รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000192
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The ability Development of Community for sustainable tourism management: Case study on The community forest in Ban Suan Plu – plu tor Tambol Tap Luang Amphur Ban Rai Uthai Thani Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :425000
งบประมาณทั้งโครงการ :425,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :12 มกราคม 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีความสวยงามทางธรรมชาติและมีประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอันเก่าแก่ที่ถูกถ่ายทอดและสั่งสมกันมา กิจกรรมการท่องเที่ยวจึงเป็นกิจกิจกรรมหนี่งที่ได้รับความยินยอมและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนจำนวนมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นการสร้างงานและการกระจายรายได้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ ทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นถูกใช้เป็นกลยุทธ์หนึ่งของรัฐในการสร้างรายได้เพื่อการพัฒนาประเทศด้วยทำเลที่ตั้งของประเทศไทยที่เออำนวยต่อการเดินทางท่องเที่ยวที่เป็นข้อได้เปรียบคู่แข่ง ทำให้กิจกรรมการท่องเที่ยวได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างรวดเร็ว (สาคริน บุญพิทักษ์ ,2546) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยให้ความสำคัญต่อภาคการท่องเที่ยวมาโดยตลอด โดยเฉพาะภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ. 2540 ที่รัฐบาลกำหนดให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของภาค การขับเคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจ และได้ประกาศให้ปี 2541 - 2542 เป็นปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand) ซึ่งส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้อ้างถึงสถิตินักท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เดินทางมาประเทศไทยระหว่างปี 2548 - 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7.5 % และในปี 2554 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยทั้งสิ้น 19,089,323 คน โดยเพิ่มขึ้น 19.84% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทำให้มีรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยมีมูลค่าเท่ากับ 734,519.46 ล้านบาท เกิดประโยชน์แก่เศรษฐกิจของคนในชุมชนท้องถิ่นในหลากหลายด้าน เช่น ภาคการบริการโรงแรม มัคคุเทศก์ โฮมสเตย์ ร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งสร้างรายได้ให้คนหลากหลายกลุ่มตั้งแต่ชาวบ้าน ถึงผู้ประกอบการขนาดใหญ่ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,http://www.tat.or.th/ e- journal.) การท่องเที่ยวนับเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนมูลค่านับแสนล้านบาท ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวก็มีผลกระทบต่อทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม การจัดการการท่องเที่ยวโดยทั่วไปมักประสบปัญหาที่สวนทางกันระหว่างการพัฒนากับการอนุรักษ์ ทั้งนี้ทางองค์การสหประชาชาติได้นำเสนอ “เกณฑ์สำหรับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” ในที่ประชุม The World Conservation Congress ณ นครบาร์เซโลนา ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ได้จัดแบ่งออกเป็น 4 เกณฑ์มาตรฐาน โดยยึดหลักการของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสำคัญ นั่นคือ 1) การสาธิตให้เห็นถึงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางสังคมและเศรษฐกิจให้กับชุมชนท้องถิ่นแต่สร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด 3) ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่มรดกทางวัฒนธรรมแต่สร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด และ 4) ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สิ่งแวดล้อมแต่สร้างผลกระทบทางลบน้อยที่สุด พร้อมกันนี้องค์การสหประชาชาติก็ได้ขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกให้ตระหนักถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดอยู่ที่ “การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน” กิจกรรมหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว และสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนากับการอนุรักษ์ได้ก็คือ การฝึกอบรมผู้นำชุมชนโดยมุ่งเน้นในเรื่องแนวคิด ความรู้ และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้เกี่ยวข้องในทุกๆ ฝ่าย จากบทเรียนของการพัฒนาประเทศ โครงการพัฒนาหลายโครงการเป็นโครงการที่ดีแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมองที่โครงการเป็นตัวตั้งไม่ได้มองที่ประชาชน ดังนั้น การให้บทบาทและความสำคัญของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นเจ้าของ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในส่วนขององค์กรประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน เห็นว่าหากจะให้การท่องเที่ยวเชิงนิเวศยั่งยืนต้องมองที่ชุมชนเป็นศูนย์กลาง จึงเกิดแนวคิดเรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้น ในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมาคำว่า "Community-based Tourism : CBT" การท่องเที่ยวที่ให้ชุมชนเป็นฐานการบริหารจัดการ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆความหมาย ความเข้าใจและประสบการณ์ ซึ่งการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นส่วนหนึ่งที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ เป็นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ต้องมี "ชุมชน" เป็นส่วนประกอบสำคัญ หากชุมชนมีความพร้อมมีปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการเข้ามีบทบาทจัดการการท่องเที่ยวแล้วนั้น ผู้นำชุมชนและแกนนำที่หลากหลาย ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มสหกรณ์การเกษตร ฯลฯ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริการส่วนตำบล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ครู อาจารย์ในโรงเรียน เป็นต้น มีส่วนร่วมกันประชุมสัมมนาเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเป็นการผนึกกำลังความคิดสร้างสรรค์ ประสานแนวคิดของทุกคนให้เห็นเป็นภาพเดียวกัน ในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (พจนา สวนศรี ,2546,185-188) ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นเป็นเครือข่ายมากขึ้น บ่อยครั้งใช้คำว่า "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" (Community-Based Tourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" (Ecotourism) หรือ "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" (Conservation tourism) ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยว "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์" หรือ "การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์" จากการให้คำนิยามของสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้ให้ธรรมชาติเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยว ชุมชนเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง ส่วน "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการทำงาน คือ การที่มุ่งพัฒนาให้คนในชุมชนเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการท่องเที่ยว และไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ได้เน้นถึงการสร้างศักยภาพของคนในท้องถิ่นให้ใช้ความรู้ของตนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชน เพื่อนำไปสู่การดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยให้มีความสมดุลกับภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งการเกื้อกูลต่อเศรษฐกิจของชุมชนในอนาคต เพราะการดูแลทรัพยากรเหล่านั้นเป็นหน้าที่ของคนในชุมชนซึ่งเป็นของส่วนรวมไม่ใช่เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศไว้ว่า “การท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศในพื้นที่ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน” ซึ่งมองว่าคนและชุมชนเข้าไปมีบทบาทในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ในลักษณะของการเข้าไปมีส่วนร่วมกับส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีแหล่งธรรมชาติเป็นฐาน (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ,http://www.tat.or.th/ e- journal.) นอกจากนี้การท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยในด้านเศรษฐกิจนั้น การท่องเที่ยวก่อให้เกิดรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้การส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นก่อให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวไปยังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งนำมาซึ่งการจ้างงานและการสร้างอาชีพทั้งในภาคการท่องเที่ยวโดยตรงและการจ้างงานในภาคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมากขึ้น เกิดการกระจายรายได้สู้ชุมชนและท่องถิ่น ซึ่งในภาพรวมจะนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แลความเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ด้านสังคมการพัฒนาการท่องเที่ยวจะทำให้เกิดการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ให้ดีขึ้น รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรู้สึกรักและหวงแหนทรัพยากรการท่องเที่ยวในท้องถิ่นตนเอง อันนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีจิตสำนึก จังหวัดอุทัยธานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งมีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ประมาณ 6,730 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขาสูง สภาพป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก เป็นผืนป่าอนุรักษ์ที่ควรการดูแลรักษาและนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทุกคน ชุมชนบ้านสวนพลู – พุต่อ ชุมชนเล็กๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างของชุมชนที่อยู่ร่วมกับป่ามานานหลายสิบปี อาศัยป่าเป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร สมุนไพรรักษาโรค ชุมชนจึงสำนึกรู้คุณค่าของผืนป่า สั่งสอนลูกหลานให้ช่วยกันดูแลรักษา เป็นวัฒนธรรมสืบต่อกันมา และเมื่อกระแสการเปลี่ยนแปลงย่างกรายเข้ามา ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่า นายทุนเข้ากว้านซื้อที่และของป่า พวกเขาก็สามารถปรับตัว ร่วมกันหาทางแก้ไข กำหนดมาตรการกฎระเบียบที่ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรียนรู้ ใช้ป่าเป็นห้องเรียนธรรมชาติสืบสานสู่เยา
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อสำรวจศักยภาพของชุมชนด้านการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน 2.เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น 3.เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ ดังนี้ 1) ขอบเขตด้านพื้นที่ ศึกษาเฉพาะในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 2) ขอบเขตเนื้อหา งานวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาข้อมูลบริบทชุมชนอันเป็นทุนทางสังคม ได้แก่ ประวัติความเป็นมาของชุมชน ลักษณะทางการภาพ ลักษณะประชากร ลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน และลักษณะอันเป็นเฉพาะของชุมชน (อัตลักษณ์ของชุมชน) เป็นต้น -ศึกษาศักยภาพของชุมชนในด้านการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชน อาทิ ประวัติความเป็นมาของป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ระบบนิเวศของป่าชุมชน นอกจานี้ การศึกษาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวในด้านความพร้อม ความมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ได้แก่ คุณค่าทางการเรียนรู้ ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านบุคลากร ด้านการรองรับของชุมชนและด้านสภาพแวดล้อม และแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยชุมชนโดยเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรท้องถิ่น 3) ขอบเขตประชากรที่ทำการศึกษา ได้แก่ ผู้นำชุมชน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงภูมิปัญญา รวมถึงผู้นำทางศาสนาในชุมชน สมาชิกเครือข่ายป่าชุมชน บ้านสวนพลู – พุต่อ ผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล คณะครูและนักเรียนในพื้นที่ สมาชิกในชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนและภาคีเครือข่ายจากภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและเอกชน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ป่าชุมชนบ้านสวนพลู-พุต่อ ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สำรวจเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัย ดังนี้ 1.แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2.แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3.แนวความคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4.แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน 5. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 6. แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนและการพัฒนาชุมชน 7. แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน 1.แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อสนองตอบความต้องการของนักท่องเที่ยวและชุมชนในแหล่งท่องเที่ยว โดยปกป้องและรักษาโอกาสให้กับคนในรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่การจัดการทรัพยากรทั้งมวลที่จะสนองความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในขณะที่จะสามารถธำรงรักษาเนื้อหาทางวัฒนธรรม กระบวนการทางนิเวศวิทยาที่จำเป็น ความหลากหลายทางชีวภาพ และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเกื้อหนุนและระบบต่าง ๆ ที่เกื้อหนุนชีวิต พืช สัตว์ และมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งจากกรอบแนวคิดดังกล่าวสามารถเป็นหลักการได้ 5 ข้อ คือ (World Tourism Organization, 1998, pp. 21-22) 1. ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทรัพยากรทางประวัติศาสตร์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมและทรัพยากรอื่น ๆ ในการท่องเที่ยว จะต้องได้รับการอนุรักษ์ไว้เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยจะยังสามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่สังคมปัจจุบันได้ 2. จะต้องมีการวางแผนและจัดการในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมและสังคม วัฒนธรรมในพื้นที่แห่งท่องเที่ยว 3. คุณภาพของสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวโดยภาพรวมจะยังคงได้รับการรักษาไว้ได้และปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เมื่อจำเป็นที่จะต้องจัดทำ 4. จะต้องรักษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเอาไว้เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวนั้นจะยังคงสามารถรักษาความเป็นที่นิยมอยู่ได้ และสามารถทำการตลาดต่อไปได้ 5. ผลประโยชน์ของการท่องเที่ยวจะต้องเผื่อแผ่หรือกระจายไปในทุกภาคส่วนของสังคม หลักการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีหลักเกณฑ์ดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมของชุมชน (2) ความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (3) การสร้างโอกาสการจ้างงานที่มีคุณภาพ (4) การกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว (5) การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าเกิดประโยชน์สูงสุด (6) การวางแผนระยะยาว (7) ความสมดุลระหว่างวัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม (8) ความสอดคล้องกันระหว่างแผนการท่องเที่ยวและแผนพัฒนาด้านต่าง ๆ (9) ความร่วมมือระหว่างผู้กำหนดนโยบายกับผู้ปฏิบัติ (10) การประสานความร่วมมือระหว่างแหล่งท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ(11) การประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยว (12) การสร้างหลักเกณฑ์การประเมินผลกระทบ (13) การเน้นผลประโยชน์ชุมชน คุณค่าสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรม(14) การพัฒนาคน การศึกษาและหลักสูตรต่าง ๆ (15) การเสริมสร้างลักษณะเด่นอัตลักษณ์ของชุมชนและพื้นที่ (16) การคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับของทรัพยากร (17) การดำรงรักษาทรัพยากรมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรมและ (18) การทำการตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (เทิดชาย ช่วยบำรุง, 2552, หน้า 54) หลักการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนนั้น ประกอบด้วยหลักการที่สำคัญ 10 ประการดังนี้ (รำไพพรรณ แก้วสุริยะ, 2547) 1. อนุรักษ์โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (using resource sustainable) หมายถึง การที่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ที่มีบทบาทด้านการท่องเที่ยว ต้องมีวิธีการจัดการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่เดิมทั้งมรดกทางธรรมชาติ และมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างเพียงพอหรือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างประหยัด โดยคำนึงถึงต้นทุนอันเป็นคุณค่าคุณภาพของธรรมชาติ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นกับการลดของเสีย (reducing over-consumption and waste) 3. รักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม (maintain diversity) 4. ประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว (integrating tourism into planing) 5. นำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (supporting local economy) 6. การมีส่วนร่วม โดยการสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น (involving local communities) 7. มีการประชุมกับผู้เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (consulting stakeholders and the public) 8. การพัฒนาบุคลากร (training staff) 9. การจัดเตรียมข้อมูลคู่มือในการบริการข่าวสารการท่องเที่ยว (marketing tourism responsibly) 10. ประเมินผล ตรวจสอบและวิจัย (undertaking research) การท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมีแนวความคิดที่มุ่งเน้นให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวม ปรับสภาพการจัดการเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ของกระแสโลกที่เปลี่ยนไป (paradigm shift) ที่เปลี่ยนจากสังคมบริโภคนิยมสู่ยุคสมัยสังคมเป็นใหญ่ (สมัย อาภาภิรม, 2538) ขอบเขตของการพัฒนาจึงครอบคลุมทุกองค์ประกอบทุกส่วนของการท่องเที่ยวหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การพัฒนาการท่องเที่ยวทั้งหมดต้องมุ่งสู่ความยั่งยืน (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2542, หน้า 2-6) ดังนั้นการพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ (integrated) คือ ทำให้เกิดเป็นองค์รวม (holistic) นั่นคือ องค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือ มีดุลยภาพ (balance) หรือพูดอัตนัยหนึ่ง คือ การทำให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ (พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต), 2550) โดยการปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นกับประชาชนทุกคนในประเทศสามัญสำนึกเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ความสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมจะทำให้ทรัพยากรการท่องเที่ยวคงอยู่บนโลกได้อย่างยาวนาน เมื่อทรัพยากรการท่องเที่ยวไม่เกิดความเสื่อมโทรม และสามารถอำนวยประโยชน์ต่อบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดีแล้ว การท่องเที่ยวก็จะเกิดความยั่งยืนในที่สุด (ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์, 2547ข) นั่นคือ กิจกรรมการท่องเที่ยวจะต้องสามารถดำรงอยู่ได้ โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมเยือนอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวยังคงสามารถรักษาความดึงดูดใจไว้ได้ไม่เสื่อมคลาย ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวและผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นภายใต้ขีดความสามารถของธรรมชาติที่จะรองรับได้ และตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน ขนบธรรมเนียม ประเพณีที่มีต่อกระบวนการท่องเที่ยว อีกทั้งประชาชนทุกส่วนต้องได้รับผลประโยชน์ที่เกิดจากการท่องเที่ยวอย่างเสมอภาคกัน รวมถึงมีการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ในขณะที่ยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศของท้องถิ่นนั้นไว้ได้ ทั้งนี้ ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติ สังคมและวัฒนธรรม จะต้องไม่มีหรือมีน้อยที่สุด ซึ่งมีเพียงการจัดการอย่างยั่งยืนเท่านั้นจึงจะสามารถคงความยั่งยืนของการท่องเที่ยวไว้ได้ (พจนา สวนศรี, 2546, หน้า 68-70; มิศรา สามารถ, 2543, หน้า 26-30; สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2542, หน้า 2) การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2542) ได้ให้ความหมายการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) ว่าหมายถึงการท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่หรือกลุ่มเล็กที่มีการจัดการอย่างดีเยี่ยม เพราะสามารถดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรท่องเที่ยวให้มีความดึงดูดใจอย่างไม่เสื่อมคลาย และธุรกิจท่องเที่ยวมีการปรับปรุง คุณภาพให้ได้ผลกำไรอย่างเป็นธรรม โดยมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนสม่ำเสมออย่างเพียงพอ แต่มีผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อมที่สุดอย่างยืนยาว 1. ลักษณะการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีลักษณะสำคัญอยู่ 6 ประการดังนี้ คือ 1.1 เป็นการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกแห่ง 1.2 เป็นการท่องเที่ยวที่เน้นคุณค่าและความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละแหล่งท่องเที่ยว 1.3 เป็นการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม 1.4 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและวัฒนธรรม 1.5 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวอย่างยืนยาว 1.6 เป็นการท่องเที่ยวที่ให้ผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น และคืนผลประโยชน์กลับสู่ทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น 2. หลักการการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีหลักการดังนี้ (อุษาวดี พูลพิพัฒน์, 2545) 2.1 การอนุรักษ์และการใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Using Resource Sustainable ) ทั้งในส่วนที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญและเน้นการทำธุรกิจในระยะยาว 2.2 การลดการบริโภคที่เกินความจำเป็นและการลดของเสีย (Reducing Over-consumption and Waste) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายใ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :จากที่ได้ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา ดังแผนภูมิ ต่อไปนี้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม สนับสนุนและส่งเสริม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1779 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวหทัยชนก คะตะสมบูรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด