รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000164
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A Development of Health Promotion Activities Model for Aging in Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :500000
งบประมาณทั้งโครงการ :500,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กลุ่มวิชาการ :เทคนิคการแพทย์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่อยู่ในสังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ซึ่งขณะนั้น ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 10.4 ของประชากรทั้งหมด สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พยากรณ์โครงสร้างประชากรไทยกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุว่า “ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุถึง 1 ใน 4 ของประชากรและเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ ภายในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2551-2571 สัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.1 เป็นร้อยละ 23.5 หรือ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งประเทศ” จากการที่สัดส?วนของผู?สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย?างรวดเร็วส?งผลให?ลักษณะการพึ่งพาทาง เศรษฐกิจและการเกื้อหนุนทางสังคมระหว?างประชากรวัยต?างๆ เปลี่ยนแปลงไป ศักยภาพของวัยแรงงานในการสนับสนุนผู?สูงวัยลดลง ในส?วนของผู?สูงวัยเองก็มีแต?ภาวะเสื่อมถอยทั้งทางร?างกายและจิตใจ และยิ่งมีอายุยืนยาวมากขึ้น ความเสื่อมถอยยิ่งมีมากขึ้นเป?นลําดับ โอกาสการเผชิญกับภาวการณ์เจ็บป่วย และการช่วยเหลือตัวเองได?น้อยลงมีมากขึ้นกว?าวัยอื่นๆ จากผลสํารวจของสํานักงานสถิติแห?งชาติ 3 ครั้ง คือในป? พ.ศ. 2537, พ.ศ. 2545 และครั้งล?าสุดปี พ.ศ. 2550 พบว?าผู?สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.7 โดยเป?นชายร้อยละ 44.6 และเป?นหญิง ร?อยละ 55.4 และในการสำรวจครั้งนี้พบว่าจากการให?ผู?สูงอายุประเมินภาวะสุขภาพทั่วๆไปโดยรวมของตนเองในระหว?าง 7 วันก่อนวันสัมภาษณ?พบว?า ผู้สูงอายุทำการประเมินว?าตนเองมีสุขภาพดี ถึงร?อยละ 43.0 รองลงมา มีสุขภาพปานกลางคิดเป็น ร้อยละ 28.9 มีสุขภาพไม?ดีคิดเป็น ร?อยละ 21.5 มีสุขภาพไม?ดีมากๆ คิดเป็น ร?อยละ 2.8 และมีเพียงร?อยละ 3.8 ที่ประเมินว?าตนเองมีสุขภาพดีมาก และผู?สูงอายุเป?นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 31.7 รองลงมา เป?นโรคเบาหวานร?อยละ 13.3 โรคหัวใจร?อยละ 7.0 เป?นโรคอัมพาต/อัมพฤกษ? ร?อยละ 2.5 โรคหลอดเลือดในสมองตีบ ร?อยละ 1.6 และโรคมะเร็ง ร?อยละ 0.5 ตามลำดับ สำหรับในด้านพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ พบว่า ผู?สูงอายุ ร?อยละ 41.1 ออกกําลังกาย เป็นประจํา (อย?างน?อย 3 ครั้ง/สัปดาห์) ผู?สูงอายุร?อยละ 63.1 รับประทานผักสดและผลไม?สดเป?นประจํา ร?อยละ 48.3 ได?รับการตรวจสุขภาพในรอบป? และเป็นที่น?าวิตกคือ มีผู?สูงอายุกลุ?มหนึ่งที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต?อการที่จะเป?นผู?สูงอายุที่ช?วยเหลือตนเองไม?ได?ในอนาคต คือ เคี้ยวหมากเป็นประจำ ร?อยละ 16.5 สูบบุหรี่เป?นประจํา ร?อยละ12.6 และดื่มสุราเป็นประจำ ร?อยละ 3.0 และจากข้อค้นพบของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังได้เสนอแนะไว้ว่าถ?าผู?สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ดี รับประทานผักสดและผลไม?สดเป็นประจำ หมั่นออกกําลังกายอย?างสม่ำเสมออย?างน?อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ (วันละไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว) และไม?เครียด สิ่งเหล?านี้จะนําไปสู?การเป?นผู?สูงอายุมีสุขภาพที่ดีได้ ในแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ การหาวิธีดูแลผู้สูงอายุมิให้เจ็บป่วย มีสมรรถภาพทางกายที่เหมาะสม ตามสภาพของผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย เพื่อป้องกันการมีภาวะทุพพลภาพระยะยาว และลดการพึ่งพิง การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุมีหลายวิธี เช่น การส่งเสริมให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อยู่ในสถานที่ปลอดภัย ตลอดจนมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นกลวิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีขึ้น ไม่เหนื่อยง่าย เพิ่มสมรรถนะการทำงานของปอดและหัวใจ เพิ่มความคงทนของการทำกิจกรรม ท่าทางและอิริยาบถต่าง ๆ ของการออกกำลังกายจะเป็นกิจกรรมที่ฝึกการเคลื่อนไหว การทรงตัวขณะเปลี่ยนท่าและหากมีการออกกำลังหรือการฝึกซ้ำเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยาวมากขึ้น และเป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อแต่ละมัดให้ดีขึ้น การทำงานของระบบร่างกายมีความสมดุล โดยเฉพาะระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นดี กระดูกและข้อมีความแข็งแรง สามารถควบคุมความสมดุลของร่างกาย (ธนวัลย์ เตชทรัพย์อมร สุรีย์ อุทัยคุปต์ และณัฐณิชา ขันคำ, 2545 อ้างถึงใน เกสร มณีวรรณ, 2550) นอกจากนั้นยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุได้กำหนดมาตรการส่งเสริม สุขภาพ ป้องกันการเจ็บป่วยและดูแลตนเองเบื้องต้น โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบ ที่หลากหลายและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ซึ่งการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุมีอยู่หลายวิธี โดยเฉพาะการออกกำลังกายที่สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ แต่การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้นก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย อาจเนื่องมาจากรูปแบบการออกกำลังกายดังกล่าวไม่มีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ จึงไม่เกิดความต่อเนื่องและไม่สามารถเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ จึงสามารถตอบสนองการส่งเสริมสมรรถภาพของผู้สูงอายุของแต่ละวิถีชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น (แผนกลยุทธ์สํานักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ (สทส.)ปี พ.ศ.2556–2559) จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,069,449 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ.2554) ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุประมาณ 933,228 คน (ข้อมูล ณ ปีงบประมาณ 2556 , โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล/pcuจังหวัดนครสวรรค์) ทำให้จังหวัดนครสวรรค์กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “ประชากรสูงอายุ (Population aging)” คือการมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 ประชากรทั้งหมด (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2547) ด้วยสาเหตุของการเพิ่มประชากรผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความตื่นตัว ของผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนที่เล็งเห็นถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การมีหลักประกันและมีสุขภาพที่ดี ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและองค์กรผู้สูงอายุ จำนวน 31 ชมรม ตั้งอยู่ในทุกอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ 13 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง อำเภอโกรกพระ อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอท่าตะโก อำเภอหนองบัว อำเภอไพศาลี อำเภอลาดยาว อำเภอแม่วงก์ อำเภอตากฟ้า และอำเภอตาคลี ซึ่งในแต่ละชมรมต่างก็รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจและข้อตกลงของกลุ่ม ซึ่งอาจจะไม่ตอบสนองให้การทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนั้นเกิดผลดีได้ จากการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ(Pender, 2002 อ้างถึงใน ชลธิชา จันทคีรี, 2549) พบว่าการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลายประการได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล การจูงใจตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งหากมีการศึกษาถึงปัจจัยที่จะสนับสนุนการปฏิบัติตนในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ สมรรถภาพทางร่างกายและแนวทางการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในพื้นที่ที่แตกต่างกัน หรือสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน ก็จะนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป ส่งผลให้ผู้สูงอายุสามารถดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ตามศักยภาพ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 3 เพื่อสร้างรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์ 4 เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1 ด้านพื้นที่ พื้นที่ในการวิจัยครั้งนี้ ทำการศึกษาในเขต 13 อำเภอของจังหวัด นครสวรรค์ 2 ประชากร ได้แก่ ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ตั้งอยู่ใน 13 อำเภอของ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 9,854 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่สมัครใจเป็นกลุ่มตัวอย่างโดยการยินยอมทดสอบ สมรรถภาพและให้ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินชีวิต จำนวน 1,957 คน ซึ่งกำหนดตามตารางของ Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 2% และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุที่ยินยอมเข้าร่วมการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน 3 ด้านเนื้อหา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ รูปแบบการ ดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ และรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิด ความแตกต่างของสมรรถภาพทางกาย รูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ทำให้ได้รูปแบบที่สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ 2 จากการดำเนินการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือในสภาพปัจจัยทางการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันได้ 3 การดำเนินการตามรูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จะส่งผลให้ ผู้สูงอายุมีสมรรถภาพทางกายที่ดีขึ้น มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี อันจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการรักษาตนเอง สามารถดูแลตนเองได้และลดการพึ่งพิงผู้อื่น 4 ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ นำไปสู่แนวทางการพัฒนา สังคมผู้สูงอายุที่สามารถบูรณาการกับองค์ความรู้ในด้านการพัฒนาสังคมทุกวัยโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :478 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางพรรณราย เทียมทัน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายชาคริสต์ ภาคสุนทร บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด