รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000144
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์และผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The characteristic business of logistics and the impact of management strategies logistics affecting the operation of the business logistics in Thailand
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์/ ผลการดำเนินงาน/ ธุรกิจโลจิสติกส์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์กร
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษ์ยและการจัดการ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันเป็นยุคของกระแสโลกาภิวัฒน์ (grobalization) ซึ่งก่อให้เกิดสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจแนวใหม่ (new economy) หรือเศรษฐกิจที่ต้องอาศัยความรู้ความคิดใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มาพร้อมกับสินค้าและการให้บริการ การค้าระหว่างประเทศทั้งสินค้าและบริการมีการเปลี่ยนแปลงขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศผู้ส่งออกรุนแรงขึ้น (กรมการค้าภายใน สภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2557 : ) การขนส่งเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการประกอบธุกิจเนื่องจากกิจกรรมการขนส่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตและการตลาด ซึ่ธุรกิจจำเป็นต้องใช้การขนส่งเพื่อลำเลียงวัตถุดิบเข้ามายังโรงงานและขนส่งสินค้าที่ผลิตเสร็จส่งต่อไปยังตัวแทนจำหน่ายหรือลูกค้า (จักกฤษณ์ ดวงพัสตรา, 2543 : 1) ดังนั้น จะเห็นไดว่าการขนส่งเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ผ่านมาแนวโน้มว่าผู้บริโภคมีความต้องขึ้น รวมทั้งความต้องการสินค้าที่รวดเร็วขึ้นบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้นและมีปริมาณการบริโภคที่มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างพัฒนาคุณภาพสินค้าและระบบจัดส่งสินค้าของตนให้สามารถตอบสอนงความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที (โกศล ดีศีลธรรม,2547 : 18)
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย 3. เพื่อทดสอบผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของเนื้อหา เรื่องนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ที่มีผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย โดยได้ศึกษาตัวแปร ดังนี้ 1.ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ประเภทของธุรกิจโลจิสติกส์ รายได้ของธุรกิจต่อเดือน ประสบการณ์ที่ดำเนินธุรกิจและทุนจดทะเบียน รวมทั้งกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ (SLT) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานการให้บริการ (LS) ความรวดเร็วในการจัดส่ง (LD) ความปลอดภัยในการขนส่ง(LT) และการมุ่งเน้นความพึงพอใจ (LO) 2.ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน(PTT) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน (PF) ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า (PR)ด้านนวัตกรรมการดำเนินงาน (PI) และด้านคุณภาพการบริการ(PQ) ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ประชากร (population) คือ ผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทย ในฐานข้อมูลของ(กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์, 2557 เวบไซด์) จำนวน ....537....ราย กลุ่มตัวอย่าง (Sample) ได้แก่ ผู้ประกอบการขนส่งทางถนนผู้ประกอบการขนส่งทางถนน ผู้ประกอบการขนส่งทางลำน้ำ ผู้ประกอบการขนส่งทางรถไฟ ผู้ประกอบการคลังสินค้า ผู้ประกอบการตัวแทนออกของและพิธีการทางศุลกากร และผู้ประกอบการตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้า จำนวน...230...ราย โดยใช้สูตรของเทโร ยามาเน่ (ประคอง กรรณสูตร, 2542 : 357 ) และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) ขอบเขตระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาอยู่ในช่วงเดือน 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2558 (ปีงบประมาณ 2558)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.เป็นแนวทางในการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการให้บริการเกี่ยวกับโลจิสติกส์เพื่อให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนในการผลิต พัฒนาการบริหารจัดการของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยเพื่อให้สามารถตอบสอนงความต้องการของลูกค้าได้อย่างสูงสุด 2. เป็นแนวทางในการแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1.ความสัมพันธ์ของกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยในทิศทางเดียวกัน 2. กลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโลจิสติกส์ในประเทศไทยในทิศทางเดียวกัน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (questionnaire) ซึ่งได้สามารถตามความมุ่งหมายและกรอบแนวคิดในการศึกษาวิจัยที่กำหนดขึ้น แบ่งเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย ประเภทธุรกิจโลจิสติกส์ รายได้ของธุรกิจต่อเดือน ประสบการณ์ที่ดำเนินธุรกิจ มีลักษณะเป็นแบบตรวจรายการ (check list) และเขียนตอบ (short answer) ตอนที่ 2 ข้อมูลกลยุทธ์การจัดการโลจิสติกส์ เป็นตัวแปรอิสระ ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ 1.ด้านมาตรฐานการให้บริการ 2.ด้านความรวดเร็วในการจัดส่ง 3. ด้านความปลอดภัยในการขนส่ง และ 4. ด้านการมุ่งเน้นความพึงพอใจ ตอนที่ 3 ข้อมูลผลการดำเนินงานเป็นตัวแปรตาม ซึ่งสามารถจำแนกเป็น 4 ด้าน 1.ด้านความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน 2. ด้านการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า 3. ด้านนวัตกรรมการดำเนินงาน 4.ด้านคุณภาพการบริการ ตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :308 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางนวพร ประสมทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด