รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000185
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ฤทธิ์ของสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในการยับยั้งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestri
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Inhibition of Xanthomonas campestris – caused plant diseases by some medicinal plant extracts
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พืชสมุนไพร (medicinal plant), โรคพืช (Plant disease), Xanthomonas campestri
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :350000
งบประมาณทั้งโครงการ :350,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 มกราคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :01 มกราคม 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีการเพาะปลูกพืชเพื่อส่งออกและให้เพียงพอกับ ความต้องการของผู้บริโภคในประเทศซึ่งในการเพาะปลูกปัญหาหนึ่งที่พบคือโรคพืชซึ่งเกิดจาก จุลินทรีย์แบคทีเรียเชื้อราไวรัสไส้เดือนฝอยเป็นต้นเพื่อให้ทันต่อการส่งออกเพิ่มผลผลิต เกษตรกรจึงนิยมใช้ยำฆ่าแมลงสารเคมีในการยับยั้งเชื้อก่อโรคต่างๆเหล่านี้ซึ่งในเขตนครสวรรค์และ จังหวัดใกล้เคียงเป็นศูนย์กลางการส่งออกข้าวปริมาณสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศรวมทั้งพืชผล ทางการเกษตรอื่นๆเช่นมันสำปะหลังพืชผักอำทิเช่นพืชในตระกูลกะหล่ำต่างๆอย่างไรก็ตามมี ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมต่อการเกิดโรคในพืชมากมายที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจานวนและการก่อโรค สภาพแวดล้อมความรุนแรงของเชื้อและระยะเวลาที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายเพิ่มจานวนได้รวดเร็วใน ประเทศไทยเชื้อXanthomonascampestrispathovarเป็นอีกหนึ่งเชื้อที่มีรายงานการก่อโรคในพืช หลายชนิดมีความสามารถในการเข้ำทำลายพืชได้มากกว่า300ชนิดเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมเอื้ออำนวยต่อการเจริญของเชื้อรวมทั้งมีความสามารถในการต้านทานสารเคมีในการยับยั้ง เชื้อชนิดนี้อีกด้วย(ณัฏฐิมา,2534;สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว,2556;SwingsandCiverolo,1993) เชื้อXanthomonascampestrisเป็นเชื้อที่พบการก่อโรคพืชในนำข้าวทำให้เกิดโรคขอบใบ แห้งใบขีดโปร่งแสงนอกจากนี้ยังพบว่าเชื้อชนิดนี้เป็นสาเหตุโรคใบจุดในผักบุ้งจีนหอมหม่อนผักชี ฝรั่งพริกคะน้ำและมะเขือเทศโรคใบจุดนูนถั่วเหลืองใบจุดเหลืองฝ้ำยใบไหม้มันสำปะหลังสาเหตุ โรคเน่าดำกะหล่ำขอบใบทอง(blackrot)ในกะหล่ำและผักกาดต่างๆ(พัฒนาและคณะ,2537;ปิย รัตน์และคณะ,2553)ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรเสียรายได้และการที่เกษตรกรใช้สารเคมี เพื่อยับยั้งเชื้อเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมระยะยาวก่อให้เกิดสารพิษจาก สารเคมีตกค้างในพื้นที่การเกษตรไหลลงสู่แหล่งน้ำเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้อุปโภคบริโภคหรือ สัมผัสสารเคมีตกค้างซึ่งจะเกิดการสะสมส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวเกิดปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อม ตามมารวมทั้งเกิดการดื้อต่อสารเคมีในการยับยั้งโรคพืชที่เพาะปลูกด้วย ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความหลากหลายทางธรรมชำติเป็นแหล่งต้นน้ำรวมทั้งมี วนอุทยานพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ติดต่อกับจังหวัดข้างเคียงความหลากหลายของสมุนไพรเหล่านี้มี สรรพคุณมากมายมักออกฤทธิ์ที่จาเพาะเจาะจงต่อเชื้อก่อโรคพืชสลายตัวได้เองตามธรรมชำติไม่ เกิดการสะสมตกค้างรวมทั้งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆโดยเฉพาะในมนุษย์งานวิจัยนี้มุ่งเน้น ศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดใกล้เคียงนำมาทำการสกัด สารทดสอบการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียXanthomonascampestrisซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการ ก่อโรคพืชในข้าวมันสำปะหลังและพืชผักตระกูลกะหล่ำและสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีลดการสะสมสารพิษตกค้างทางการเกษตรและเป็นการลดค่าใช้จ่ายใน การซื้อสารเคมีไม่ให้เกิดการสะสมในแหล่งเกษตรกรรมเป็นการรักษาสภาพต้นน้ำและเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 2เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งโรคพืชในข้าวมันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestris
ขอบเขตของโครงการ :1ประชำกรที่ศึกษาคือพืชสมุนไพรได้แก่โมกราชินีสังกรณีตำแยแมวโด่ไม่รู้ล้มชะมวงอรพิมคนทำแฮ้มฮ่อสะพายควายฟักข้าวหางไหลขาวเป็นต้น 2ทดสอบการออกฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestrisในข้าวมันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำ 3การจัดการองค์ความรู้ความหลากหลายของพืชสมุนไพรด้วยการเผยแพร่ความรู้และ ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชในรูปแบบหนังสือหรือสื่อสิ่งพิมพ์หรือจัดอบรมณศูนย์การเรียนรู้แก่ชุมชนหรือสถานศึกษา 4ช่วงเวลาของการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม2557–เดือนกันยายน2558 5ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ 5.1พืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 5.2ฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์อุทัยธานีหรือชัยนาท 5.3โรคพืชที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestrisในข้าว,มันสำปะหลังและตระกูลกะหล่ำ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 เพื่อศึกษาความหลากหลายของพืชสมุนไพรในจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี หรือชัยนาท 2 เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งโรคพืชในข้าว ส้มโอ มะนาว และ กะหล่ำ ที่เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :พืชเป็นโรคหมายถึงพืชที่ถูกรบกวนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุโรคพืชปัจจัย สภาพแวดล้อมต่างๆไปรบกวนเปลี่ยนแปลงยับยั้งเซลล์ให้เกิดความผิดปกติหรืออาจตายได้ทั้งนี้ขึ้นกับ ปัจจัยความรุนแรงระยะเวลาของเชื้อและความเหมาะสมในการเกิดโรค(จิระเดชและคณะ,2553)ซึ่ง สาเหตุของโรคเหล่านี้นำมาซึ่งความเสียหายทางเศรษฐกิจทางการเกษตรต่อประเทศซึ่งสินค้าทางการ เกษตรที่สำคัญของไทยได้แก่ข้าวมันสำปะหลังจากรายงานสถานการณ์สินค้าการเกษตรที่สำคัญของ สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร(2556)พบว่าสถานการณ์ข้าวปี2555ประเทศไทยมีการส่งออกข้าว ลดลงการส่งออกข้าว6.5ล้านตันข้าวสารและส่งออกมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี2556 เนื่องจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังใช้ในอุตสาหกรรมอำหารสัตว์สารความหวำนกระดาษสิ่งทอรวมทั้ง เอทานอลจากรายงานของสำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว(2552)และปิยรัตน์และคณะ(2553) พบว่าในประเทศไทยแบคทีเรียในกลุ่มXanthomonascampestrisซึ่งเป็นสาเหตุของโรคพืชในพืชผักอื่นๆ ได้แก่Xanthomonascampestrispathovarmanihotisเป็นสาเหตุของโรคใบไหม้มันสำปะหลังโดยเป็น สาเหตุของโรคเน่าดำขอบใบทองในกะหล่ำผักกาดต่างๆคะน้ากวางตุ้งจากการศึกษาพบลักษณะอำการ แผลไหม้และพบอำการแผลจุดเล็กๆสีน้ำตาลเข้มถึงดำมีวงสีเหลืองล้อมรอบเมื่อทำการเลี้ยงบนอำหาร เลี้ยงเชื้อสังเคราะห์พบโคโลนีเหลืองรูปร่ำงกลมผิวมันและเมื่อทดสอบทางชีวเคมีพบว่าสามารถสร้ำง เมือกย่อยเจลำตินย่อยแป้งได้นอกจากนี้พบรายงานการวิจัยสาเหตุโรคข้าวที่เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonascampestrisทำให้เกิดโรคใบขีดโปร่งแสงใบมีขีดช้ำยาวไปตามเส้นใบต่อมาค่อยๆเหลือง เมื่อแผลขยายรวมกันเป็นแผลใหญ่แสงสามารถทะลุผ่านได้พบแบคทีเรียรูปหยดน้ำสีเหลืองคล้ายยางสน นอกจากนี้ยังพบโรคขอบใบแห้งใบที่เป็นโรคมีรอยขีดช้ำต่อมาเป็นสีเหลืองมีหยดน้ำหรือสีครีมขอบแผล มีลักษณะเป็นขอบลายหยักเมื่อเป็นนำนขอบใบจะเปลี่ยนเป็นสีทำขอบใบแห้งและม้วนตามความยาว สารเคมีที่ใช้ยับยั้งได้แก่คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ไอโซโปรไธโอเลนหรือไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต เห็นได้ว่าปัจจุบันเกษตรกรยังคงใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชเกิดการสะสมสารพิษตกค้างและเกิดการ ดื้อต่อสารเคมีทำให้ต้องใช้ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นสมุนไพรจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการยับยั้งเชื้อก่อโรคซึ่ง มักออกฤทธิ์จาเพาะเจาะจงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาการดื้อต่อสารเคมีอีกด้วยจากรายงาน ของชลิดาและคณะ(2541)ได้ทำการศึกษาสารสกัดจากพืชสมุนไพรได้แก่กระเจี๊ยบแดง(Hibiscus subdariffa),ฝรั่ง(Psidiumguajava),ชะพลู(Pipersarmentosum),เปล้ำใหญ่(Croton oblongifolius),เสลดพังพอนตัวเมีย(Clinacanthusnutans),ทองพันชั่ง(Rhinacanthusnasutus), สำบเสือ(Eupatoriumodoratum)และพะยอม(Shorearoxburghii)พบว่าสารสกัดพะยอมสามารถ ยับยั้งการเจริญของเชื้อXanthomonascampestrisได้เกือบทุกสายพันธุ์พืชสมุนไพรอื่นๆที่มีรายงานการ ยับยั้งโรคพืชชนิดอื่นๆได้แก่กัลทิมา(2555)ทดสอบสารสกัดสมุนไพรบางชนิดในพื้นที่สะลวงอ.แม่ริมจ. เชียงใหม่ต่อการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคแอนแทรคโนสในพริกด้วยวิธีpoisonedfoodtechnique โดยสารสกัดจากข่ำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ยับยั้งColletotrichumsp.ดีที่สุดรายงานของขจร ศักดิ์(2539)ทดสอบสารสกัดกานพลูว่านน้ำและสมอพิเภกพบประสิทธิภาพยับยั้งเชื้อราก่อโรคในพืช รายงานวิจัยของศศิธร(2547)ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดพืชสมุนไพรในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Erwiniacarotovorasubsp.carotovoraสาเหตุโรคเน่าเละของผักพบว่าสารสกัดเปลือกทับทิมผล สมอพิเภกและใบฝรั่งให้ประสิทธิภาพดีที่สุดนอกจากนี้พบรายงานการวิจัยเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์เช่น เชื้อBacillussp.DL-1สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อXanthomonascampestris16สายพันธุ์(ชลิ ดำและวิชัย,2544) รายงานการวิจัยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพมีที่ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่ หลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารออกฤทธิ์ชีวภาพที่ได้จากพืชเช่นสารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหย thymol,carvacrol,p-cymeneและ?-terpineneเป็นต้นโดยสารเหล่านี้นอกจากจะมีฤทธิ์ในการ ต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรคแล้วยังสามารถนำมาใช้ในการต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย(Sokmenetal.,2004) ทั้งนี้การใช้กลุ่มพืชที่ผลิตสารกลุ่มดังกล่าวพืชที่มีองค์ประกอบในกลุ่มสารphenolicและflavonoidมี รายงานการวิจัยถึงฤทธิ์ในการต้านจุลินทรีย์ก่อโรค(MothanaandLindequist,2005)ดังนั้นกลุ่มพืช ท้องถิ่นที่มีการรายงานถึงคุณสมบัติในการผลิตสารกลุ่มดังกล่าวจึงได้รับความสนใจในการนำมาวิจัยในครั้ง นี้อีกทั้งยังไม่มีรายงานการวิจัยในการออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อXanthomonascampestrisอีกด้วยได้แก่ โมกราชินี(WrightiasirikitiaMiddleton&Santisuk)สังกรณี(BarleriastrigosaWilld.)(ยุทธนำและ คณะ,2546)ตำแยแมว(AcalyphaindicaL.)(สุภาภรณ์,2555)โด่ไม่รู้ล้ม(Elephantopusscaber L.)(เศรษฐมันตร์,2553)ชะมวง(GarciniacowaRoxbex)(ยุทธนำและคณะ,2546)อรพิม(Bauhinia winitii)คนทำ(Harrisoniaperforate)แฮ้ม(Terminaliacalamansanai)ฮ่อสะพายควาย (Spnenodesmepentandra)ฟักข้าว(Momordicacochichinensis)หางไหลขาว(Derris malaccensis)(กฤษณี,2555)เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมุ่งศึกษาสมุนไพรดังกล่าวในท้องถิ่นต่อการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียXanthomonas campestrisก่อโรคพืชในข้าวมันสำปะหลังและพืชตระกูลกะหล่ำเพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใน ท้องถิ่นเผยแพร่องค์ความรู้ให้ประชาชนในท้องถิ่นลดการใช้สารเคมีตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมทั้งนี้นำไปสู่การส่งเสริมการพึ่งพำตนเองและใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :โรคพืชที่เกิดจากเชื้อXanthomonascampestrisก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเพิ่มต้นทุนให้แก่เกษตรกรซึ่งพบได้ในพืชหลากหลายชนิดเช่นตระกูลกะหล่ำมันสำปะหลัง โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับต้นๆที่ทางจังหวัดนครสวรรค์เป็นแหล่งส่งออกข้าวเป็นอันดับ ต้นๆของประเทศไทยนครสวรรค์เป็นต้นน้ำเจ้ำพระยำแหล่งเกษตรกรรมใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทาง ความหลากหลายของพืชสมุนไพรมากมายสารธรรมชำติจากสมุนไพรมักออกฤทธิ์จาเพาะเจาะจงไม่เป็น อันตรายต่อผู้ใช้และไม่มีสารพิษตกค้างเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลต่อห่วงโซ่อำหารอีกด้วยจึง จาเป็นอย่างยิ่งในการใช้สมุนไพรเหล่านี้ยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชดังกล่าวโดยทำการศึกษาประสิทธิภาพหา ความเข้มข้นที่เหมาะสมทำให้ทราบสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อก่อโรคพืชจากแบคทีเรียเนื่องจากพืชแต่ ละชนิดใช้ตัวทำละลายและปริมาณในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้แตกต่างกันในการศึกษาสมุนไพรใน ท้องถิ่นโดยทำการสัมภาษณ์ระดมความคิดจากปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรในท้องถิ่นเป็นการ แลกเปลี่ยนความรู้ในแต่ชุมชนทั้งนี้นำไปสู่การส่งเสริมการพึ่งพำตนเองโดยใช้ทรัพยากรธรรมชำติใน ท้องถิ่นเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ให้แก่เกษตรกรเพิ่มพูนรายได้ในชุมชนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็น การส่งเสริมและก่อให้เกิดการอนุรักษ์พืชสมุนไพรและเกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อท้องถิ่น ชุมชนและรักษ์สิ่งแวดล้อม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ทำการเก็บตัวอย่างและทำการเตรียมสารสกัดสมุนไพร:สกัดสารสกัดด้วยตัวทำละลาย ต่างๆและนำไประเหยตัวทำละลายออกด้วยเครื่องrotaryevaporatorก่อนทำให้แห้ง 2.การแยกเชื้อก่อโรคพืช:ทำการเก็บตัวอย่างพืชที่เป็นโรคในข้าวมันสำปะหลังและ ตระกูลกะหล่ำจากนั้นทำการแยกเชื้อโดยการเจือจางลำดับส่วนและทำการเพาะเชื้อใน อำหารnutrientagar(คณำจารย์,2544) 3.จัดจำแนกและตรวจสอบคุณลักษณะทางสัณฐานวิทยาและชีวเคมีของเชื้อก่อโรคจาก แบคทีเรีย 4.ทดสอบความสามารถในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทดสอบด้วยวิธีagardisc diffusion 5.หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย ทดสอบ(minimalinhibitingconcentration,MIC)(นฤมล,2549) 6.หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดสมุนไพรที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียทดสอบ (minimalbactericidalconcentration,MBC)(นฤมล,2549) 7.ทดสอบผลของสารสกัดสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทดสอบต่อ หน่วยเวลา(time-killcurveassay)(ฉวีวรรณ,2553) สถานที่ทำการทดลอง -ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาสำขำชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพคณะวิทยาศำสตร์และ เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1831 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเรณู อยู่เจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด