รหัสโครงการ : | R000000161 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | พิษเฉียบพลันของแอมโมเนีย ไนไตรท์และอิทธิพลของความเค็มต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Acute Toxicity of Ammonia Nitrite and Effect of Salinity to Thai Fairy Shrimp (Branchinella thailandensis Sanoamuang, Saengphan & Mururan) of different ages |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 70000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 70,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 19 พฤศจิกายน 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 18 พฤศจิกายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | เกษตรศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | ทรัพยากรประมง |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ไรน้ำนางฟ้าเป็นสัตว์น้ำจืดชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันนี้ไรน้ำนางฟ้าสามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม สามารถเพาะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้าทดแทน อาร์ทีเมีย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยเราต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมียเพื่อมาเลี้ยงลูกกุ้งลูกปลา รวมทั้งสัตว์น้ำวัยอ่อนจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 200-600 ตัน มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท และที่ต้องนำเข้าไข่อาร์ทีเมีย เนื่องจากในประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการ จึงหาสัตว์น้ำตัวอื่นเพื่อทดแทน (ละออศรีและนุกูล, 2547) ในปัจจุบันนี้สามารถนำไข่ไรน้ำนางฟ้าไปเพาะเลี้ยงและเพิ่มผลผลิตจนสามารถส่งขายให้กับธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้ในราคาสูง อีกทั้งความสามารถพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า และสามารถส่งขายในตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่ดีในการพัฒนาและขยายตลาดอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ปัจจุบันพบว่าสาหร่ายคลอเรลลาที่เป็นอาหารที่มีชีวิตที่เหมาะสมที่สุดในการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า แต่สาหร่ายคลอเรลลาไม่สามารถเลี้ยงได้ในบางฤดูกาลโดยเฉพาะในฤดูฝน และบางช่วงของฤดูหนาว และกระบวนการผลิตคลอเรลลายังจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและกระบวนการขับถ่ายของเสียของไรน้ำนางฟ้าทำให้เกิดพิษจำพวกแอมโมเนียและไนไตร์ท ซึ่งหากมีแอมโมเนียและไนไตร์ทจำนวนมากจะทำให้ไรน้ำนางฟ้าไทยวัยอ่อนตายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และมีรายงานว่าแอมโมเนียรวมไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตรและไนไนไตรท์ไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตรเหมาะสำหรับการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า (นุกูลและคณะ, 2549) แต่ยังไม่มีการศึกษาว่าแต่ละช่วงอายุที่เกษตรต้องเลี้ยงจะต้องมีค่าเท่าใดที่จะไม่ทำให้ไรน้ำนางฟ้าไทยตายได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งจากการวิจัยของ จามรีและปริญญา (2555) ที่ได้ทดลองเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยด้วยยีสต์มีชีวิตทดแทนคลอเรลลาซึ่งพบว่า คลอเรลลาที่ได้จากการหมักของปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ส่งผลต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำในช่วงแรกฟัก ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงต้องการศึกษา พิษเฉียบพลันของแอมโมเนียและไนไตรท์ต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้แก่เกษตรกรใช้ในการจัดการคุณภาพน้ำสำหรับการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อศึกษาความสามารถทนความเค็มของไรน้ำนางฟ้าไทยเพื่อพัฒนาการใช้ไรน้ำนางฟ้าไทยในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเล โดยเฉพาะธุรกิจการเลี้ยงกุ้งในอนาคต |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพิษเฉียบพลันของแอมโมเนียและไนไตร์ทต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน
2 เพื่อศึกษาอิทธิพลความเค็มต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน
3 เพื่อประมาณค่าระดับความเข้มข้นที่ปลอดภัยของแอมโมเนียไนไตรท์และความเค็มต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน
|
ขอบเขตของโครงการ : | เป็นการศึกษาพิษเฉียบพลันของแอมโมเนีย ไนไตรท์และอิทธิพลความเค็มต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน เพื่อให้แก่เกษตรกรใช้ในการจัดการคุณภาพน้ำสำหรับการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทราบถึงความสามารถทนความเค็มของไรน้ำนางฟ้าไทยเพื่อพัฒนาการใช้ไรน้ำนางฟ้าไทยในธุรกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเล โดยเฉพาะธุรกิจการเลี้ยงกุ้งในอนาคต |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ปัจจุบันไรน้ำนางฟ้าเป็นอาหารมีชีวิตที่กำลังไดรับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นอาหารมีชีวิตที่มีคุณค่าทางอาหารสูงเนื่องจากมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งตัวเต็มวัยมีโปรตีนร้อยละ 64-69 (นุกูลและคณะ, 2549) ขณะที่อาร์ทีเมียมีโปรตีนร้อยละ 56 เท่านั้น (อนันต์และคณะ, 2536) เมื่อนำมาเลี้ยงปลาสวยงามจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว นอกจากนี้ไรน้ำนางฟ้าไทยยังมีส่วนประกอบของสารเบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) สาร Canthaxanthine ซึ่งเป็นรงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์ในไรน้ำนางฟ้าเป็นจำนวนมาก (Murugan et al., 1995) ปริมาณสูง ช่วยเร่งสีทำให้ปลามีสีสันสวยงาม การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยสามารถนำมาใช้ทดแทนอาร์ทีเมียได้ ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าไข่ อาร์ทีเมียจากต่างประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ 500 ล้านบาท โดยสามารถนำไรน้ำนางฟ้าไทยมาใช้เป็นอาหารในการอนุบาลกุ้งกุลาดำ กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม และปลาสวยงาม เช่น ปลาหมอสี เป็นต้น การเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทยสามารถสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ที่สนใจด้านการเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อน ไรน้ำนางฟ้าไทยเป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงาม ใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาด้านพิษวิทยา นำไปบำบัดน้ำเสียในฟาร์มเลี้ยงสัตว์และโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตร (นุกูลและละออศรี, 2547) ปัจจุบันคลอเรลล่าเป็นอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า ซึ่งการผลิตคลอเรลล่าส่วนใหญ่นิยมใช้สูตรปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) และปุ๋ยนา (16-20-0) ซึ่งปุ๋ยเคมีดังกล่าวมีผลทำให้แอมโมเนียในน้ำเลี้ยงคลอเรลล่ามีค่าสูงซึ่งเป็นอันตรายต่อไรน้ำนางฟ้าไทย พิษดังกล่าวนี้มีรายงานการศึกษาในสัตว์น้ำหลายชนิด เช่นเดียวกับอุษาและคณะ (2531) ได้รายงานพิษของแอมโมเนียและไนไตร์ทต่ออาร์ทีเมียหรือไรน้ำเค็ม ซึ่งเป็นอาหารมีชีวิตเช่นเดียวกับไรน้ำนางฟ้า พบว่าระดับความเข้มข้นที่ทำให้อาร์ทีเมียตายร้อยละ 50 ภายในเวลา 48 ชั่วโมงแตกต่างกันคือ ที่ระดับความเค็ม 30, 70, 110 และ 150 ส่วนในพัน พิษของแอมโมเนียมีค่าเท่ากับ 26.00, 57.90, 65.00 และ 86.50 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ ส่วนพิษของไนไตร์ทต่ออาร์ทีเมีย ที่ระดับ 30, 70, 110 และ 150 ส่วนในพัน มีค่าเท่ากับ 40.00, 76.00, 90.00 และ 91.00 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ และระดับความเข้มข้นที่ปลอดภัยของแอมโมเนียที่ระดับความเค็ม 30, 70, 110 และ 150 ส่วนในพัน มีค่าเท่ากับ 0.26, 0.58, 0.65 และ 0.87 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ ส่วนไนไตร์ทค่าความปลอดภัยเท่ากับ 0.40, 0.76, 0.90 และ 0.91 มิลลิกรัมต่อลิตรตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าใกล้เคียงกับค่าคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียในบ่อดินที่วัดค่าแอมโมเนียได้สูงสุดเท่ากับ 0.383 มิลลิกรัมต่อลิตร แต่สำหรับไรน้ำนางฟ้าไทย มีค่าแอมโมเนียรวมไม่เกิน 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร (นุกูลและคณะ. 2549) และเมื่อนำมาคำนวณหาค่าแอมโมเนียโดยคิดที่ ความเป็นกรดเป็นด่าง 7 และอุณหภูมิที่ 28 องศาเซลเซียส จะได้ค่าแอมโมเนียเท่ากับ 1.05 มิลลิกรัมต่อลิตรซึ่งเป็นค่าที่สูงกว่าอาร์ทีเมีย (0.87 มิลลิกรัมต่อลิตรที่ระดับความเค็ม 150 ส่วนในพัน) ส่วนในสัตว์น้ำอื่นโดยเฉพาะกุ้งมีการทดสอบความเป็นพิษของแอมโมเนียต่อกุ้งชนิดต่าง ๆ LC50 ที่ทำให้กุ้งตายร้อยละ 50 ภายใน 24 ชั่วโมงในระยะแตกต่างกันตั้งแต่ ระยะ Nauplius, Zoea, Mysis, Postlarva และ Juvenile ได้แก่ Penaeus indicusus, P. monodon, P. japonicas, P. chinensis, Metapenaeus ensis, P. paulensis, P. monodon, P. chinensis P. yenicillatus และ Litopenaeus vannamei (Ostrenskya A., Wilson W., 1995; Jayasankar and Muthu, 1983; Chin and Chen, 1987; Chen et al., 1989; Chen and Lin, 1991b; Chen et al. 1991; Chen and Lei 1990; Nan and Chen, 1991; Chen and Lin, 1992; Chen and Lin, 1991a และ Chin and Chen, 2001) ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวพบว่าลูกกุ้งวัยอ่อนสามารถทนแอมโมเนียได้น้อยกว่ากุ้งตัวเต็มวัยสามารถทนได้ตั้งแต่ 0.25-3.88 มิลลิกรัมต่อลิตร การทดสอบความเป็นพิษที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธี ได้แก่ การหาค่า LD50 (Lethal dose) และ LC50 (Lethal concentration) คือ การหาปริมาณของสารพิษต่อน้ำหนักตัวที่สัตว์ทดลองได้รับเข้าไปในร่างกาย แล้วทำให้สัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่ง (50%) ของจำนวนสัตว์ทดลองที่ใช้ทั้งหมด (บังอร, 2538)
LD50 (Lethal dose) หมายถึง จำนวนหรือปริมาณสารพิษหรือสารจำกัดแมลงที่สัตว์ทดลองได้รับเข้าไปครั้งเดียว แล้วไปมีผลทำให้สัตว์ทดลองตายไป 50 เปอร์เซ็นต์จากจำนวนสัตว์ทดลองที่ใช้ทั้งหมด (จารุพงศ์, 2539) ค่าของ LD50 มักจะบอกเป็น mg/kg หมายถึงปริมาณของสารพิษเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลอง 1 กิโลกรัม (ขวัญชัย, 2540)
LC50 (Lethal concentration) หมายถึง ค่าความเข้มข้นของสารพิษหรือสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่นในอากาศและน้ำที่ทำให้สัตว์ทดลองตายไป 50 เปอร์เซ็นต์หรือกึ่งหนึ่งจากจำนวนสัตว์ทดลองทั้งหมดที่ใช้ในการทดลอง โดยจะต้องระบุเวลาที่สัตว์หายใจเข้าไปหรือระยะเวลาที่สัตว์อยู่ในน้ำที่มีสารพิษหรือสารเคมีนั้น ๆ เจือปนอยู่ (จารุพงศ์, 2539) ซึ่งค่าของ LC50 นี้อาจคิดหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์หรือ ppm (mg/l) ก็ได้ (สมปอง, 2536)
ในไรน้ำนางฟ้าไทยมีการศึกษาอิทธิพลของความเค็มต่ออัตราการรอดตายของไรน้ำนางฟ้านอเพลียส ที่ระดับความเค็มแตกต่างกัน 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 ส่วนในพัน โดยให้แต่ละระดับความเค็มใช้เวลาในการปรับตัวทุกชั่วโมงเป็นเวลา 6 ชั่วโมงพบว่า ความเค็ม 2 ส่วนในพัน ไรน้ำนางฟ้าสามารถรอดชีวิต 100 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 5 ชั่วโมงแรก ความเค็ม 4 ส่วนในพัน ไรน้ำนางฟ้าสามารถรอดชีวิต100 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 1.5 ชั่วโมงแรก ความเค็ม 6 ส่วนในพัน ไรน้ำนางฟ้ามีอัตราการรอดตายเพียง 80?5.77 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 0.5 ชั่วโมงแรก ส่วนที่ความเค็ม 8, 10 และ 12 ส่วนในพัน ไรน้ำนางฟ้าตายทั้งหมดเมื่อปรับความเค็ม 1 ชั่วโมง จากการศึกษาดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไรน้ำนางฟ้าไทยในระยะวัยอ่อนสามารถทนความเค็มได้จำกัดโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงความเค็มทันที ดังนั้นควรมีการปรับความเค็มให้แก่ไรน้ำนางฟ้าในช่วงระยะเวลาสั้นลงเพื่อให้ไรน้ำนางฟ้าปรับสมดุลในร่างกาย เพราะในแหล่งน้ำธรรมชาติความเค็มจะมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซี่งแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มความเป็นไปได้ในการนำเอาไรน้ำนางฟ้ามาใช้ในอุตสาหกรรมสัตว์น้ำทะเล ซึ่งจะได้ศึกษาความสามารถทนความเค็มของไรน้ำนางฟ้าในแต่ละช่วงอายุเพื่อพัฒนาศักยภาพให้ไรน้ำนางฟ้าไทย สามารถนำมาใช้ทดแทนอาร์ทีเมียในอุตสากรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้เต็มรูปแบบต่อไป
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การทดลองที่ 1 การศึกษาความเป็นพิษของแอมโมเนียและไนไตรท์ต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน
การศึกษาความเป็นพิษของแอมโมเนียและไนไตรท์ต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน คือ 5, 10, 15 และ 20 วัน ทำการทดลองแบบใช้น้ำนิ่ง (static bioassay) ภายใต้อุณหภูมิห้องโดยไม่เปลี่ยนแปลงสารละลายและปิดภาชนะทดลองตลอดการทดลอง ความเป็นพิษแสดงเป็นค่าระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตร์ทที่ทำให้ไรน้ำนางฟ้าไทยตายภายในเวลา 48 ชั่วโมง (48 h LC50) วิธีการทดลองส่วนใหญ่ดำเนินการตามวิธี Toxicity Test Method (APHA et al., 1989) และ Sprague (1969) ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. การเตรียมน้ำทดลอง
กรองน้ำประปาผ่านผ้ากรองขนาด 60 ไมครอนลงในถังพลาสติก ใส่หัวทรายเพื่อให้อากาศตลอดเวลา ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 วันให้คลอรีนหมดก่อนเริ่มทดลอง
2. การเตรียมสัตว์ทดลอง
ฟักไข่ไรน้ำนางฟ้าไทยในถังฟักโดยใช้น้ำจากข้างต้น ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หลังจากลูกไรน้ำนางฟ้าไทยฟักเป็นตัวแล้วนำมาเลี้ยงด้วยยีสต์มีชีวิตเพื่อให้ได้อายุตามที่กำหนดไว้ในแผนทดลอง
3. การเตรียมสารละลายในการทดลอง
นำสารเคมีที่ใช้ในการทดลอง คือแอมโมเนียมคลอไรด์และโซเดียมไนไตร์ท มาเตรียมเป็นสารละลายเข้มข้น (stock solution) โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 การทดลองขั้นต้น (Preliminary test)
เป็นการทดลองเพื่อหาระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตร์ทที่ใช้ในการทดลองในช่วงที่กว้าง ๆ ที่ทำให้ไรน้ำนางฟ้าไทยตายทั้งหมด 100% และไม่มีการตายเลยทั้ง 100% ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตร์ทได้ถูกต้องและเหมาะสมในการทำการทดลองจริง ในการทดลองขั้นต้นนี้ได้ใช้สารละลายทดลอง 6 ระดับความเข้มข้น คือ ความเข้มข้นละ 2 ซ้ำ แต่ละซ้ำมีไรน้ำนางฟ้าไทย 10 ตัวต่อปริมาตรสารละลาย 500 มิลลิลิตร สังเกตและบันทึกผลอัตราการตายของไรน้ำนางฟ้าไทยภายใน 48 ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองขั้นสุดท้าย(full-scale test)
เป็นการทดลอง เพื่อหาค่า LC50 โดยกำหนดระดับความเข้มข้นในระดับที่ใกล้เคียง และละเอียดมากกว่าการทดลองขั้นต้นโดยนำค่าพิสัยอัตราการตายที่ใกล้เคียงกับ 50% ของไรน้ำนางฟ้าไทยในการทดลองขั้นต้นมาใช้ทดสอบเพื่อให้ทราบถึงระดับความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตร์ทที่ทำให้ไรน้ำนางฟ้าตาย 50% ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง ในแต่ละระดับความเข้มข้นของโลหะหนักแต่ละชนิด ซึ่งทำการทดลอง 3 ซ้ำ ในแต่ละซ้ำ ใช้ไรน้ำนางฟ้าไทย 20 ตัว ต่อ 1 ลิตร และมีโหลควบคุมที่ไม่ได้ใส่แอมโมเนียและไนไตร์ทเป็นตัวควบคุม (control) 1 โหลทดลอง สังเกตและบันทึกอัตราการตายเมื่อครบ 1, 2, 3, 6 12, 24 และ 48 ชั่วโมงตามลำดับ ไรน้ำนางฟ้าไทยที่ตายทำการนำออกจากภาชนะทันทีเมื่อตรวจพบ การตัดสินใจการตายของไรน้ำนางฟ้าถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
1. รยางค์ทั้งหมดหยุดการเคลื่อนไหว
2. ไม่มีการบิดหรืองอตัว
3. ไม่แสดงอาการเมื่อใช้พู่กันถู
4. เมื่อนำไปวางในน้ำปกติที่ไม่มีสารละลายแอมโมเนียและไนไตร์ทจะไม่สามารถฟื้นขึ้นมาได้อีก
การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำก่อน ระหว่างและหลังการทดลอง โดยคุณภาพน้ำที่วิเคราะห์ได้แก่ อุณหภูมิ ความเป็นกรดเป็นด่าง ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ แอมโมเนียและไนไตร์ท
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์หาค่า 48 h LC50 พร้อมทั้งช่วงแห่งความเชื่อมั่นที่ 95% จากข้อมูลการตายของไรน้ำนางฟ้าไทยและเปรียบเทียบความรุนแรงของความเป็นพิษด้วยการหาค่าอัตราส่วนความรุนแรง
การทดลองที่ 2 การศึกษาอิทธิพลของความเค็มต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน
การศึกษาอิทธิพลของความเค็มต่อไรน้ำนางฟ้าไทยที่อายุแตกต่างกัน คือ 5, 10, 15 และ 20 วัน ทำการทดลองแบบใช้น้ำนิ่ง (static bioassay) ภายใต้อุณหภูมิห้องโดยไม่เปลี่ยนแปลงสารละลาย ใช้ระดับความเค็มแตกต่างกัน 8 ระดับได้แก่ 0, 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35 ส่วนในพัน (ppt) และนับจำนวนตัวที่เหลือทุก 30 นาทีจนกว่าไรน้ำนางฟ้าไทยจะตายหมด
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1804 ครั้ง |
|