รหัสโครงการ : | R000000180 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การจัดการและพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการพึ่งตนเอง กรณีศึกษาจังหวัดนคสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Management Knowledge and Development of Beef cattle occupation for self- reliance : A case study Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การจัดการ, โคเนื้อ, จังหวัดนคสวรรค์ Management, Beef cattle, Nakhon Sawan Province |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 1500000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 1,500,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ธันวาคม 2557 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2558 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | ทรัพยากรสัตว์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อ ถือเป็นอาชีพหลักแล้วโดยมีผู้เข้ามาเกี่ยวข้องมีหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตลูก เกษตรกรผู้เลี้ยงเพื่อขุน และผู้เลี้ยงครบวงจร ซึ่งมีแนวโน้มผู้เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น อาชีพการเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ซึ่งถ้าเลี้ยงผู้เลี้ยงโคเนื้อ เลี้ยงไม่ต่ำกว่า 5 ปี ผู้เลี้ยงมักจะที่ไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน
การทำการเกษตรโดยเลี้ยงโคเนื้อได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพที่ดีขึ้น แต่มีพื้นที่เลี้ยงสัตว์และปริมาณวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลงจึงส่งผลต่อ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทำให้ไม่สอดคล้องกับสภาพการเลี้ยงในปัจจุบัน โดยทฤษฎีวิชาการในปัจจุบัน ไม่สามารถแก้ปัญหาสภาวะต้นทุนสูง แม้รายได้รวมจะเพิ่มขึ้น แต่ก็มีรายได้สุทธิลดลง จึงทำให้เกษตรกรมีปัญหาหนี้สินเพิ่มขึ้น แนวทางในการแก้ปัญหา คือ การลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้ผล จัดการความรู้ โดยร่วมกัน ถือเป็นหลักปรัชญา ที่ใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยทั่วไป ในทุกสาขาทำงาน และเป็นหลักปฎิบัติที่ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของสมาชิก ชุมชน เครือข่าย แบบภาคีที่มีการพัฒนา ทำให้เกิดความเสมอภาคของผู้ปฎิบัติในทุกระดับ ในฐานะต่างฝ่ายต่างเป็นผู้เรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และเรียนจากความรู้จากกันและกัน โดยอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์ที่เหนือกว่าผลรวมของพลังที่มีอยู่เดิม
ในอดีต ประชากรรวมของวัวแต่ละปีมีจำนวนค่อนข้างคงที่ แต่ประมาณสามทศวรรษที่ผ่านมา สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ควายมีแนวโน้มลดจำนวนลงเรื่อย ๆ แต่วัวมีการเพิ่มและลดเป็นวัฏจักร สาเหตุเนื่องมาจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สังคมเมืองขยายตัวเพิ่มขึ้น คนในชนบทมีหนี้สินเพราะระบบการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป เกษตรกรมีที่ดินทำการเกษตรน้อยลง เครื่องจักรกลเข้ามามีบทบาทในระบบฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย คนในชนบทจำนวนมากละทิ้งการเกษตรมาใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม ราคาวัวตกต่ำ ฯลฯ ปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่งผลให้เกิดการขาดแคลนวัวในบางช่วงเวลา (Chantalakhana and Skunmun, 2002)
ประเทศไทยมีพื้นฐานการทำเกษตรกรรมมาตั้งแต่บรรพบุรุษหลายชั่วอายุชน และยังทำต่อไปเรื่อย ๆ การเปลี่ยนแปลงภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม และการใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรม ผลผลิตต่ำลง ต้นทุนสูงขึ้น เป็นเหตุให้พึ่งปัจจัยภายนอกมากขึ้น กระบวนการผลิตภาคการเกษตรตกอยู่ภายใต้กระแสแนวคิดทุนนิยม ซึ่งมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ เป็นหลัก แนวคิดดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบสู่ระดับท้องถิ่นและระดับรากหญ้า ซึ่งขัดแย้งกับแนวพระราชดำริของในหลวงอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาเศรษฐกิจแบบพอเพียง สำหรับเกษตรกรนั้น จะมีการปฎิบัติตามขั้นตอน ทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3 ขั้นตอน คือ 1. ผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน 2. รวมกลุ่มเพื่อผลิตและ 3. ร่วมมือกับองค์กรภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพ จากพื้นฐานความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การปรับตัวของเกษตรกร เพื่อทำความเข้าใจถึงกระบวนการปรับตัวของเกษตรกร เช่น การดำรงชีวิต การตลาดรวมถึงการรักษาไว้ซึ่งอาชีพเกษตรกร ทั้งยังวิเคราะห์ประเด็นทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการปรับตัวของเกษตรกร สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำไปเป็นแบบอย่างในการปรับตัวของเกษตรกรรายอื่นต่อไป
การส่งเสริมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นลดต้นทุนการผลิตเกิดการขยายผลตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและการพึ่งตนเองในการแก้ไขปัญหาความยากจนต่อไปการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม และการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมเศรษฐกิจรากหญ้าเกิดการอุบัติของโรค การนำสารชีวภาพหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ก็สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกสามารถลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ผลิตโดยใช้สารเคมี ยาปฎิชีวนะ ลดการสะสมสู่ผู้บริโภค สารธรรมชาติ (ปศุสัตว์ทางเลือก) ถือเป็นทรัพยากรทางเลือกที่มีศักยภาพสูง ควรส่งเสริมสนันสนุนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน พัฒนาแกนนำเครือข่ายให้เข้มแข็งยั่งยืนจนสามารถ พัฒนาเป็นศูนย์กลางที่สามารถให้บริการและร่วมมือกับเครือข่ายในการพัฒนาให้พัฒนาต่อไป (รัชดาวรรณ, 2543 ; นันทิยา และ ศรีสกุล, 2547 ; สาโรชและคณะ 2547) สอดคล้องเศรษฐกิจพอเพียงของพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัว โดยอภิชัย (2549) อ้างว่าให้พอเพียงในหมู่บ้านหรือในท้องถิ่นให้สามารถทั้งพอมีพอกิน เริ่มด้วย พอมี พอกิน ซึ่งการใช้สารธรรมชาติถือเป็นการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นราคาถูกในการผลิตด้านการเกษตรแต่การใช้ในปัจจุบันยังน้อย ปัญหาวิกฤติของสังคมไทยเป็นปัญหาโครงสร้าง การแก้ปัญหาที่แท้จริงควรเน้นที่โครงสร้างชุมชน/สังคม และพบว่าชุมชนที่มีโครงสร้างเข้มแข็งของตนเอง สามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและสังคมที่เสื่อมโทรม และได้เสนอว่า การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้ภาวะใหม่แห่งการพัฒนาจำเป็นต้องอาศัยฐานคิดที่เป็นแกนกลาง และปฏิสัมพันธ์กัน กับชุมชน มีชุมชนเป็นฐาน โครงสร้างการบริหารจัดการเครือข่ายองค์กรชุมชน เป็นฐานคิดสำคัญในการ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ยกระดับความรู้ข่าวสาร และแลกเปลี่ยนบทเรียนกัน ตลอดทั้งร่วมกันวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสังคมอย่างสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละชุมชน โดยมีเครือข่ายองค์กร ชุมชนในแต่ละระดับมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอย่างเป็นกระบวนการจากชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค และระดับชาติ โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างหลัก 1 ใน 6 ประการของฐานคิดทางยุทธศาสตร์ในภาวะใหม่แห่งการพัฒนาที่ทำให้ชุมชนสามารถยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจสังคม ซึ่งฐานคิดนี้มีอยู่จริงในสังคมไทย สามารถนำมาสังเคราะห์เป็นวิสัยทัศน์ทางยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนไทยในอนาคต
ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงมุ่งศึกษาจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงในปัจจุบันแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและเสนอแนวทางการจัดตั้งเครือข่ายปศุสัตว์ทางเลือก พร้อมขยายผลการนำไปใช้ด้านปศุสัตว์ ปลอดภัยเพื่อให้สามารถพึ่งพาตน และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการการผลิตโคเนื้อที่เหมาะสมต่อบริบทของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในปัจจุบัน
2. เพื่อศึกษาศักยภาพการผลิตและแนวทางพัฒนาระบบการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในเขตจังหวัดนครสวรรค์
3. เพื่อศึกษาผลการเสริมมันเฮย์ในอาหารต่อการผลิตโคเนื้อของฟาร์มเกษตรกรรายย่อย
4. เพื่อส่งเสริมการใช้มันเฮย์เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารโคเนื้อของฟาร์มเกษตรกรราย
ย่อยในเขตจังหวัด นครสวรรค์
5. เพื่อศึกษาผลกระทบของกระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ต่อการผลิตโคนมในปัจจุบัน
6. เพื่อหาแนวทางและการจัดการที่เหมาะสมร่วมกันของชุมชนต่อประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงในชุมชน ต่อกระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
7. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการแก้ปัญหาการผลิตระบบเดิม ลดต้นทุน แบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
8. เพื่อจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงเรียนรู้ด้านอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อไปสู่การพึ่งตนเอง |
ขอบเขตของโครงการ : | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ฟื้นฟูวัฒนธรรมท้องถิ่น ภูมิปัญญาพื้นบ้านและโลกทัศน์ดั้งเดิมที่เน้นความพอเพียง
2. สร้างสถาบันใหม่ที่สนับสนุนการพัฒนาจิตสำนึกที่วิพากษ์และจะเป็นเวทีเพื่อ
แพร่กระจายความคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน
3. ส่งเสริมสำนึกแบบวิพากษ์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงอันตรายจากเศรษฐกิจ
แบบทุนนิยมที่คุกคามวิถีชีวิตของคนในชุมชน
4. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจในการวิจัยการทำวิจัยการนำภูมิ
ปัญญาของท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และสามารถทำการวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ
5. ผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสามารถนำข้อมูล จากข้อสรุปของการประชุมไปปรับใช้
ในการผลิตปศุสัตว์
6. ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติตระหนักและร่วมมือการนำภูมิปัญญาของท้องถิ่นมาใช้
เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้เวชภัณฑ์และสารตกค้างๆ
7. เกษตรกรผู้เลี้ยงในชุมชน เกิดการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ปฏิบัติจริง
8. มีองค์กรและหาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมโครงการได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การ
ทำงานร่วมกัน
9. ผู้เข้าร่วมเกิดการเรียนรู้และนำองค์ความรู้ไปปรับใช้และขยายผลในพื้นที่ต่อไป
10. ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพและกระบวนการเรียนรู้ของทีมวิจัยและชุมชน
11. ทำให้ได้บริบทชุมชนที่ใช้เป็นฐานในการพัฒนาแก้ไข ความยากจน
12. สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน
13. ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงชุมชน/ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
14. เป็นแนวทางเพิ่มรายได้ แบบอาชีพเสริมโดยเน้นการผลิตบริโภคในครัวเรือน
15. ส่งเสริมการลดต้นทุนค่าการผลิตโดยให้เปิดหาวัตถุดิบในท้องถิ่น
16. มีบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับชาติเพื่อการพัฒนาวิชาการและการ
นำไปใช้
17. สนับสนุนการผลิตนักวิชาการ นักวิจัยรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถเข้าใจในการ
ทำงานวิชาการสู่ชุมชน อย่างน้อย 5 คน
19. เกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านการผลิตไปใช้จริงเพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
20. ส่งเสริมการนำความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น ลดต้นทุนการ
ผลิตสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจชุมชนเกิดความเข้มแข็งของชุมชน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ไปสู่การพึ่งพาตนเองการจัดการและพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรแบบมีส่วนร่วมเพื่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้สู่การพึ่งพาตนเองของชุมชนที่ยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1806 ครั้ง |