travel) ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมและกระบวนการ เป็นการท่องเที่ยวที่มีกระบวนการเรียนรู้ (learning process) โดยมีการให้การศึกษาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ความประทับใจ เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องกับผู้เกี่ยวข้อง นักท่องเที่ยว ประชาชนท้องถิ่น และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว จึงเป็นการท่องเที่ยวด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา (environmental education-based tourism) 4. องค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วม เป็นการท่องเที่ยวที่มีการคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนท้องถิ่นหรือชุมชนท้องถิ่น (involvement of local community or people participation) ที่มีบทบาทในส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติตามแผน และร่วมได้รับประโยชน์อย่างเสมอภาค คอยติดตามตรวจสอบ รวมถึงร่วมบำรุงรักษาทรัพยากรท่องเที่ยว อันจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในท้องถิ่น ทั้งการกระจายรายได้ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการได้รับผลตอบแทน เพื่อนำกลับมาบำรุงรักษาและจัดการแหล่งท่องเที่ยวด้วย ในที่สุดแล้ว ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพ ท้องถิ่นในที่นี้เริ่มต้นจากระดับฐานราก (grass root) คือ องค์กรชุมชนจนถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน (community participation-based tourism) กล่าวโดยสรุป คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เป็นการท่องเที่ยวแนวใหม่ซึ่งเป็นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชน ส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและระบบนิเวศอย่างยั่งยืน กระแสการพัฒนาการท่องเที่ยว ในด้านกระแสการพัฒนาคนต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจ สังคมและสุนทรียภาพ ที่สามารถรักษาความสมบูรณ์ทางวัฒนธรรมความหลากหลายทางชีวภาพไว้ให้นานที่สุด และองค์ประกอบในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศยังให้ความสำคัญของการมีส่วนร่วมชุมชนในทุก ๆ องค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบด้านการจัดการองค์ประกอบด้านกิจกรรมและองค์ประกอบด้านองค์กรหรือแม้แต่องค์ประกอบในด้านพื้นที่ 2. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ข้อมูลมาจากเว็บไซต์กระทรวงวัฒนธรรม http://www.creativeculturethailand.com/ ระบุว่า การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นการศึกษาหาความรู้ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีคุณลักษณะที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการบอกเล่าเรื่องราวในการพัฒนาทางสังคมและมนุษย์ผ่านทางประวัติศาสตร์อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรม องค์ความรู้และการให้คุณค่าของสังคม โดยสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าหรือสภาพแวดล้อมอย่างธรรมชาติที่สามารถแสดงออกให้เห็นถึงความสวยงามและประโยชน์ที่ได้รับจากธรรมชาติ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม หรือขนบธรรมเนียมประเพณี ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 1.มรดกโลก หมายถึงสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติสร้างขึ้นมา ควรแก่การอนุรักษ์ปกป้องให้ตกทอดไปยังชนรุ่นหลัง และเป็นสิ่งที่ทุกคนในโลกปัจจุบันนี้เป็นเจ้าของร่วมกัน แบ่งเป็น มรดกแห่งความทรงจำของโลก มรดกโลกทางวัฒนธรรม และมรดกโลกทางธรรมชาติ 2.อุทยานประวัติศาสตร์ หมายถึงบริเวณที่มีหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์สมัยใดสมัยหนึ่งของประเทศ หลักฐานและความสำคัญดังกล่าวอาจเป็นทางวัฒนธรรม การเมืองและสังคมวิทยาก็ได้ 3.พิพิธภัณฑ์ คือหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร เป็นสถาบันที่ถาวรในการรวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย สื่อสารและจัดแสดงนิทรรศการ ให้บริการแก่สังคมเพื่อการพัฒนา มีความมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้า การศึกษาและความเพลิดเพลิน โดยแสดงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อม สิ่งซึ่งสงวนรักษาและจัดแสดงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุ แต่ได้รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วย โดยรวมไปถึงสวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่สงวนสัตว์น้ำและสถานที่อันจัดเป็นเขตสงวนอื่นๆ รวมทั้งโบราณสถานและแหล่งอนุสรณ์สถาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง 4.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตรงกันข้ามกับแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เมืองขนาดใหญ่ๆ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าไปเที่ยวชมสิ่งก่อสร้างและสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน สถานที่ที่รัฐบาลก่อสร้างขึ้น เช่น พระราชวัง หรืออาคารเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาที่สำคัญ 5.แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เกิดจากสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ประกอบด้วย สภาพภูมิอากาศ ทิวทัศน์ที่สวยงาม และสัตว์ป่า 3. แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism - CBT) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ว่า “การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศในพื้นที่ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน” ซึ่งมองว่าคนและชุมชนเข้าไปมีบทบาทในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในลักษณะของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีแหล่งธรรมชาติเป็นฐาน จากบทเรียนของการพัฒนาประเทศ โครงการพัฒนาหลายโครงการเป็นโครงการที่ดีแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมองที่โครงการเป็นตัวตั้งไม่ได้มองที่ประชาชน ดังนั้น การให้บทบาทและความสำคัญของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนขององค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน เห็นว่าหากจะให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศยั่งยืนต้องมองที่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง จึงเกิดแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้น “การท่องเที่ยวโดยชุมชน (community base sustainable tourism) คือการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน” โดยมองว่าการท่องเที่ยวต้องทำงานครอบคลุม 5 ด้าน พร้อมกัน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังสามารถเป็นเครื่องมือในการพัฒนา โดยใช้การท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขและสร้างโอกาสให้องค์กรชุมชนเข้ามามีบทบาทสำคัญในการวางแผนทิศทางการพัฒนาชุมชนของตนในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนที่มีแนวโน้มว่าการท่องเที่ยวจะรุกคืบเข้าไปถึง หรือต้องการเปิดเผยชุมชนของตนให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ให้มีการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการวางแผน การบริหารจัดการทรัพยากรและกระจายอำนาจการตัดสินใจโดยเน้นความสำคัญของการจัดการธรรมชาติแวดล้อมและใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน ในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมาคำว่า "Community-based Tourism : CBT" การท่องเที่ยวที่ให้ชุมชนเป็นฐานการบริหารจัดการ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆความหมาย ความเข้าใจและประสบการณ์ ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การจัดการด้านโฮมสเตย์ ที่ต้องมี "ชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :กระบวนการในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูล ทั้งแบบปฐมภูมิ (Primary data )และ ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary data) โดยการสำรวจ ค้นคว้า สัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง ที่เป็นข้อมูลสถานการณ์(Situational Review) ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ศึกษาตามกำหนดในขอบเขตการศึกษา โดยศึกษาจากเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพถ่าย จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ห้องสมุด สำนักวิทยาบริการของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมถึงข้อมูลที่เป็นเอกสารจากชุมชนหรือพื้นที่ หรือปราชญ์ของชุมชนเพื่อจัดเก็บเป็นองค์ความรู้ด้านทุนทางวัฒนธรรม รวมไปถึงศักยภาพ ทิศทางและคงต้องการของชุมชนในการดำเนินการจัดการท่องเที่ยว ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจภาคสนาม (Field study) มีลักษณะการดำเนินโครงการ คือการศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของของชุมชน โดยใช้กระบวนการประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วม (PRA-Participatory Rural Appraisal) เพื่อแสวงหาแนวทางและกระบวนการการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวของชุมชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องโดยการจัดประชุมกลุ่ม (Focus Group) ในพื้นที่เป้าหมาย ตามประเด็นการพัฒนาทั้งด้าน การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว เพื่อค้นหาโจทย์ที่เป็นปัญหาและร่วมวางแผนแนวทางในการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ดังกล่าว เพื่อให้ได้ผลการศึกษานำมากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขั้นตอนที่ 3 การจัดประชุมเพื่อหารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน การฝึกอบรมแบ่งออกเป็น ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยการอบรมภาคทฤษฎีเป็นการให้ความรู้เรื่องภาพรวม ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน การนำหลักทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ โดยจะมีผู้รับการอบรมเดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการกำหนดรูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่วนที่ 2 การอบรมภาคปฏิบัติ ผู้รับการอบรมได้นำข้อมูลที่ได้จากชุมชนมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของชุมชน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน ได้แก่ ทรัพยากร/สินค้า การบริการ/สิ่งอำนวยความสะดวก การตลาด รวมทั้งการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน แล้วนำข้อมูลมากำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน จำนวน 1 วัน ขั้นตอนที่ 4 สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ตามวัตถุประสงค์และขั้นตอนของการวิจัย พร้อมจัดทำรูปเล่มฉบับสมบูรณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :2206 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวชุณษิตา นาคภพ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด