รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000146
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ผลของไคโตซานต่อสรีรวิทยาและการสะสมมวลชีวภาพของข้าว (Oryza sativa L.) ภายใต้สภาวะการเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Effect of chitosan on physiology and biomass of rice (Oryza sativa L.) under elevated ozone
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ไคโตซาน, โอโซน, ข้าว, มวลชีวภาพ, สรีรวิทยา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเคมี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :80000
งบประมาณทั้งโครงการ :80,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 มีนาคม 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :10 มีนาคม 2559
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่เป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก ในแต่ละปีพบว่าผลผลิตรวมทั่วประเทศมีสูงถึงประมาณ 35 ล้านตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) ดังนั้นข้าวที่ผลิตภายในประเทศจะต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญ เช่น เมล็ดยาว เนื้อขาวใส และมีเปลือกบาง เป็นต้น ทำให้การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้กับการใช้สารเคมีเพื่อใช้กำจัดแมลง ศัตรูพืช เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตให้คุ้มค่ากับต้นทุน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการปนเปื้อนของสารเคมีในข้าวและสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งก่อให้เกิดอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้อีกด้วย ซึ่งขัดแย้งกับในสภาวะที่ทั่วโลกกำลังร่วมมือกันรักษาสภาพแวดล้อมของโลก ซึ่งนอกจากปัญหาแมลงศัตรูพืชและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกแล้ว มลพิษทางอากาศก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ผลผลิตของข้าว โดยมลพิษทางอากาศที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อพืชอย่างรุนแรงคือก๊าซโอโซน โดยโอโซนสามารถเข้าสู่พืชโดยปากใบและทำให้เกิดผลกระทบต่อสรีรวิทยา เช่น ความสูง พื้นที่ใบ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสงของพืชเช่นการเปิดปิดของปากใบ ปริมาณคลอโรฟิลล์ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว (Abhijit Sarkar,2012) โดยการได้รับผลกระทบขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ความเข้มข้นของก๊าซ ระยะเวลาที่พืชได้รับ ปริมาณที่มลพิษเข้าสู่ใบพืช และการพัฒนาของใบพืช (Goumenaki, Taybi, Borland, & Barnes, 2010) จากปัญหาดังกล่าวแนวทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คือการนำสารที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต สร้างภูมิต้านทาน และช่วย ลดการติดเชื้อในระหว่างการเพาะปลูกมาใช้ปรับปรุงพืชเพื่อให้ทนต่อมลพิษทางอากาศ โดยสารกลุ่มดังกล่าวจะต้องไม่มีอันตรายต่อทั้งพืช มนุษย์ และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาประสิทธิภาพของสารที่ใช้ในการพ่นเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นพิษทั้งต่อมนุษย์หรือสัตว์ คือ ไคโตซาน โดยนำไคโตซานซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งมาใช้ในการเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมี เนื่องจากไคโตซานเป็นวัสดุทางชีวภาพ (biomaterials) ที่เป็นไบโอพอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติซึ่งเป็นสารที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (biocompatibility) และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ปลอดภัยต่อการนำมาใช้งานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้จากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับอาหารทะเลแช่แข็ง เช่น กุ้ง และปู เป็นต้น จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีการนำไคโตซานไปประยุกต์ใช้ด้านเกษตรกรรม เพื่อใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต เช่น กระตุ้นการเจริญเติบโตของรากและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช (นวลใจ และคณะ ) ใช้เป็นสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ รวมทั้งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ อีกด้วย (สมพร, 2555) ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการปรับปรุงคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวขาว 10 สายพันธุ์ที่นิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และใกล้เคียง เพื่อให้มีประสิทธิภาพการงอกและการเจริญเป็นต้นข้าวที่ให้ผลผลิตได้เต็มที่ โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่ใช้พ่นเมล็ดพันธุ์ คือ ไคโตซาน ภายใต้สภาวะปกติ และสภาวะ stress ที่มีการเพิ่มขึ้นของโอโซนเพื่อเตรียมการรองรับปัญหาการเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซนในอนาคต
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานต่อสรีรวิทยา การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสะสมมวลชีวภาพในข้าว 2. เพื่อศึกษาผลกระทบของโอโซนต่อสรีรวิทยา การสังเคราะห์ด้วยแสง และการสะสมมวลชีวภาพในข้าว 3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไคโตซานในการลดผลกระทบจากสภาวะการเพิ่มขึ้นของโอโซน 4. เพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ทนต่อโอโซนและตอบสนองดีต่อการฉีดพ่นไคโตซาน 5. เพื่อเป็นแนวทางสำหรับเกษตรกรและนักวิชาการในการนำผลที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนา และปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่อไป
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของสารฉีดพ่นไคโตซานเพื่อเพิ่มศักยภาพและความต้านทานของข้าวต่อก๊าซโอโซนโดยการศึกษาในข้าวที่นิยมปลูก 10 สายพันธุ์ โดยการศึกษาการสังเคราะห์แสง, ปริมาณคลอโรฟิลล์, พื้นที่ใบ และมวลชีวภาพ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ต้านทานต่อก๊าซโอโซนและสามารถตอบสนองต่อการฉีดพ่นไคโตซานได้ดี โดยการเปรียบเทียบ โอโซน 1.สภาวะการเพิ่มขึ้นของโอโซน 70 ppb 2.สภาวะควบคุม (CF) ไคโตซาน 1. การฉีดพ่นไคโตซาน 2. ไม่มีการฉีดพ่นไคโตซาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :จากผลการศึกษาในระยะเวลา 1 ปี คาดว่าผลที่ได้จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือได้สารละลายไคโตซาน ซึ่งมีอัตราส่วนที่เหมาะสม และสามารถเชื่อมโยงได้ผลการศึกษาต่อยอดในเรื่องการคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ตอบสนองต่อไคโตซานได้ดีและทนต่อการเพิ่มขึ้นของก๊าซโอโซนในบรรยากาศ (I) นอกจากนี้ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (G) ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะสามารถใช้เป็นแนวทางให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตของข้าวด้วยการลดการใช้สารฆ่าแมลงแต่แทนที่การใช้สารที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อพืช สิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทยที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเป็นทั้งผู้ผลิตและส่งออกที่สำคัญของโลก โดยสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีสัดส่วนพื้นที่การเกษตรทั้งหมดกว่า 130 ไร่ โดยมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่เป็นพื้นที่สำหรับการปลูกข้าว ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าข้าวถือเป็นรายได้หลักของชาวนาในประเทศ แม้ว่าจากที่กล่าวมาประเทศไทยจะเป็นผู้ผลิตข้าวหลักของโลก แต่พบว่าในปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม จัดเป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งและคู่ค้าข้าวที่สำคัญของไทย เพราะสามารถพัฒนาและส่งออกข้าวได้เพิ่มขึ้นจนถือว่าเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลกในขณะนี้ ดังนั้นประเทศเราควรมีการพัฒนาข้าวเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของข้าวไทยเช่น การสร้างและพัฒนาความหลากหลายของชนิดพันธ์ข้าวเพื่อใช้เป็นจุดขายที่สำคัญ นอกจากนี้หากเราสามารถทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นในคุณภาพของข้าวไทยว่าปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้างจะเป็นจุดขายที่เหนือกว่าและแตกต่างจากคุณภาพของข้าวที่ผลิตได้จากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา/เพิ่มผลผลิตและลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในข้าวสายพันธุ์ต่างๆ โดยใช้ไคโตซานซึ่งเป็นสารชีวภาพฉีดพ่นพันธุ์ข้าวทดแทนการใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งสารดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมกล่าวคือ ไคโตซานจัดเป็นสารกลุ่มไบโอพอลิเมอร์ที่เป็นอนุพันธ์ของไคติน ซึ่งมีการกำจัดหมู่อะซิทิลออกไป โดยทั่วไปไคโตซานสกัดได้จากเปลือกกุ้ง แกนปลาหมึก หรือผนังเซลล์ของเชื้อรา ข้อดีของไคโตซานคือ เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย และมีความเข้ากันได้ทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านสิ่งแวดล้อม การเกษตร และทางการแพทย์ เป็นต้น มีรายงานการศึกษาการใช้ไคโตซานเป็นสารเคลือบเมล็ดพันธุ์ข้าว พบว่าทำให้อัตราการงอกของเมล็ดเพิ่มขึ้นและผลผลิตที่ได้สูงขึ้น (Boonlertnirun et al., 2008) เนื่องจากไคโตซานมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะถูกปล่อยออจากโมเลกุลเพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโต ช่วยให้พืชสามารถดึงดูดแร่ธาตุต่างๆและช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของพืช (Boonkerd., 1996; Kotsaeng et al.) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Chandrkrachang (2002) ที่ศึกษาอิทธิพลของไคโตซานที่มีต่อปริมาณผลผลิตของข้าว ที่พบว่าเมื่อใช้ไคโตซานเข้มข้น 10-15 มิลลิกรัมต่อลิตรจะทำให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 91.5 โดยนอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงประสิทธิภาพของไคโตซานเมื่อนำมาเติมลงในอาหารสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ พบว่าไคโตซานสามารถกระตุ้นให้กล้วยไม้เกิดใบใหม่ เกิดการงอกของราก และเพิ่มความยาวและความกว้างของใบเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (Kleangkeo et al., 2003) นอกจากนี้ไคโตซานยังมีคุณสมบัติด้านการเป็นสารต้านเชื้อจุลชีพ เนื่องจากไคโตซานมีกลุ่มของกรดอะมิโนซึ่งมีประจุบวก ทำให้สามารถไปจับกับประจุลบบนผนังเซลล์ของจุลชีพได้ ดังเช่นรายงานการวิจัยของ Prapagdee et al., ที่ศึกษาการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. solani f.sp.เมื่อใช้ไคโตซานเข้มข้นร้อยละ 1 ซึ่งผลการศึกษาพบว่าที่ความเข้มข้นดังกล่าวสามารถยับยั้งการเกิดโรค sudden death syndrome ในถั่วเหลืองได้ ดังนั้นจากที่กล่าวมาไคโตซานจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางทางด้านการเกษตร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเร่งการเจริญเติบโต การยับยั้งการเจริญของจุลชีพ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มผลผลิตในภาคการเกษตรในแนวทางการลดใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลงที่จะส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมต่อไป โทรโฟสเฟียร์ริกโอโซนเป็น strong oxidative pollutant ที่มีความรุนแรงเป็นภัยคุกคามที่ สำคัญต่อการเกษตรทั่วโลก โดยการคาดการณ์ก๊าซโอโซนในบรรยากาศในปี 2050 จะเท่ากับ 60 – 100 ppb (IPCC, 2007) โดยโอโซนเป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บที่มองเห็นได้และสรีรวิทยาของพืช การเกิดความเสียหายที่ใบพืช (Felzer et al., 2007) อาการแก่ก่อนวัย ทำลายคลอโรฟิลล์ ทางด้านสรีรวิทยาเช่น ลดการสังเคราะห์แสง ทำให้การเจริญเติบโต ความสูง พื้นที่ใบลดลง (Abhijit, 2012 ; Noormets et al., 2010) และเป็นสาเหตุของการสูญเสียผลผลิต และผลผลิตข้าวจำนวนไม่น้อยที่ได้รับผลกระทบจากก๊าซโอโซนเนื่องจากการตอบสนองที่ไวต่อการเพิ่มขึ้นของโอโซน (Feng and Kobayashi, 2009) โดยความรุนแรงของผลกระทบที่จะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช, ช่วงเวลาการปลูกพืช, การพัฒนาของพืช และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมภายนอก (Mauzerall & Wang, 2001)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของประชาชนคนไทย ทำให้เกิดข้อเสียตามมาคือผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภค ที่ต้องรับประทานข้าวที่มีปริมาณสารเคมีตกค้าง นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นการตกค้างของสารพิษทั้งในดิน น้ำ และอากาศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าปัจจุบันแมลงศัตรูพืชส่วนใหญ่มีการปรับตัวเพื่อสร้างฤทธิ์ในการต้านทานปริมาณยาฆ่าแมลง ซึ่งทำให้ไม่ว่าจะฉีดพ่นยาในปริมาณมากขึ้นเพียงใด แมลงศัตรูพืชเหล่านี้ก็ยังคงสามารถทนทานต่อยาได้ ดังนั้นหากมีการปรับปรุงและพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยการนำสารชีวภาพที่มีสมบัติปลอดภัยทั้งต่อผู้บริโภค สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการฉีดพ่นพันธุ์ข้าว อีกทั้งเป็นสารที่มีสมบัติในการเพิ่มเร่งการเจริญเติบโต การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช ซึ่งสารดังกล่าวไม่เป็นพิษ ไม่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตทางภาคการเกษตรแบบยั่งยืนได้เป็นอย่างดี ผลที่ตามมาคือเมื่อเกษตรสามารถเพิ่มผลผลิตให้มีคุณภาพดีขึ้น จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเนื่องจากมีการลดการใช้ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี นอกจากนี้การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวยังเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และสภาวะ stress ต่าง ๆ ที่พืชจะได้รับและส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตในอนาคตซึ่งสภาวะ abiotic stress เช่น โอโซน เป็นสภาวะที่มีความรุนแรงส่งผลเสียหายต่อพืชในหลายพื้นที่ทั่วโลก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชอ่อนแอสร้างความเสียหายต่อผลผลิต หากการฉีดพ่นไคโตซานสามารถลดผลกระทบจากโอโซนได้จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปให้เพิ่มศักยภาพของข้าวในพื้นที่ปลูกที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบจากโอโซน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี เริ่มปีงบประมาณ 2558 โดยสถานที่ทำการวิจัยคือสาขาวิชาเคมี และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร การจัดเตรียมต้นกล้าข้าว เพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวจำนวน 10 สายพันธุ์ในถาดพลาสติก จนได้ใบแท้แรกจึงเปลี่ยนย้ายภาชนะที่มีดินเหนียว และปลูกในตู้รมก๊าซ เพาะเลี้ยงต้นกล้าในตู้รมก๊าซเป็นเวลา 1 เดือน ตาม Treatment การทดลองดังนี้ Treatment 1 ข้าวที่มีการฉีดพ่นไคโตซาน + โอโซน 70 ppb Treatment 2 ข้าวที่ไม่มีการฉีดพ่นไคโตซาน + โอโซน 70 ppb Treatment 3 ข้าวที่มีการฉีดพ่นไคโตซาน + control (โอโซนน้อยกว่า 10 ppb) Treatment 4 ข้าวที่ไม่มีการฉีดพ่นไคโตซาน + control (โอโซนน้อยกว่า 10 ppb) การศึกษาการตอบสนอง ศึกษาอัตราการสังเคราะห์แสง, ปริมาณคลอโรฟิลล์ พื้นที่ใบและมวลชีวภาพในสัปดาห์ที่ 1 – 4 วิธีการวิเคราะห์ 1) ดัชนีความเขียวด้วยเครื่อง Chlorophyll meter (SPAD-502, soil and plant analysis development (SPAD), Minolta Camera Co., Osaka, Japan) 2) พื้นที่ใบวัดพื้นที่ใบข้าวในใบที่ขยายเต็มที่โดยใช้เครื่องวัดพื้นที่ใบ LI-3100 (LI-COR, Lincoln, USA) 3) ศึกษาน้ำหนักแห้ง (biomass) ในระยะเก็บเกี่ยวอายุ120 วัน แยกส่วนลำต้นและรากของต้นข้าว ล้างให้สะอาด แล้วอบตัวอย่างพืชที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ในตู้อบลมร้อนและนำมาชั่งหาน้ำหนักแห้งของลำต้น น้ำหนักแห้งของราก และน้ำหนักแห้งรวม 4) การสังเคราะห์ด้วยแสง วัดการสังเคราะห์แสงโดยเลือกวัดใบในตำแหน่งที่ 2 โดยใช้เครื่อง portable photosynthesis system (LI- 6400, Li-Cor, Lincoln, NE, USA) ซึ่งเป็นระบบเปิด กำหนดค่าคาร์บอนไดออกไซด์ใน leaf chamber เท่ากับ 360 ?mol/mol กำหนด flow rate ของอากาศเท่ากับ 500 ?mol/s. ค่าความเข้มแสง photosynthetic photon flux density (PPFD) เท่ากับ 1500 ?mol/m2/s โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ตัวเครื่องมือ (Shimono et al., 2004) วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ศึกษาความแตกต่างทางสรีรวิทยา ชีวเคมี และผลผลิตโดย Analysis of Variance (ANOVA) ใน Dancan’s multiple range tests เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง treatment
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :749 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวฤทัยรัตน์ โพธิ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
ดร.ชลดา ธีรการุณวงศ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด