รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000162
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM (Effective Microorganisms) ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Using Live Yeasts with Effective Microorganisms in culture of quality fairy shrimp (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan and Murugan)
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :323000
งบประมาณทั้งโครงการ :323,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรประมง
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ไรน้ำนางฟ้าสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าทดแทนอาร์ทีเมีย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเราต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมีย เนื่องจากในประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงหาสัตว์น้ำตัวอื่นเพื่อทดแทน (นุกูลและละออศรี, 2547) ในปัจจุบันนี้สามารถนำไข่ไรน้ำนางฟ้าไปเพาะเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตจนสามารถส่งขายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้ในราคาสูง อีกทั้งความสามารถพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า และสามารถส่งขายในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาและขยายตลาดอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ปัจจุบันพบว่าสาหร่ายคลอเรลลาที่เป็นอาหารที่มีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า แต่สาหร่ายคลอเรลลาไม่สามารถเลี้ยงได้ในบางฤดูกาลโดยเฉพาะในฤดูฝน และบางช่วงของฤดูหนาว ทำให้การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไม่ประสบความสำเร็จ มีการศึกษาการใช้อาหารสำเร็จรูปเพื่อทดแทนสาหร่ายคลอเรลลา แต่การใช้อาหารสำเร็จรูปยังส่งผลต่อคุณภาพน้ำเนื่องจากเป็นอาหารไม่มีชีวิตทำให้เกิดการสะสมของเสียเมื่อเลี้ยงไรน้ำในระยะเวลานานขึ้น แต่การใช้ยีสต์มีชีวิตในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้านี้ สามารถเพาะยีสต์ได้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 1 วันอีกทั้งมีราคาถูก และเป็นการใช้ประโยชน์จากของเสียโรงงานน้ำตาล เพราะอาหารที่ให้ยีสต์คือ กากน้ำตาล ได้มีการศึกษาวิจัยการใช้ยีสต์มีชีวิตในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าพบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดีและได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ แต่พบว่าสีของไรน้ำนางฟ้าไทยที่ได้มีสีซีดและไม่สดเหมือนกับที่เลี้ยงด้วยคลอเรลลา และอีกปัญหาที่พบคือคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยมีแอมโมเนียและไนไตร์ทที่สูงขึ้นเมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าเป็นเวลานานขึ้น ดังนั้นในการวิจัยนี้ต้องการจะศึกษา การใช้ยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM ในการผลิตไรน้ำนางฟ้าไทยคุณภาพ นอกจากจุลินทรีย์ EM จะแก้ไขปัญหาน้ำเสียแล้ว ยังช่วยเป็นอาหารให้แก่ไรน้ำอีกทางหนึ่ง และมีการศึกษาคุณภาพของไรน้ำ โดยการเปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยอาหารดังกล่าวว่าให้ผลใกล้เคียงกับที่เลี้ยงด้วย คลอเรลลาที่มีผู้ศึกษาก่อนหน้านี้หรือไม่ หากงานวิจัยนี้สำเร็จจะเป็นประโยชน์แก่นักเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่ต้องการอาหารมีชีวิตที่มีคุณภาพ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ๆ ที่จะสามารถผลิตไรน้ำนางฟ้าคุณภาพสูงไว้ใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำสวยงามได้อีกทางหนึ่ง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายและผลผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 2 เพื่อศึกษาคุณค่าโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 3 เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM 4 เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของไรน้ำนางฟ้าต่อปลาทอง
ขอบเขตของโครงการ :เป็นการศึกษา การเจริญเติบโต อัตราการรอดตาย และผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตร่วมกับจุลินทรีย์ EM และคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณแคโรทีนอยด์ของไรน้ำนางฟ้าไทยต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพสีของปลาทอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับไรน้ำนางฟ้าในประเทศไทยในอดีตเป็นเรื่องที่มีการศึกษากันน้อย เนื่องจากไม่เป็นที่รู้จักและไม่สามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่จะพบได้เฉพาะช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น ส่วนใหญ่สนใจที่จะศึกษาเฉพาะไรน้ำเค็มหรืออาร์ทีเมียเนื่องจากนิยมนำตัวอ่อนมาใช้ในการเพาะเลี้ยงและอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนเช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา โดยเฉพาะปลาทะเล ในการอนุบาลและเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดพบว่าตัวอ่อนเหล่านี้จะสามารถอยู่รอดในน้ำจืดได้เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น (Wallace and Snell, 1991) แต่เมื่อมีการค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดแรกของประเทศไทย และเป็นชนิดแรกของโลกในปี พ.ศ. 2541 คือ ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร (Streptocephalus sirindhornae ; Sanoamuang et al., 2000) ที่จังหวัดหนองบัวลำภู (ละออศรี, 2541) ได้จุดประกายความหวังต่อวงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความต้องการอาหารธรรมชาติที่จะมาทดแทนอาร์ทีเมียซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ปัจจุบันความสามารถในการผลิตอาร์ทีเมียกลับลดลงส่งผลให้ราคาสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้กลับสูงมากทุกปี ในปี พ.ศ. 2542 มีการค้นพบไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลกอีก 2 สปีชีส์ คือ ไรน้ำนางฟ้าไทยและไรน้ำนางฟ้าสยาม ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยพบไรน้ำนางฟ้า 3 สปีชีส์ นอกจากนี้ยังพบว่าไรน้ำนางฟ้าทั้ง 3 สปีชีส์นี้จัดเป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่น (endemic species) ในประเทศไทยเท่านั้น (ละออศรีและคณะ, 2542) ไรน้ำนางฟ้านอกจากจะเป็นอาหารธรรมชาติของสัตว์น้ำแล้วชาวอีสานยังนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารที่ให้โปรตีนสูง รู้จักกันในชื่อแมงหางแดง แมงเหนี่ยวแมงน้ำฝน ฮวกขอ ฯลฯ ทั้งนี้พบว่าไรน้ำนางฟ้าไทยมีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการอื่น ๆ สูงเหมาะสมกับใช้เลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเพื่อใช้ในการเร่งสีได้อีกด้วย ดังที่ สมปองและสมฤดี (2548) ทำการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนและส่วนประกอบของกรดอะมิโนในไรน้ำนางฟ้าสิรินธรและไรน้ำนางฟ้าไทย พบว่าไรน้ำนางฟ้าทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณโปรตีนสูงขึ้นตามช่วงอายุ โดยวัดปริมาณโปรตีนที่พบในไรน้ำนางฟ้าอายุ 7 วันและ 21 วัน ไรน้ำนางฟ้าสิรินธรมีโปรตีน 0.58 และ 1.30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 0.1 กรัม ตามลำดับ ส่วนไรน้ำนางฟ้าไทยมีปริมาณ โปรตีน 0.75 และ 1.31 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 0.1 กรัมตามลำดับ และจากการหาส่วนประกอบของกรดอะมิโนด้วย HPLC ในไรน้ำนางฟ้าสิรินธรมีกรดอะมิโนจำเป็น และกรด อะมิโนไม่จำเป็นเป็นองค์ประกอบทั้งหมด 18 ชนิด ไรน้ำนางฟ้าไทยมี 19 ชนิด โดยกรดอะมิโนชนิดจำเป็นที่พบมากที่สุดในไรน้ำนางฟ้าสิรินธร คือ Lysine 9.61 เปอร์เซ็นต์ และไรน้ำนางฟ้าไทย คือ Methionine 15.27 เปอร์เซ็นต์ กรดอะมิโนชนิดที่ไม่จำเป็นที่พบมากที่สุดในไรน้ำนางฟ้าสิรินธร และไรน้ำนางฟ้าไทยคือ Glutamine 16.28 และ 14.42 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ในไรน้ำนางฟ้าไม่พบ Cysteine นอกจากนี้พบว่า ไรน้ำนางฟ้ามีความสำคัญในด้านการเป็นอาหารมีชีวิตซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง จากการวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้าไทยที่เลี้ยงด้วยคลอเรลลาของ Dararat et al. (2012) พบว่ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 64.65 ปริมาณคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 16.24 ปริมาณไขมันร้อยละ 7.57 ความชื้นร้อยละ 90.22 เถ้าร้อยละ 6.42 เยื่อใยร้อยละ 5.12 และมีปริมาณแคโรทีนอยด์เท่ากับ 254.41 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง ขณะที่การศึกษาของ นุกูลและละออศรี (2547) พบว่าไรน้ำนางฟ้ามีปริมาณโปรตีนร้อยละ 64.94 ปริมาณคาร์โบไฮเดรทร้อยละ 17.96 ปริมาณไขมันร้อยละ 5.07 เถ้าร้อยละ 8.40 นอกจากนั้นยังพบสาร Canthaxanthine ซึ่งเป็นรงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์ในไรน้ำนางฟ้าเป็นจำนวนมาก (Murugan et al., 1995) ทำให้ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์ที่มีศักยภาพในการนำมาเป็นอาหารของสัตว์น้ำจืด โดยเฉพาะกลุ่มของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งขาวแวนาไม ปลานิล ปลาสวาย ปลาบู่ และกลุ่มปลาสวยงามที่มีราคาแพง เช่น ปลาหมอสี (ละออศรีและคณะ, 2549) ปลาทอง และปลาคาร์ฟ (Latcha, 1990) ลักษณะการกินของไรน้ำนางฟ้าไทยคือการกรองกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าปากได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายขนาดเล็ก โปรโตซัว และโรติเฟอร์ นอกจากอาหารดังกล่าวมีการศึกษาปริมาณสาหร่ายคลอเรลลา รำละเอียด และสไปรูลินาผง ซึ่งการใช้อาหารผสมทั้ง 3 ชนิดร่วมกัน มีผลให้ไรน้ำนางฟ้ามีอัตราการรอดตายสูงกว่าที่สัดส่วนอื่น (Saengphan, 2005) มีการใช้อาหารผงซึ่งมีส่วนประกอบสาหร่ายสไปรูลินาผง 50% ปลาป่น 40% เบตากลูแคน 9% และ วิตามินซี 1% (โฆษิตและคณะ, 2553) นอกจากนี้มีการใช้น้ำหมักชีวภาพ และยีสต์เป็นอาหารแก่ไรน้ำนางฟ้า (โฆษิตและละออศรี, 2550) ซึ่งสอดคล้องกับจิตติมาและจิตรา (2555) ได้เลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยคลอเรลลาและมีการใส่ EM พบว่าการใช้ EM ที่ระดับ 1.2 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตรทุกสัปดาห์ ในการเลี้ยงไรน้านางฟ้าไทยมีแนวโน้มที่ช่วยให้แอมโมเนียในน้ำลดลงและไรน้ำนางฟ้าไทยมีการเจริญเติบโตดีขึ้น จะเห็นได้ว่าการใช้น้ำยีสต์และน้ำหมักชีวภาพเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าในปริมาณที่เหมาะสมมีผลดีต่ออัตราการเจริญเติบโตของไรน้ำนางฟ้า ในทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีการใช้จุลินทรีย์ EM (effective microorganisms) กันอย่างแพร่หลายเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงที่มีการให?อาหารในปริมาณมากและเกิดการขับถ่ายของสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังพบว่า การใช้ EM เป็นโปรไบโอติกผสมในอาหารสำหรับเลี้ยงปลาเพื่อเพิ่มผลผลิตในการย่อยสลายสารอินทรีย์ภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจะมีจุลินทรีย์หลายชนิด ได้แก่ พวกแบคทีเรีย และเชื้อราที่ไม่เป็นตัวก่อโรคหรือไม่สามารถสร้างสารพิษหรือสารปฏิชีวนะได้ในระดับที่มีความเข้มข้นสูง (Moore et al., 1996; Fabiano L. et al, 1998) สมบัติ (2549) ได้ศึกษาอิทธิพลของอัตราปล่อยและจุลินทรีย์ EM ต่อการอนุบาลลูกปลาโมง พบว่าจุลินทรีย์ EM สามารถลดปริมาณแอมโมเนียและไนไตร์ทได้ ส่วนจามรี (2554) ได้ใช้ EM ในการบำบัดคุณภาพน้ำเพื่อเลี้ยงอาร์ทีเมียความหนาแน่นสูง พบว่า สามารถลดปริมาณไนไตร์ทได้ที่เหมาะสมโดยใช้ EM ขยาย 1 มิลลิลิตรต่อการเลี้ยง อาร์ทีเมีย 1 ลิตร นอกจากนี้ยังมีการใช้จุลินทรีย์ EM เป็นโปรไบโอติกในอาหารสัตว์น้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยอีกด้วย (รัตนสุดา, 2554) นอกจากนี้มีรายงานการใช้จุลินทรีย์ในการอนุบาลและเลี้ยงกุ้งรวมถึงปลาที่หนาแน่นด้วย (Fabiano L. et al., 1998; Jaap R., 1995; เจริญและคณะ, 2551) ยีสต์ขนมปัง (Baker’ s yeast) ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ Saccharomyces cerevisae ประกอบด้วย โปรตีนร้อยละ 43.51?0.39 ไขมันร้อยละ 0.74?0.04 พลังงาน 4,645.57?14.61 kcal/kg เยื่อใยร้อยละ 2.81?0.49 เถ้าร้อยละ 5.06?0.06 (ยิ่งลักษณ์และปรีชา, 2554) เป็นจุลินทรีย์โปรไบไอติคชนิดหนึ่งที่นิยมเติมในอาหารสัตว์เพื่อช่วยให้วัตถุดิบอาหารสัตว์มีคุณภาพดีขึ้น และช่วยสร้างสารปฏิชีวนะธรรมชาติจึงสามารถนํามาใช้ในอาหาร สัตว์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการเจริญเติบโตของสัตว์อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากสามารถลดปริมาณการใช้ยาและสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการเจริญเติบโต ทําให้มียาและสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์สัตว์ (Cheeke, 1999; Dolye, 2007) ในสัตว์น้ำมีการนำยีสต์มาผสมในอาหารกบ ดังรายงานของ อนุวัติและคณะ (2551) ประสิทธิภาพของยีสต์ในอาหารกบนาโดยการเสริมยีสต์ในอาหารทดลอง 4 ระดับ คือ 0, 2, 4 และ 6 เปอร์เซ็นต์ อาหารทดลองมีโปรตีนในอาหาร 35 เปอร์เซ็นต์ และพลังงานรวม (gross energy, GE) 450 กิโลแคลอรีต่ออาหาร 100 พบว่ากบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ มีค่าดีที่สุด ในด้านของน้ำหนักสุดท้าย (178.52 กรัม) น้ำหนักเพิ่มต่อวัน (1.72 กรัมต่อตัวต่อวัน) อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (2.96 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน) ประสิทธิภาพของโปรตีน (1.75) ประสิทธิภาพของอาหาร (0.62) และอัตราแลกเนื้อ (1.62) และมีค่าดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเทียบกับกบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ 0 และ 2 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามอัตราการกินอาหาร ปริมาณอาหารที่กิน ปริมาณโปรตีนที่กิน และอัตรารอดของกบนาทุกชุดการทดลองมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) จากการทดลองสามารถสรุปได้ ว่าการเสริมยีสต์ 4 เปอร์เซ็นต์ในอาหารเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกบนา ส่วน Li and Gatlin (2005) รายงานว่าปลา hybrid striped bass (Morone chrysops?M. saxatilis) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมยีสต์ Brewtech? (Saccharomyces cerevisiae) 2 เปอร์เซ็นต์ มีการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพของอาหารสูงกว่าและมีความต้านทานสิ่งแปลกปลอมที่เป็นเชื้อโรคได้ดีกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ไม่เสริมยีสต์ สอดคล้องกับ Essa et al. (2011) ที่ได้เลี้ยงปลา African cat?sh (Clarias gariepinus) ที่เสริมยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae) 2 เปอร์เซ็นต์ ให้น้ำหนักตัว อัตราการรอดตาย และส่งผลต่อผลิตดีที่สุดเมื่อเทียบกับเสริมยีสต์ 0, 1.5 และ 1 เปอร์เซ็นต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับ Hoseinifar et al. (2011) ที่เลี้ยงปลา beluga (Huso huso) เสริมยีสต์ 2 เปอร์เซ็นต์ ให้อัตราการเจริญเติบโตดีที่สุดเมื่อเทียบกับการเสริมยีสต์ในปริมาณอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมี Ogier de Baulny et al. (1996) รายงานว่าปลา turbot (Scophthalmus maximus) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมสารสกัดจากยีสต์ (?-glucan) ทำให้ปลามีปริมาณเม็ดเลือดขาวสูงขึ้น และกระตุ้นให้ปลาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมได้สูงกว่าปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารไม่เสริมสารสกัดจากยีสต์แสดงให้เห็นว่า การเสริมยีสต์ในอาหารสัตว์น้ำนอกจากมีผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นแล้วยังสามารถช่วยกระตุ้นหรือส่งเสริมให้มีระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :เกษตรยังขาดความรู้เพื่อพัฒนาการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า อีกทั้งยังขาดเทคนิคและวิธีการการเลี้ยงเพื่อให้เกิดความหลากหลายด้านการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย งานวิจัยนี้จะเป็นทางเลือกให้เกษตรสามารถเลือกวิธีการเลี้ยงไปประยุกต์ใช้เพื่อความเหมาะสมในพื้นที่ของตน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :3134 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจามรี เครือหงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวสุรภี ประชุมพล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายปริญญา พันบุญมา บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด