รหัสโครงการ : | R000000173 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณพื้นที่รอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Community Economic Development in Area Khao Luang Forest Park: Krokphra District, Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | วนอุทยานเขาหลวง, เศรษฐกิจชุมชน, ภูมิปัญญาชาวบ้าน Khao Luang Forest Park, Economic Community, Local Wisdom |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 500000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 500,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ธันวาคม 2557 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2558 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเศรษฐศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | จากการพัฒนาประเทศที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงาน ปัญหาการมุ่งเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้แนวคิดการพัฒนาโดยสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมจากฐานล่างคือครอบครัวและชุมชน ด้วยกระบวนการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นแนวคิดของเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่มาจากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 โดยกระทรวงมหาดไทยได้นำแนวคิดนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง
ป่าเขาหลวง ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 1 ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 2 ท้องที่จังหวัดอุทัยธานี มีเนื้อที่ตามแนวเขตป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ใช้ดำเนินการจัดตั้ง วนอุทยานรวม 2 แปลงติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 59,375 ไร่ หรือ 95 ตารางกิโลเมตรวนอุทยานเขาหลวง มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบ มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงเท่ากับ 772 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบมาตั้งแต่อดีต มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่า ทั้งสภาพป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและมีพืชสมุนไพรที่มีค่า และหายากจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ธรรมชาติบนยอดเขาหลวง จุดชมวิวบนสันเขา/หน้าผา ถ้ำ ฯลฯ วนอุทยานเขาหลวง นับว่ามีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม อากาศบนยอดเขาเย็นสบาย เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และอยู่ไม่ห่างไกลชุมชนมากนักในอดีตที่ผ่ามาพบว่าทรัพยากรธรรมชาติในเขตวนอุทยานเขาหลวงได้ถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ โดยเฉพาะการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ การลักลอบหาของป่าและพืชสมุนไพรโดยปราศจากการควบคุม ตลอดจนปัญหาด้านไฟป่า ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในวนอุทยานเขาหลวงเสื่อมโทรมลงจนใกล้วิกฤติ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำตามลำห้วยลำธาร ที่ในอดีตมีน้ำไหลตลอดปี ต้องเหือดแห้งลงในฤดูแล้ง ทำให้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงในชุมชนรอบๆได้ อีกทั้งสภาพธรรมชาติที่สวยงามก็ถูกทำลายลง จึงทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ตลอดจนหน่วยงานราชการ วัด และสื่อมวลชน ได้เสนอแนะให้ทางราชการเร่งหามาตรการที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ดังนั้นกรมป่าไม้ โดยป่าไม้เขตนครสวรรค์ จึงได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวงขึ้นมา เพื่อให้ได้รับการจัดการทางด้านวิชาการ อย่างมีระบบแบบแผนที่ถูกต้อง เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว แก่ประชาชนโดยส่วนรวมตลอดไป
วนอุทยานเขาหลวงอยู่เขตรอยต่อของจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี มีราษฎรที่อยู่อาศัยและมีที่ทำกินติดต่อและใกล้เคียงพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงใน 35 หมู่บ้าน 9 ตำบล 5 อำเภอ ของ 2 จังหวัด อยู่ในเขตปกครองดังนี้
จังหวัดนครสวรรค์ ท้องที่
ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง
ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว
ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว
ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ
ตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ
ตำบลศาลาแดง อำเภอโกรกพระ
ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ
จังหวัดอุทัยธานี ท้องที่
ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์
ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน
เนื่องจากชาวบ้านบริเวณรอบพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงประสบกับปัญหาความยากจน การขาดที่ดินทำกิน การขาดเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนได้อาศัยที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ทำกินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ การขาดอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมทั้งการขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นตนเพื่อยังประโยชน์ระยะยาวและอย่างยั่งยืน จึงทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่วนอุทยานเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่า ซึ่งกลุ่มนายพราน นี้จะทำการจุดไฟเผาป่าด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการล่าสัตว์แต่ละชนิด โดยเฉพาะประเภทสัตว์กีบ ที่กินพืชเป็นอาหาร และนักล่าสัตว์ป่ามักจะไม่ดับให้สนิทก่อน จึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาไฟป่าซึ่งมักเกิดเป็นประจำในหลายพื้นที่ การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร นอกจากนี้ยังพบว่าว่าความต้องการใช้สอยทรัพยากรของชุมชนในเขตวนอุทยานมีอยู่สูงมากและยากต่อการควบคุมดูแล เช่น กลุ่มหาของป่าตามฤดูกาล เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักหวาน ไข่มดแดง ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยตามแนวเขตป่า มีอาชีพเกษตรกรรม ฐานะยากจน การศึกษาต่ำ มีความจำเป็นต้องพึ่งพาผลิตผลจากป่าในการดำรงชีวิตตลอดทั้งปี ลักษณะการใช้ทรัพยากรนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันยังขาดหลักการอนุรักษ์ ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของทรัพยากรในพื้นที่เป็นอย่างมาก ทำให้สภาพพื้นที่เกิดความแห้งแล้งมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยานกับชุมชนที่อยู่โดยรอบวนอุทยานด้วย
โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงในอนาคต โดยในงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาเฉพาะชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
|
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1 เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจชุมชนและปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการสร้างรายได้ และลดค่าใช้จ่าย
|
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ครอบคลุมปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ผลการวิจัยสามารถตอบปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ ซึ่งผู้วิจัยแบ่งขอบเขตของการวิจัยออกเป็น (1) ขอบเขตด้านพื้นที่ประชากร (2) ขอบเขตด้านเนื้อหาของการวิจัย และ (3) ขอบเขตด้านระยะเวลาในการวิจัย
1 ขอบเขตด้านพื้นที่-ประชากร
โครงการวิจัยนี้ดำเนินการในเขตพื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ ใน 15 หมู่บ้าน 4 ตำบล
ประชากรประกอบด้วย
1) ชาวบ้าน และชุมชนในเขต
- อำเภอโกรกพระ ตำบลบางประมุง 1) บ้านหนองตายาย หมู่ 3
2) บ้านช่องรวก หมู่ 7
3) บ้านหนองโพธิ์ หมู่ 8
ตำบลนากลาง 1) บ้านนากลาง หมู่ 1
2) บ้านในซุ้ง หมู่ 2
3) บ้านหนองปลาคล้าว หมู่ 3
4) บ้านถ้ำผาสวรรค์ หมู่ 7
5) บ้านหนองจอก หมู่ 8
ตำบลศาลาแดง 1) บ้านหนองโสน หมู่ 1
2) บ้านทุ่งรกฟ้า หมู่ 2
3) บ้านหนองกลางโนน หมู่ 3
ตำบลเนินศาลา 1) บ้านเนินศาลา (โปร่งสะเดา) หมู่ 4
2) บ้านท่ารวก หมู่ 5
3) บ้านคลองม่วง-เนินไร่ หมู่ 6
4) บ้านเขาถ้ำพระ หมู่ 8
2) พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบพื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ใน 15 หมู่บ้าน 4 ตำบล
3) ผู้นำชุมชน พื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ใน 15 หมู่บ้าน 4 ตำบล
2 ขอบเขตด้านเนื้อหา
1) การศึกษาโครงการ และการรวมกลุ่มต่างๆของสมาชิกในชุมชนที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
2) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
3) ดำเนินการอบรมเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่มีโอกาสในการทำกำไรให้กับชุมชน บริเวณพื้นที่รอบวนอุทยานเขาหลวง เขตโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์เพื่อให้สามารถใช้ความรู้เป็นเครื่องมือพัฒนาอาชีพ สามารถเพิ่มรายได้ และขยายโอกาสด้านอาชีพ และ
4) ดำเนินการอบรมเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อปรับแนวคิดการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่หรือหาได้ในชุมชนเป็นการลดค่าใช้จ่าย
3 ขอบเขตระยะเวลา
โครงการวิจัยนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี ในปีงบประมาณ 2558
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) การพัฒนาที่แท้จริงคือการปรับเปลี่ยนสังคมทั้งหมด เป็นการปรับเปลี่ยนจากวิธีคิดแบบดั้งเดิมไปสู่วิธีการใหม่ที่ดีขึ้น ดังนั้นในการพัฒนาชุมชนให้เหมาะกับภาวะเศรษฐกิจ จึงต้องมีการลำดับการใช้ทรัพยากร การสร้างความเห็นพ้องต้องกัน การประสานความร่วมมือ และความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วม โดยการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จขององค์กรทุกประเภท พื้นฐานของการมีส่วนร่วมนั้นมีนักวิชาการให้ความหมายไว้หลากหลาย (ชูศักดิ์ ชาญช่าง, 2543, หน้า 28-29)
1. องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมไว้ว่าเป็นความร่วมมือในการกระทำหรือดำเนินการบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งหมายความรวมถึงความรับผิดชอบร่วมกันภายในองค์กร
2. เคธ เดวิส (Keith Davis) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง การเกี่ยวข้องทางจิตและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่มซึ่งส่งผลเป็นเหตุให้การกระทำของกลุ่มบรรลุจุดมุ่งหมาย และเกิดความรู้สึกร่วมรับผิดชอบกับกลุ่มด้วย
3. นิรันทร์ จงวุฒิเวศย์ ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง การเกี่ยวข้องทางด้านจิตใจและอารมณ์ของบุคคลหนึ่งในสถานการณ์กลุ่ม ซึ่งได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมไว้ในรูปสมการว่า
การมีส่วนร่วม = ความร่วมมือร่วมใจ + การประสานงาน + ความรับผิดชอบ
Participation = Cooperation + Coordination + Responsibility
จากสมการ
การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนตัดสินใจในกิจการใดๆ ที่มีผลกระทบถึงตัวประชาชน หรือการที่บุคคล กลุ่มบุคคลได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมบางอย่างทั้งในระดับของการแสดงความคิดเห็น การวางแผน การปฏิบัติงาน การติดตามผล และร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมหรือโครงการนั้นๆ
ความร่วมมือร่วมใจ หมายถึง ความตั้งใจของบุคคลที่จะมาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ของกลุ่ม
การประสานงาน หมายถึง ห้วงเวลาและลำดับเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพในการกระทำกิจกรรมหรือการงาน
ความรับผิดชอบ หมายถึง ความรู้สึกผูกพันในการกระทำงานและในการทำให้เชื่อถือไว้วางใจ
ส่วนคำว่าชุมชน ตามความหมายของพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา (อังกฤษ-ไทย) ฉบับราชบัณฑิตยสถานปี 2524 หมายถึง เขตพื้นที่ ระดับความคุ้นเคย และการติดต่อระหว่างบุคคลตลอดจนพื้นฐานความยึดหน่วงเฉพาะอย่างที่ทำให้ชุมชนต่างไปจากกลุ่มเพื่อนบ้าน ชุมชนมีลักษณะทางเศรษฐกิจเป็นแบบเลี้ยงตนเองที่จำกัดมากกว่าสังคม แต่ในวงจำกัดเหล่านั้นย่อมมีการสังสรรค์ใกล้ชิดกว่า และมีความเห็นอกเห็นใจกันลึกซึ้งกว่า ทั้งนี้อาจมีความพิเศษเฉพาะบางประการที่ผูกพันก่อให้เกิดเอกภาพ เช่น เชื้อชาติ ต้นกำเนิดของเชื้อชาติ หรือศาสนา (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2541, หน้า 2-48)
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น สิทธิณัฐ ประพุทธนิติสาร (2545) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีธรรมชาติ (Natural Approach to Participatory Development; NAPD) เป็นแนวทางที่มีความยืดหยุ่นสูง หมายความว่า จะไม่ใช่เป็นต้นแบบ (Model) ที่ตายตัว ตรงกันข้ามเป็นแนวทางที่ปรับตัวเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เงื่อนไข สิ่งแวดล้อมของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละท้องที่มีความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นแนวทางที่สามารถปรับเปลี่ยนได้เสมอ จึงได้เรียกวิธีการ/กระบวนการนี้อย่างหลวมๆ ตามลักษณะสำคัญที่เป็นเรื่องของชุมชนว่า “กระบวนการพัฒนา
ชุมชนแบบมีส่วนร่วมด้วยวิธีธรรมชาติ” หลักการสำคัญของ NAPD เป็นเรื่องของผู้คนที่อยู่กับปัญหามาร่วมมือร่วมใจกับฝ่ายที่เป็นนักพัฒนา แล้วใช้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นวิธีคิด วิธีค้นหาความจริง วิธีวิเคราะห์ วิธีระดมทรัพยากร วิธีต่อรอง วิธีจัดการกับข้อขัดแย้ง ฯลฯ ที่มีพื้นฐานจากท้องถิ่น จากธรรมชาติของปัญหา ธรรมชาติของผู้คนที่อยู่ในกระบวนการ ทั้งนี้ก็เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีหลักการสำคัญ 2 ประการ คือ 1) ความชัดเจนและมั่นคงในวัตถุประสงค์ และ 2) ให้ความสำคัญต่อปรากฏการณ์ตามธรรมชาติของปัญหาและคนที่อยู่กับปัญหา
สำหรับวนอุทยานเขาหลวง จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2539 มีเนื้อที่ 59,375 ไร่ ในเขตรอยต่อของจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดอุทัยธานี พื้นที่วนอุทยานเขาหลวงปรากฏในแผนที่สภาพภูมิประเทศของกรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1:50,000 ลำดับชุด (Series) ที่ L 7017 ระวาง (Sheet) ที่ 4940 II อยู่ระหว่างเส้นแวง (Longitude) ที่ 59 องศา 7 ลิบดา ถึง 60 องศา 3 ลิบดาตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง จังหวัดนครสวรรค์ และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลงสอง จังหวัดอุทัยธานี โดยอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ ในท้องที่ตำบลวังม้า และตำบลหนองยาว ของอำเภอลาดยาว ตำบลหนองกรด ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ ตำบลบางประมุง ตำบลนากลาง ตำบลศาลาแดง และตำบลเนินศาลา ของอำเภอโกรกพระ และในเขตการปกครองของจังหวัดอุทัยธานี ในท้องที่ตำบลหนองหลวง ของอำเภอสว่างอารมณ์ และตำบลโคกหม้อ ของอำเภอทัพทัน วนอุทยานเขาหลวง มีที่ทำการตั้งอยู่ที่หมู่ 15 บ้านผาแดง ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์มีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งวนอุทยานคือ
1.เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำลำธารและทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยาน โดยเฉพาะด้านป่าไม้และสัตว์ป่า ให้คงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป
2.เพื่อศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิจัยทางด้านวิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยาน
3.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางธรรมชาติด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์ในรูปแบบการฝึกอบรม การทัศนศึกษา และการเข้าค่ายพักแรมของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนโดยทั่วไป
4.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนโดยทั่วไป รองรับนโยบายการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดใกล้เคียงต่อไปในอนาคต
จากการทบทวนงานวิจัยมีข้อค้นพบดังนี้
สุชัย หรดี (2547) ได้ทำการศึกษาการมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พบว่าการมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ จึงจะต้องมีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมโดยด่วน และปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของราษฎรในการอนุรักษ์อุทยานคือ อาชีพหลักที่ทำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม การรับรู้ข่าวสาร ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายของราษฎร และความคิดเห็นที่มีต่อเจ้าหน้าที่
สุขขี คำนวณศิลป์ (2550) ได้ทำการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของการมีส่วนร่วมประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีผลการวิจัย พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกรายการ ส่วนระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางสำหรับการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า การมีส่วนร่วมแตกต่างกันตามระดับการศึกษา แหล่งข้อมูลข่าวสาร และจำนวนครั้งที่ได้รับข่าวสาร สำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ด้านภูมิลำเนา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน ประเภทกิจการ การเป็นสมาชิกกลุ่มชุมชนไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีคือ ขาดบุคลากรในการนำเสนอผลการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ขาดการเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่และหน่วยงานอื่น เจ้าหน้าที่ขาดปัจจัยหลาย ๆ ด้าน และการประชาสัมพันธ์ไม่ดีเท่าที่ควร สำหรับข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีผลต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ ควรส่งเสริมให้เยาวชนมีจิตสำนึกและรู้จักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้อุทยานฯ สดชื่น สะอาด น่าอยู่อย่างยั่งยืน และประชาชนรู้คุณประโยชน์ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควรส่งเสริมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ทุกคน มีส่วนร่วม ในการอนุรักษ์ฯ ควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ให้มากกว่านี้ และควรมีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์อย่างทั่วถึง
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การวิจัยนี้ ได้เริ่มโดยการศึกษาลักษณะเศรษฐกิจชุมชนที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตจังหวัดนครสวรรค์ และนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้ให้กับชุมชนต่อไปในอนาคต จากนั้นหาแนวทางในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้เป็นแหล่งรายได้ใหม่ให้กับชุมชน และหาแนวทางในการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่มีอยู่เดิมโดยการสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงหาแนวทางในการลดต้นทุนโดยให้มีการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชน |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 739 ครั้ง |