รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000148
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาสิทธิชุมชนในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้เลี้ยงปลาในกระชังในลุ่มแม่น้ำสะแกกัง จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Study of Community Rights to Environment of Water Resources Management following from the Constitional Law and the Environment Law oF Fish Cage Culture people in Sakae Krang River Uthaithani Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โครงการวิจัยเกษตรกรเลี้ยงปลาโดยวิธีการให้อาหารจะส่งผลเสียต่อน้ำ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติ และผลกระทบต่อสิทธิชุมชนในการเลี้ยงปลาในกระชั่งที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชานิติศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 มีนาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 มีนาคม 2559
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขานิติศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เนื่องจากในปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงปลาในกระชังในแม่น้ำมากยิ่งขึ้น ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งส่งผลดีในกรณีทำให้เกษตรกรมีอาชีพในการดำรงชีวิตก่อให้เกิดรายได้สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งการเลี้ยงปลานั้นมีทั้งเลี้ยงโดยให้อาหาร และเลี้ยงโดยวิธีโดยธรรมชาติ ซึ่งในเขตภาคกลางนิยมเลี้ยงปลาในกระชังไม่ว่าจะเป็นปลานิล ปลาทับทิม ปลาดุก ปลาช่อน ปลาแรด ปลาสวาย ปลากรด ซึ่งถ้าผู้ประกอบการเลี้ยงโดยวิธีธรรมชาตินั้นจะไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าหากเกษตรกรเลี้ยงปลาโดยวิธีการให้อาหารจะส่งผลเสียต่อน้ำ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทรัพยากรทางธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบบนิเวศทางธรรมชาติ การที่เกษตรกรให้อาหารปลาในแม่น้ำสะแกกัง จังหวัดอุทัยนั้น จำนวนของอาหารจำนวนมากๆนั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อน้ำ ไม่ว่าจะเป็นอ๊อกชิเจนในน้ำ หรือ สัตว์น้ำต่างๆ วัชพืชในแม่น้ำ กะยุ ได้ผลกระทบไปด้วย เมื่อน้ำไม่ได้คุรพย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคไม่ว่าจะใช้น้ำเพื่อการเกษตรและเพื่อการอุปโภคและการบริโภคจะเป็นห่วงโซ่ที่ได้รับ และการเลี้ยงปลาในกระชังนั้นถือว่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญให้ประชาชน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองได้ ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ว่า การใช้ทรัพยากรของบุคคลในชุมชนตามสิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นนั้น ต้องมีการอนุรักษ์ และส่งเสริม ดูแลและบำรุงรักษา ทรัพยากรดังกล่าวด้วยเช่นกัน ผู้วิจัยจึงเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจซึ่งมีผลกระทบแก่ประชาชนในท้องถิ่นดังกล่าว
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.ศึกษาการเลี้ยงปลาในกระชังที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในแม่น้ำสะแกกัง 2.ศึกษาการเลี้ยงปลาในกระชั่งส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชุนในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ขอบเขตของโครงการ :1. ศึกษาการเลี้ยงปลาในกระชังที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในแม่น้ำสะแกกัง 2. ศึกษาการเลี้ยงปลาในกระชั่งส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชุนในการดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรน้ำ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :แผยแพร่ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยศรีปทุม หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ สำนักงานประมงจังหวัดอุทัยธานี สำนักวิจัยและการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :สิ่งแวดล้อม คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ดิน น้ำ อากาศ ทรัพยากร รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชนเมือง สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม สิทธิชุมชน คือ สิทธิร่วมเหนือทรัพย์สินของชุมชน สิทธิในการบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ สิทธิในการรักษาวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสิทธิอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่โดยไม่ถูกรุกล้ำล่วงเกิน เกี่ยวข้องกับความสามารถในการพึ่งตนเองของชุมชนของตน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การเลี้ยงปลาในกระชังที่มีผลกระทบต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ในแม่น้ำสะแกกัง จังหวัดอุทัย และส่งผลกระทบต่อสิทธิชุมชุนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :สัมภาษณ์เชิงลึกเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาในกระชัง และประชาชนที่อาศัยในแถบบริเวณแม่น้ำ และทำแบบสอบถาม ลุ่มแม่น้ำสะแกกัง จังหวัดอุทัยธานี
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1785 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวฐิตาภรณ์ น้อยนาลุ่ม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด