รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000176
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองเขตประชาคมอาเซียน ในวิชาพลศึกษา ในนักเรียนช่วงอายุ 10 - 12 ปี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Blended Learning Model by Applying The Indigenous games and sports of AEC in Physical Education For students aged 10-12 years. ชื่อแผนงานวิจัย (ภาษาไทย) (กรณีเป็นโครงการวิจัยภายใต้แผนงานวิจัย)
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :รูปแบบการจัดการเรียนการสอน (Model of Teaching) การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended learning)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :พลศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญกับความหลากหลายทั้งด้านสังคมและระบบเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตเป็นอย่างมาก ทำให้หลายประเทศต้องเร่งเตรียมพร้อมโดยการสร้างกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวและรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศชาติก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและเท่าเทียม ประเทศสมาชิกอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 10 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าการศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ การอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน การรับรู้มรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน และเชื่อมในอัตลักษณ์ของภูมิภาค ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียน ได้ตระหนักถึงบทบาทและภารกิจสำคัญในการเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนในเวทีโลก โดยเฉพาะการใช้กลไกความร่วมมือด้านการศึกษานำพาอาเซียนสู่การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง ดังคำกล่าวตอนหนึ่งของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในพิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 ที่ว่า “ประชาชนของอาเซียนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของอาเซียน เราต้องทำให้แน่ใจว่า พวกเขามีช่องทางที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาบุคคล และเราควรดำเนินการดังกล่าวโดยการส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษา การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการเสริมสร้างศักยภาพในด้านอื่น ๆ นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า การลงทุนระยะยาวเพื่ออนาคตของประชาคม ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการสร้างประชาคมที่ยั่งยืนต่อไป” (ฟาฏินา วงศ์เลขา, 2553) จะเห็นได้ว่า การศึกษาเป็นตัวนำสำคัญในการขับเคลื่อนให้สามารถก้าวไปได้อย่างมีทิศทาง ผสานประโยชน์ จากการระดมความคิดในหลากหลายเวทีจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 เสาหลัก รวมถึงผู้บริหารการศึกษา ครูผู้สอน นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้อง พบข้อเสนอแนวทางมากมาย เช่น การให้ความรู้แก่พลเมือง ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาเพื่อนบ้าน การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน และจิตสำนึกของพลเมืองอาเซียน ทุกภาคส่วนในสังคมร่วมจัดกิจกรรมด้านการศึกษา สร้างเด็กให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานแลสถานประกอบการ การจัดหลักสูตรการศึกษาอาเซียน ด้วยการส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาเพื่อนบ้าน เป็นต้น (ฟาฏินา วงศ์เลขา, 2553) ระบบการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานในด้านการคิด สร้างวิธีการเรียนรู้ให้คนไทยมีทักษะในการจัด และทักษะในการดำเนินชีวิตที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ (นวลพรรณ ไชยมา, 2554) และจากการศึกษาของไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2548) พบว่า กระบวนการเรียนรู้ของไทยไม่ได้สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการเรียนการสอนยังมีลักษณะป้อนโดยการบรรยายของครูผู้สอนทำให้ผู้เรียนต้องจดท่องจำตามที่อาจารย์บอกเป็นหลัก ส่งผลให้สิ่งที่เรียนมากลายเป็นความรู้ที่ไม่สามารถใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2543) ทำให้เกิดแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสบผลสำเร็จมากที่สุดจากการศึกษา ในการเรียนรู้ทางพลศึกษาผู้เรียนจะได้รับโอกาสให้เข้าร่วมในกิจกรรมทางกาย และกีฬาทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างหลากหลายทั้งของไทย และสากล นอกจากผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพทางกายอย่างเต็มที่แล้ว ยังได้เรียนรู้ และฝึกฝนตนเองตามกฎกติกา ระเบียบ และหลักการทางวิทยาศาสตร์จากการแข่งขัน และการทำงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ และร่วมเสริมสร้างให้ ผู้เรียนรักการออกกำลังกายมากขึ้นไปอีก และกวิน คเชนทร์เดชา (2546, อ้างถึงใน สุชาดา เรืองดำ: 2547 ) กล่าวว่า เมื่อนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพลศึกษาแล้ว จะต้องได้รับการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับวาสนา คุณาอภิสิทธิ์ (2544) กล่าวว่า วิชาพลศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งนั้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เช่นเดียวกับวิชาอื่นๆ แต่ใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย ( กีฬา ) เป็นสื่อ และกิจกรรมเหล่านั้นได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ บุชเชอร์ (Bucher, 1964 : 27 – 28 ) กล่าวว่า พลศึกษาเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางการศึกษา พลศึกษาไม่ได้เป็นเพียงวิชาเพิ่มในหลักสูตร แต่เป็นโปรมแกรมในการสอนของโรงเรียน มีไว้เพื่อไม่ให้เด็กมีเวลาว่าง และพลศึกษายังเป็นส่วนสำคัญของการศึกษา ตลอดจนเป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีทิศทางที่ถูกต้องในการพัฒนาทักษะของเด็กอย่างมีคุณค่ารวมทั้งในด้านการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์การร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสังคม และจิตใจที่ดี พลศึกษาจึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญ อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี การเล่นเกมเป็นสิ่งที่สนุกท้าทายผู้เล่นมีความสนุกสนานและยังเป็นการส่งเสริม การเตรียมความพร้อมในเรื่องทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของมนุษย์ บุคคลใดมีทักษะ การ เคลื่อนไหวพื้นฐานก็สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในระดับที่สูงขึ้นได้ นั่นคือ มีความพร้อมที่จะเล่นเกมและกีฬาที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้นได้เป็นอย่างดี เป็นผลต่อการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีสมรรถภาพร่างกายที่แข็งแรง อีกทั้งยังส่งเสริมการอยู่ร่วมกัน ในสังคมได้อย่างมีความสุข เกมแต่ละเกมให้คุณค่าแตกต่างกันออกไป บางเกมส่งเสริมความคิด สร้างสรรค์ บางเกมส่งเสริมและพัฒนาด้านสติปัญญา พรพนา ช่างเกวียน (2544: 88 - 89) การละเล่นพื้นบ้าน เป็นผลดีทางด้านร่างกาย การละเล่นพื้นบ้านให้คุณค่าส่งเสริมทางด้านร่างกายกับผู้เล่นครบถ้วนทุกคุณค่า เรียงลำดับคุณค่าที่ได้รับจากมากไปหาน้อย คือ ได้รับคุณค่าเกี่ยวกับความอ่อนตัว ความแม่นยำ การทรงตัวที่ดีการประสานงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ความแข็งแรง พลังของกล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และความอดทนของระบบหายใจ การฝึกที่มีหลากหลายกิจกรรม สามารถจัดกิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ของการฝึก เพื่อให้เกิดการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายตามต้องการ ทำให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ท้าทาย เพลิดเพลิน มีเวลาพักขณะฝึก ไม่หนักเกินไปสำหรับนักเรียน ทำให้เกิดผลดีต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายตามต้องการ (ชัชชัย โกมารทัต, 2549: 120) การละเล่นพื้นบ้านเป็นเกมอย่างหนึ่ง ที่จัดกิจกรรมส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะขณะที่นักเรียนเล่นนั้นนักเรียนได้รู้จัก เกิดความรู้ เจตคติที่ดี ทักษะในการเคลื่อนไหวสมรรถภาพทางกาย และพัฒนาการทางสังคมได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตอบสนองความใคร่รู้เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้การเล่น ยังทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเป็นอิสระ สนุกสนานเพลิดเพลินและพร้อมที่จะกระทำกิจกรรมนั้นๆ ดังนั้น เพื่อให้การสอนของครูเป็นที่สนใจและเกิดคุณค่าทางการศึกษายิ่งขึ้น จึงได้นำการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านซึ่งจะช่วยให้ครูจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน ตลอดจนนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญาของนักเรียนในระดับประถมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาผลของการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประทศในเขตประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในวิชาพลศึกษาเพื่อให้เกิดทัศนคติ และการพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในเรื่องประชาคมอาเซียน 7. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 7.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน โดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียนในวิชาพลศึกษา ของนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี 7.2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน ที่มีทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :-
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียนเพื่อพัฒนาทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนรัฐบาลในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ช่วงอายุ 10 - 12 ปี กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา คือ นักเรียนโรงเรียนรัฐบาลขนาดกลางในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 ช่วงอายุ 10 - 12 ปี โดยวิธี การเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จากกลุ่มตัวอย่างที่ได้ ทำการวัด pre-test และนำมาเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 8 โรงเรียน และเป็นกลุ่มควบคุม จำนวน 8 โรงเรียน โดยกลุ่มทดลองได้รับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน ตัวแปรต้นที่ทำการศึกษาได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน ส่วนตัวแปรตาม คือ ทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :- ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองเขตประชาคมอาเซียน ที่มีทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - เป็นการสนับสนุนหลักสูตรในระดับประถมศึกษาเพื่อไปใช้ในการเรียนการสอน ที่มีผลต่อทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน - เป็นแนวทางในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อผลการเรียนทางพลศึกษา
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการทดลองในเรื่องทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน 2. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันในเรื่องทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน กรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมวีเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนทางพลศึกษา ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการและรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 5 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมเกมและกีฬาพื้นเมืองของประเทศในเขตประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมอาเซียน 9. การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ (Information) ที่เกี่ยวข้อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลศึกษา กิจกรรมพลศึกษาเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ได้สำหรับเด็ก ๆ แล้วการที่จะให้เขามีนิสัยรักการออกกำลังกายเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เราจะต้องให้การศึกษาแก่เขาตั้งแต่ยังเล็ก เกี่ยวกับความสำคัญของกิจกรรมพลศึกษาที่ช่วยในการรักษาและคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี เด็กควรจะได้เรียนไม่ใช่แค่เพียงทักษะและกิจกรรมพลศึกษาให้เป็นปกตินิสัย (Safrit, 1995:1 อ้างถึงใน จิรากรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 22) วรศักดิ์ เพียรชอบ (2533) กล่าวสรุปไว้ว่าพลศึกษาเป็นกระบวนการศึกษาอย่างหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความเจริญงอกงาม มีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม โดยอาศัยกิจกรรมพลศึกษาที่ได้เลือกสรรแล้วเป็นสื่อกลางของการเรียนรู้ และให้ข้อคิดว่าการพลศึกษาจะใช้สื่อกลาง (Medium) โดยการจัดประสบการณ์ในด้านกิจกรรมพลศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิบัติและเกิดการเรียนรู้จากการที่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง ซึ่งจะแตกต่างจากการศึกษาแขนงอื่น วิสูตร กองจินดา (2527: 33) ให้ความหมายของพลศึกษาตามรูปศัพท์ว่า หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการกีฬา การบริหารร่างกาย การเล่นเกม และการศึกษาเกี่ยวกับร่างกายโดยใช้กิจกรรมพลศึกษาเป็นสื่อ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาด้านพุทธิศึกษา ทักษะ การมีทัศนคติที่ดี เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษย์สัมพันธ์ สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และมีพลานามัยดี ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาทั่วไป พลศึกษาในระดับประถมศึกษา วัตถุประสงค์ของการพลศึกษาในระดับประถมศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา วิชาพลศึกษาจะช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาการไปตามศักยภาพสูงสุดของแต่ละบุคคล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์พื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป ศักยภาพเหล่านี้ประกอบด้วยการให้นักเรียนได้พัฒนาในด้านทักษะ สติปัญญา การเรียนรู้ การรู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์ รู้จักการสื่อสาร มีความคิดเป็นของตนเอง การมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น การเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น รวมถึงการพัฒนาด้านทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพและสวยงาม วิชาพลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งการที่จะช่วยให้เป้าหมายเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาได้ ก็โดยการกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนพลศึกษา ในระดับประถมศึกษาให้ชัดเจนดังนี้ (Kirchner, 1983: 9-13 อ้างถึงใน จิรากรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 22) เพื่อช่วยให้ร่างกายมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ เด็กทุกคนที่เกิดมามีพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดส่วนสูง น้ำหนัก และคุณลักษณะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม การพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอ การปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และการเลี้ยงดูของบิดามารดา จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก นอกเหนือจากปัจจัยที่กล่าวมาแล้ว มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การเจริญเติบโตโดยปกติและการพัฒนาของกระดูก กระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อ จะเกิดขึ้นได้เมื่อเด็กได้รับการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องและเหมาะสมในระยะที่เด็กกำลังเจริญเติบโตเท่านั้น การออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอจะช่วยเพิ่มความหนาของกระดูกเนื่องจากมีการเพิ่มการสะสมของแร่ธาตุในกระดูกทำให้กระดูกใหญ่ขึ้นและแข็งแรง (Kirehner, 1983: 9-13 อ้างถึงใน จิรากรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 22) เพื่อพัฒนาและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดของสมรรถภาพทางกาย เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงจะไม่เหนื่อยง่ายในการประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และยังมีพลังเหลือสำรองไว้ใช้อีกต่างหากในคราวที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ มีแนวโน้มว่า เด็กที่ร่างกายแข็งแรงจะมีการควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดี มีการปรับตัว และชอบที่จะเข้าสังคม การออกกำลังกายที่หนักจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักที่เหมาะสมกับวัย สมรรถภาพทางกายที่สูงสุดในวัยเด็กจะช่วยให้เด็กมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมเล่นกีฬา และกิจกรรมพลศึกษาอื่นๆ นอกจากนี้แล้ว การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความแข็งแรง ความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต การมีสุขภาพที่ดี ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง และมีความสามารถในการแสดงออกของร่างกายอย่างสูงสุด การพัฒนาทางด้านร่างกายเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านอารมณ์ สังคม สติปัญญา การเรียนรู้และจินตนาการ (Kirehner, 1983: 9-13 อ้างถึงใน จิรากรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 22) เพื่อพัฒนาทักษะทางกายที่เป็นประโยชน์ การเคลื่อนไหวทุกอย่างที่ใช้ในการทำกิจกรรม ซึ่งได้แก่ การเดิน การวิ่ง การปีนป่าย การเคลื่อนไหวที่ใช้ในการเล่นกีฬา ถือได้ว่าเป็นทักษะทางกายที่เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ทักษะเหล่านี้ ไม่สามารถทำให้มีขึ้นในระยะเวลาอันสั้นได้ หากต้องใช้เวลาฝึกหัดเป็นเวลานาน วัยเด็กซึ่งเป็นวัยที่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อกำลังปรับตัว การเรียนรู้หรือการฝึกหัดจึงเกิดได้ง่าย ท่าทางและทักษะที่ถูกต้องจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ทางด้านกลไกและทักษะกีฬาต่อไป จึงเป็นหน้าที่ของครูพลศึกษาที่จะช่วยให้เด็กแต่ละคนได้พัฒนาทักษะกลไกการเคลื่อนไหวเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช่ในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตประจำวันและกิจกรรมการพักผ่อน (Kirehner, 1983: 9-13 อ้างถึงใน จิรากรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 22) เพื่อพัฒนาทางด้านสังคมและอารมณ์ บุคคลที่มีวุฒิภาวะทางสังคม คือ บุคคลที่ทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับนับถือของผู้อื่น มีบุคลิกลักษณะที่ดี และมีน้ำใจนักกีฬา สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ทางหนึ่ง โดยการเล่นกีฬาเป็นทีม หรือการทำกิจกรรมกลุ่มในสถานการณ์ของการเล่นต้องมีการวางกฎกติกาให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม เป็นการฝึกการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย (เสรี โอภาส. 2532 :16) การให้ความรู้ด้านพลศึกษาในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ช่วยให้นักเรียนได้แสดงออก มีประสบการณ์ และสัมผัสกับกิจกรรมพลศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ หลักสูตรและตารางกิจกรรมพลศึกษาทั้งปี ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนได้พัฒนาความสามารถของตน มีความคุ้นเคยกับกิจกรรมพลศึกษาชนิดต่าง ๆ ประสบการณ์เหล่านี้ทำให้นักเรียนสามารถเลือกกิจกรรมที่ตนชื่นชอบเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การพัฒนาของเด็กประถมศึกษา เด็กวัยประถมศึกษาโดยทั่วไปมีอายุระหว่าง 6-12 ปี เป็นวัยที่สนุกสนาน มีความกระตือรือร้น ความมั่นคง และความรับผิดชอบ มีพัฒนาการที่สำคัญ ๆ และมีความพร้อมมากขึ้น สามารถผจญกับสถานการณ์ใหม่ ๆ ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและเริ่มสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวกว้างมากขึ้น เด็กเริ่มจะปรับตัวให้เข้ากับสังคมนอกบ้าน จะมีโลกเป็นของตนเองและโลกที่ร่วมกับเพื่อนรุ่นเดียวกันในด้านของภาษาที่ใช้ ค่านิยม ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดและอื่น ๆ การเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกาย ทักษะกลไก สติปัญญา อารมณ์ และสังคม จะมีอิทธิพลต่อกันและเกี่ยวกันพัน พัฒนาการด้านหนึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ และพัฒนาการทุก ๆ ด้านเหล่านี้จะมีผลต่อการพัฒนาการโดยส่วนรวมของเด็ก (จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ 2543: 23-34) พัฒนาการทางด้านร่างกาย การเจริญเติบโตของร่างกายของเด็กในวัยประถมศึกษาจะช้าลง โดยเฉพาะจากอายุ 8 ปีไปจนถึงระยะสุดท้ายของวัยนี้ ที่เป็นเช่นนี้จะช่วยให้เด็กได้เคยชินกับการเปลี่ยนแปลงของร่ายกายในด้านต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามส่วนสูงและน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นอย่างคงที่และสม่ำเสมอ (Demura and others, 1991อ้างถึงใน วรศักดิ์ เพียรชอบ, 2533) พัฒนาการทางด้านสติปัญญา การพัฒนาทางด้านสติปัญญานั้นแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะการใช้ประสาทสัมผัส (อายุ 0-2 ปี) 2. ระยะเตรียมการ (อายุ 2-7 ปี) 3. ระยะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม (อายุ 7–11 ปี) 4. ระยะเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม (อายุ 11-15 ปี) จะเห็นได้ว่า เด็กวัยประถมศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระยะเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม (พรรณี ช.เจนจิต, 2525) ระยะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กวัยนี้จะมีพัฒนาการอยู่ในขั้นที่สามารถใช้สมองคิดอย่างมีเหตุผล แต่ยังไม่สามารถคิดเป็นนามธรรมได้ เด็กจะคิดเป็นรูปธรรมหรือจากประสบการณ์จริงๆ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น ของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่ง แม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังคงมีน้ำหนักและปริมาตรเท่าเดิม เด็กมีความสามารถในการคิดย้อนกลับ พัฒนาการทางด้านสังคมและ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองเขตประชาคมอาเซียน ที่มีทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองเขตประชาคมอาเซียน ที่มีทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขั้นตอนที่ 5 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยการประยุกต์ใช้เกมและกีฬาพื้นเมืองเขตประชาคมอาเซียน ที่มีทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สถานที่ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล - โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 วิธีดำเนินการทดลอง 1. ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ขอใช้กลุ่มตัวอย่าง และสถานที่ทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทดลอง 2. ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ และแก้ไขข้อบกพร่องของโปรแกรมการทดลอง 3. ทดสอบทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำผลการทดสอบมาหาค่าเฉลี่ย 4. นำค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทางพลศึกษาของกลุ่มตัวอย่างมาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีการสุ่มแบบเข้ากลุ่ม (randomly assignment) 5. เข้าร่วมการจัดการเรียนรู้ตามโปรแกรมของแต่ละกลุ่ม ทำการจัดการเรียนรู้เป็นเวลา 16 สัปดาห์ๆ ละ 1 วันๆ ละ 50 นาที 6. ทดสอบผลการทดสอบทัศนคติ และผลการเรียนรู้ในเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังการจัดการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 15 ของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม 7. นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทดสอบไปวิเคราะห์ทางสถิติ 8. สรุปผลการวิจัย และข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1356 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสยาม ทองใบ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายธนสิริ โชคทวีพาณิชย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายทินกร ชอัมพงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายวุฒิชัย ประภากิตติรัตน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด