รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000142
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณพื้นที่รอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Community Economic Development in Area Khao Luang Forest Park: Ladyao District and Muang District, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :424000
งบประมาณทั้งโครงการ :424,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :12 มกราคม 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเศรษฐศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากการพัฒนาประเทศที่เน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการว่างงาน ปัญหาการมุ่งเอารักเอาเปรียบ ตลอดจนปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้แนวคิดการพัฒนาโดยสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมจากฐานล่างคือครอบครัวและชุมชน ด้วยกระบวนการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นแนวคิดของเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองที่มาจากกระแสพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540 โดยกระทรวงมหาดไทยได้นำแนวคิดนี้มาเป็นแนวทางในการพัฒนายุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ป่าเขาหลวง ได้รับอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้จัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวง เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 1 ท้องที่จังหวัดนครสวรรค์และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาหลวง แปลง 2 ท้องที่จังหวัดอุทัยธานีมีเนื้อที่ตามแนวเขตป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่ใช้ดำเนินการจัดตั้ง วนอุทยานรวม 2 แปลงติดต่อกัน รวมทั้งสิ้น 59,375 ไร่ หรือ 95 ตารางกิโลเมตรวนอุทยานเขาหลวง มีสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน ตั้งอยู่โดดเดี่ยวบนพื้นที่ราบ มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงเท่ากับ 772 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบมาตั้งแต่อดีต มีทรัพยากรป่าไม้ที่มีคุณค่า ทั้งสภาพป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรังและมีพืชสมุนไพรที่มีค่า และหายากจำนวนมาก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่านานาชนิด นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ธรรมชาติบนยอดเขาหลวง จุดชมวิวบนสันเขา/หน้าผา ถ้ำ ฯลฯ วนอุทยานเขาหลวง นับว่ามีสภาพธรรมชาติที่สวยงาม อากาศบนยอดเขาเย็นสบาย เหมาะแก่การท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และอยู่ไม่ห่างไกลชุมชนมากนักในอดีตที่ผ่ามาพบว่าทรัพยากรธรรมชาติในเขตวนอุทยานเขาหลวงได้ถูกบุกรุกทำลายจากมนุษย์ โดยเฉพาะการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ การลักลอบหาของป่าและพืชสมุนไพรโดยปราศจากการควบคุม ตลอดจนปัญหาด้านไฟป่า ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติในวนอุทยานเขาหลวงเสื่อมโทรมลงจนใกล้วิกฤติ โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องแหล่งน้ำตามลำห้วยลำธาร ที่ในอดีตมีน้ำไหลตลอดปี ต้องเหือดแห้งลงในฤดูแล้ง ทำให้ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงในชุมชนรอบๆได้ อีกทั้งสภาพธรรมชาติที่สวยงามก็ถูกทำลายลง จึงทำให้ราษฎรที่อาศัยอยู่ใกล้เคียง ตลอดจนหน่วยงานราชการ วัด และสื่อมวลชน ได้เสนอแนะให้ทางราชการเร่งหามาตรการที่จะอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ดังนั้นกรมป่าไม้ โดยป่าไม้เขตนครสวรรค์ จึงได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเขาหลวงขึ้นมา เพื่อให้ได้รับการจัดการทางด้านวิชาการ อย่างมีระบบแบบแผนที่ถูกต้อง เอื้ออำนวยประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว แก่ประชาชนโดยส่วนรวมตลอดไป วนอุทยานเขาหลวงอยู่เขตรอยต่อของจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี มีราษฎรที่อยู่อาศัยและมีที่ทำกินติดต่อและใกล้เคียงพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงใน 35 หมู่บ้าน 9 ตำบล 5 อำเภอ ของ 2 จังหวัด อยู่ในเขตปกครองดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ ท้องที่ ตำบลหนองกรด อำเภอเมือง ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว ตำบลบางประมุง อำเภอโกรกพระ ตำบลนากลาง อำเภอโกรกพระ ตำบลศาลาแดง อำเภอโกรกพระ ตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดอุทัยธานี ท้องที่ ตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างอารมณ์ ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน เนื่องจากชาวบ้านบริเวณรอบพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงประสบกับปัญหาความยากจน การขาดที่ดินทำกิน การขาดเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน ทำให้ชาวบ้านบางส่วนได้อาศัยที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ทำกินโดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ การขาดอาชีพและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ รวมทั้งการขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นตนเพื่อยังประโยชน์ระยะยาวและอย่างยั่งยืน จึงทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่วนอุทยานเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ ปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ป่า ซึ่งกลุ่มนายพราน นี้จะทำการจุดไฟเผาป่าด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ ในการล่าสัตว์แต่ละชนิด โดยเฉพาะประเภทสัตว์กีบ ที่กินพืชเป็นอาหาร และนักล่าสัตว์ป่ามักจะไม่ดับให้สนิทก่อน จึงเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหาไฟป่าซึ่งมักเกิดเป็นประจำในหลายพื้นที่ การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร นอกจากนี้ยังพบว่าว่าความต้องการใช้สอยทรัพยากรของชุมชนในเขตวนอุทยานมีอยู่สูงมากและยากต่อการควบคุมดูแล เช่น กลุ่มหาของป่าตามฤดูกาล เช่น เห็ด หน่อไม้ ผักหวาน ไข่มดแดง ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยตามแนวเขตป่า มีอาชีพเกษตรกรรม ฐานะยากจน การศึกษาต่ำ มีความจำเป็นต้องพึ่งพาผลิตผลจากป่าในการดำรงชีวิตตลอดทั้งปี ลักษณะการใช้ทรัพยากรนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันยังขาดหลักการอนุรักษ์ ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของทรัพยากรในพื้นที่เป็นอย่างมาก ทำให้สภาพพื้นที่เกิดความแห้งแล้งมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้น ยังเกิดปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่วนอุทยานกับชุมชนที่อยู่โดยรอบวนอุทยานด้วย โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบริเวณพื้นที่วนอุทยานเขาหลวงในอนาคต โดยในเบื้องต้นงานวิจัยนี้จะทำการศึกษาเฉพาะเขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจชุมชนและปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 6.2 เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 6.3 เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการสร้างรายได้ และลดค่าใช้จ่าย
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยให้ครอบคลุมปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ผลการวิจัยสามารถตอบปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ ซึ่งผู้วิจัยแบ่งขอบเขตของการวิจัยออกเป็น (1) ขอบเขตด้านพื้นที่ประชากร (2) ขอบเขตด้านเนื้อหาของการวิจัย และ (3) ขอบเขตด้านระยะเวลาในการวิจัย ดังนี้ 7.1 ขอบเขตด้านพื้นที่-ประชากร โครงการวิจัยนี้ดำเนินการในเขตพื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ใน 10 หมู่บ้าน 3 ตำบล ประชากรประกอบด้วย 1) ชาวบ้าน และชุมชนในเขต - อำเภอลาดยาว ตำบลวังม้า 1) บ้านวังดินดาด หมู่ 6 2) บ้านกระทุ่มลาย หมู่ 11 3) บ้านน้ำลึม หมู่ 15 4) บ้านไร่ใหญ่ หมู่ 16 ตำบลหนองยาว 1) บ้านดงหนองหลวง หมู่ 2 2) บ้านวังยิ้มแย้ม หมู่ 5 - อำเภอเมือง ตำบลหนองกรด 1) บ้านวังเดื่อ หมู่ 9 2) บ้านวังเลา-หินก้อน หมู่ 14 3) บ้านผาแดง หมู่ 15 4) บ้านในชุม-ทุ่งแห้ว หมู่ 16 2) พัฒนาชุมชนที่รับผิดชอบพื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ใน 10 หมู่บ้าน 3 ตำบล 3) ผู้นำชุมชน พื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ใน 10 หมู่บ้าน 3 ตำบล 7.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1) การศึกษาโครงการ และการรวมกลุ่มต่างๆของสมาชิกในชุมชนที่มีสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 2) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3) ดำเนินการอบรมเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและแผนธุรกิจเพื่อปรับทัศนคติในการดำรงชีวิตของชาวบ้านในชุมชนให้หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่หรือหาได้ในชุมชน ประกอบกับสามารถเขียนแผนธุรกิจเพื่อขอรับการสนับสนุนเรื่องงบประมาณให้ได้ อีกทั้งอบรมเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรภายในท้องถิ่นเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้ทรัพยากรที่หาได้ภายในท้องถิ่นเป็นการลดค่าใช้จ่าย 4) การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ตามตัวชี้วัดมาตรฐานของแหล่งท่องเที่ยว เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาน้ำตกหินดาด ตำบลวังม้า อำเภอลาดยาว เป็นแหล่งรายได้ให้กับชุมชน 7.3 ขอบเขตระยะเวลา โครงการวิจัยนี้มีระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี ในปีงบประมาณ 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.1 ได้ข้อมูลลักษณะ และปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนต่อไป 11.2 ได้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งชุมชนอื่นสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนของตนเองต่อไป 11.3 ภาครัฐสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาชุมชนต่อไป 11.4 ได้บทความวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หน่วยงานที่สามารถนำผลงานไปใช้ประโยชน์ - กรมป่าไม้ - สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - ชาวบ้านบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ - สำนักงานพัฒนาชุมชน เขตอำเภอลาดยาว และอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :501 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางพัชราภา สิงห์ธนสาร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด