รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000179
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จาก ตาลโตนดบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Community Potential for products create of Palmyra based on Local Wisdom
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ศักยภาพชุมชน (Community potential) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom ) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตาลโตนด (products create of Palmyra) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ตาลโตนด (products create of Palmyra)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบัน สังคมไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการพึ่งตนเองตามวิถีไทย โดยการน้อมนำแนวพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตทั้งส่วนบุคคล ชุมชน และสังคมไทยโดยรวม เพราะโดยพื้นฐานสังคมไทยมีทุนทางสังคมที่มีคุณค่ามหาศาลอยู่ในตัวอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพื้นฐานจากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชพรรณธัญญาหาร ศิลปวัฒนธรรม ความหลากหลายในภูมิปัญญาไทยที่สั่งสมมายาวนาน และมีการกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การพัฒนาประเทศที่เน้นวัฒนธรรมและภูมิปัญญาจึงได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน คนว่างงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวชนบทให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และกลายเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในยุคปัจจุบัน หลักการของการพัฒนาคือ การใช้ความรู้ความสามารถที่ชุมชนมีอยู่เดิมในการสร้างรายได้อย่างเป็นกระบวนการและเชื่อมโยงไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ ครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต แรงงานของสมาชิกในครอบครัวเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด พึ่งแรงงานในครอบครัว พึ่งทรัพยากรท้องถิ่น พึ่งตัวเอง และพึ่งกันเองในชุมชนเป็นขั้นตอนพื้นฐาน เศรษฐกิจฝังตัวอยู่ในสังคมและวัฒนธรรม ธุรกิจชุมชนที่เกิดจากครอบครัวชุมชนมาจากรากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นและพลังอันเป็นศักยภาพ ตลอดจนทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนั้นชุมชน ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีต้นทุนทางสังคมและวัฒนธรรมสูง อาทิเช่น วัด แหล่งโบราณสถานต่างๆ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมประเพณีไทยทรงดำ และงานประเพณีที่ยังคงสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน (อุทัยวรรณ ภู่เทศ, 2553) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีป่าตาลเป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นสมบัติตกทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ขึ้นอยู่ทั่วไปและถือเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนตำบลเกยไชย หากมองจากแง่มุมด้านสังคมวัฒนธรรม ตาลเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตวัฒนธรรมการบริโภคและเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในชุมชนมาเป็นเวลาช้านาน นั่นคือ ความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือเกื้อกูลกันของคนในหมู่บ้าน และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ผลิต พ่อค้า และผู้บริโภค ในด้านของระบบการผลิต ความสมบูรณ์ของทุนทางสังคมดังกล่าว ทำให้ชุมชนมีการผลิตสินค้าจากต้นตาลโตนดแทบทุกครัวเรือนควบคู่กับการประกอบอาชีพทำนาเป็นวัฒนธรรมภูมิปัญญาที่เป็นเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลภาคสนามเบื้องต้นชาวบ้านตำบลเกยไชยเล่าว่า ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดเป็นอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้โดยตรง (สมชาย พลไพรินทร์, 2556 : สัมภาษณ์) แต่ปัจจุบันมีครัวเรือนที่ประกอบอาชีพนี้ลดลงไปเป็นจำนวนมากเพราะขาดผู้สืบทอดความรู้ ไม่เห็นคุณค่าทรัพยากรตาลโตนดในฐานะทุนทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ในชุมชนหันไปประกอบอาชีพอื่น และยังไม่มีการพัฒนาธุรกิจชุมชนนี้อย่างจริงจัง นอกจากนี้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยมที่รุกเร้าเข้าไปใกล้ชุมชน ทำให้วัยแรงงานและเยาวชนรุ่นใหม่นิยมไปรับจ้างทำงานตามโรงงานอุตสาหกรรม มีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นบ้าง และคาดว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาน่าจะสูญสลายไปจากชุมชนในไม่ช้า จากปัญหาข้างต้น จัดเป็นปัญหาในระดับมหภาค เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับปากท้องและเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษา การพัฒนาอาชีพตาลโตนดให้สามารถดำรงอยู่ในภาวะสังคมปัจจุบันและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกของคนในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของตาลโตนดในฐานะที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ทรงคุณค่าเป็นทุนของชุมชนที่ทำรายได้ให้กับชุมชน ให้เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและจังหวัดสำหรับเป็นของที่ระลึกและของฝากแก่นักท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป โดยนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตาลโตนด 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากตาลโตนดบนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านพื้นที่ ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. ศักยภาพและความต้องการของชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตาลโตนด 2. สร้างและพัฒนาศักยภาพของชุมชนให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และการใช้ประโยชน์จากตาลโตนดเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเป็นรูปธรรม ขอบเขตด้านเวลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1 แนวคิดเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน 2 แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 3 แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 4 แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :603 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
-อุทัยวรรณ ภู่เทศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด