รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000141
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :ภาษาอังกฤษ) Development of higher order thinking to application in life skills test for student in faculty of science and technology Nakronsawan Rajabhat University.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ทักษะการคิดขั้นสูง, การคิดวิเคราะห์, การคิดแก้ปัญหา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตสาศตร์
กลุ่มวิชาการ :คณิตศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การใช้ความคิดมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการดำรงชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จนั้น ต่างก็เป็นผลมาจากการคิดอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดในลักษณะต่างๆที่หลากหลายอย่างเหมาะสม ประกอบกับโลกในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง และโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทุก ๆ ด้าน ส่งผลให้มนุษย์ประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตและการปรับตัวเข้ากับสังคมและหตุการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นกระบวนการด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบัน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้กับมนุษย์ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จต่อไป การทำให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขและประสบผลสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการจัดการเรียนการสอนให้เกิดทักษะการคิดที่มีประสิทธิภาพ เพราะการคิดทำให้บุคคลรู้จักแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม การจัดการเรียนการสอนที่สามารถทำให้บุคลเกิดทักษะการคิดขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัดได้จากผลการวัดและประเมินผลความสามารถในทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน เครื่องมือการวัดจึงเป็นสิ่งสำคัญ เครื่องมือที่มีคุณภาพย่อมให้ผลการวัดที่มีคุณภาพ จะเห็นได้ว่าสถานศึกษาแต่ละแห่งใช้เครื่องมือที่หลากหลาย และอาจจะไม่ได้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ คือ คุณสมบัติของข้อคำถามซึ่งไม่คงที่แปรเปลี่ยนไปตามกลุ่มของผู้สอบ ทำให้ผลการประเมินคลาดเคลื่อน ไม่สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไข อ้างอิงไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ หรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอนของครูได้อย่างมีประสิทธิภาพ เครื่องมือการวัดทักษะการคิดขั้นสูง เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้รู้ถึงระดับความสามารถของผู้เรียน และยังเป็นตัวชี้วัดว่าการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด กล่าวได้ว่าปัญหาการวัดผลการเรียนของไทยส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการคิดขั้นสูงของผู้เรียน การศึกษาของไทยที่ผ่านมาใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบท่องจำส่งผลให้ข้อสอบหรือแบบทดสอบที่ใช้เป็นการวัดความจำมากกว่าที่จะวัดกระบวนการคิดขั้นสูง คือการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และนำไปประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งสาขาดังกล่าวมีลักษณะสำคัญที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูงในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ผู้เรียนต้องใช้ทักษะการคิดขั้นสูงประกอบกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (NT) ในภาพรวมระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสะท้อนให้เห็นว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ยังอยู่ในขั้นปรับปรุงคือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สุมาลี เขื่อนแก้ว. 2552 :2) แบบวัดทักษะการคิดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ แบบทดสอบที่ใช้กับผู้สอบครั้งละหลายๆ คน โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกัน แบบทดสอบตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory) เป็นแบบทดสอบที่มีข้อสอบจำนวนมาก และค่าความยากง่ายต้องกระจายครอบคลุมสำหรับผู้สอบที่มีความสามารถสูงจนถึงผู้สอบที่มีความสามารถต่ำ และอาจจะทำให้เกิดการเดาของการตอบข้อสอบได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดมากขึ้น ในปัจจุบันนักวัดผลจะให้ความสำคัญกับความสามารถของผู้สอบ ซึ่งเป็นคุณลักษณะภายใน (Latent Trait) ที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง นักวัดผลจึงได้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการวัดคุณลักษณะภายในของผู้สอบ ที่เรียกว่า ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) เป็นทฤษฎีที่ใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถที่แท้จริงของผู้สอบและความคลาดเคลื่อนจากการวัด และประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบแต่ละข้อได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งการหาค่าความเชื่อมั่นโดยประยกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง (Generalizability Theory) ยังสามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงไปยังประชากรอีกด้วย จากความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความสามารถด้านการคิดของผู้เรียนที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า ในการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องพัฒนาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาความคิดขั้นสูงของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดขั้นสูงและสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักทดสอบการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการส่งเสริมให้ครูผู้สอนมีความรู้ และทักษะในการสร้างข้อสอบที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ในรูปแบบเดียวกันกับข้อสอบที่ใช้ในการทดสอบ NT, O-NET, PISA และ TIMMS เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนตามหลักสูตรฯ ได้ และสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้บัณฑิตเกิดการเรียนรู้ในด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) คือ ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. 2552) ในระดับอุดมศึกษาการคิดวิเคราะห์ และการคิดแก้ปัญหาเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้นักศึกษาได้ประสบควาสำเร็จ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหาในการเรียนเป็นหลัก จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจในการพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อนำผลที่ได้ไปวัดระดับทักษะการคิดขั้นสูง อันได้แก่ การคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหา เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่ทำอยู่เป็นประจำได้อย่างเหมาะสม และแยกแยะสถานการณ์ที่ต้องการการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ พร้อมกับนำเอาความรู้ความเข้าใจในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้เพื่อสนองตอบต่อสถานการณ์เช่นนั้น และยังเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนานักศึกษาให้เกิดทักษะการคิดขั้นสูงที่สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อสร้างของแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 6.2 เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 6.3 เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :7.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี ้ คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 7.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในงานวิจัยครั้งนี ้ เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) 7.3 ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ในการวิจัยครัง้นี ้ ผู้วิจัยจำแนกตัวแปรที่ศึกษาดังนี ้ 1. ตัวแปรที่ศึกษาทางด้านคุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ได้แก่ 1.1. คุณภาพเครื่องมือวัดโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item response theory) อันได้แก่ ค่าอำนาจจำแนก (a) ค่าความยากง่าย (b) และ โอกาสการเดา (c) 1.2. ความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) 1.3 ความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) 1.4. ความเชื่อมั่นโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด (Generalizability Theory)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :10.2.1 ทำให้ได้แบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปประเมินทักษะการคิดขั้นสูงของนักศึกษาได้ 10.2.2 เป็นแนวทางให้ผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ การวางแผน ปรับปรุงและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง 10.2.3 เป็นแนวทางในการสร้างแบบวัดทักษะการคิดประเภทอื่น ๆต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. ทฤษฎีการทดสอบ ทฤษฎีการทดสอบ เป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบ วิธีการแก้ปัญหาของการทดสอบและพัฒนาเครื่องมือวัด ทฤษฏีการทดสอบได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เหมาะสมกับคุณลักษณะที่ต้องการวัดเฉพาะด้านต่างๆ ของบุคคล ทฤษฎีการทดสอบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory: CTT) ใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีวัดที่นิยมใช้จนถึงปัจจุบัน และทฤษฎีที่มาการพัฒนาขึ้นมาและเป็นที่สนใจอย่างยิ่งของนักวัดผล คือ ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) ซึ่งเป็นทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่ โดยมีรายละเอียดของทฤษฎีทั้งสองประเภทดังนี้ 1.1 ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory: CTT) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าการวัดจะมีผลกระทบจากความคลาดเคลื่อนเสมอ และความคลาดเคลื่อนของการวัดมีลักษณะเป็นหนึ่งเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ (ศิริชัย กาญจนวาสี. 2555) ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมมีข้อตกลงเบื้องต้นที่สำคัญคือ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบเป็นค่าเฉพาะของกลุ่มผู้สอบและอิสระจากความสามาถของผู้สอบ ความคลาดเคลื่อนจากการวัดเป็นค่าเฉพาะของประชากรและมีค่าคงที่สำหรับทุกๆสมาชิกของประชาชน โมเดลคะแนนจริงแบบดั้งเดิมเป็นสมการ คือ คะแนนที่ได้จากการวัดซึ่งเกิดจากคะแนนจริงบวกกับคะแนนความคลาดเคลื่อน ตามสมการดังนี้ X = T + E (1) ข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions) 1. คะแนนที่ได้จากการวัดของผู้สอบแต่ละคน เป็นผลรวมของคะแนนจริง (True score) และคะแนนความคลาดเคลื่อน (Error score) ของผู้สอบนั้น 2. คะแนนจริงเป็นค่าคาดหวังของคะแนนสังเกตได้ของประชากร E(X)=T ซึ่งเกิดจากการทดสอบโดยใช้แบบสอบฉบับหนึ่งหลายๆ ครั้ง โดยการสอบแต่ละครั้งเป็นอิสระต่อกัน 3. คะแนนความคลาดเคลื่อน และคะแนนจริงที่ประชากรผู้สอบทำแบบทดสอบฉบับหนึ่งไม่มีความสัมพันธ์กัน 4. คะแนนความคลาดเคลื่อนในการทำแบบทดสอบสองฉบับที่แตกต่างกันไม่มีความสัมพันธ์กัน หมายความว่า ผู้สอบคนหนึ่งมีคะแนนความคลาดเคลื่อนเป็นทางบวกในการทำแบบทดสอบฉบับหนึ่ง แต่อาจมีความคลาดเคลื่อนทางบวกหรือทางลบกับอีกฉบับหนึ่งก็ได้ 5. คะแนนความคลาดเคลื่อนในแบบทดสอบฉบับหนึ่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนจริงในแบบทดสอบฉบับที่สอง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต และเพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน 3 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ การศึกษาเชิงปริมาณ ขั้นตอนที่ 1 สร้างกรอบแนวคิดและกำหนดโมเดลองค์ประกอบทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 กำหนดโมเดลองค์ประกอบทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ขั้นตอนที่ 3 สร้างแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต นำแบบวัดที่ได้ไปเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูล หาคุณภาพของเครื่องมือ และปรับปรุงโมเดล การสร้างแบบวัด มีขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบวัดที่ถูกต้อง 2. นำกรอบแนวคิดเบื้องต้นที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 มาสร้างแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ทั้งนี้พยายามตั้งข้อคำถามในแต่ละข้อให้ครอบคลุมองค์ประกอบทักษะการคิดขั้นสูงเพื่อการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ 3. ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และความตรงเชิงโครงสร้าง โดยนำแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยา และด้านการวัดและประเมินผล จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของข้อคำถามที่สร้างขึ้นแต่ละองค์ประกอบ จากนั้นปรับปรุงแก้ไขแบบวัดตามคำแนะนำ และจัดทำเป็นรูปเล่ม 4. วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดด้วยการนำเครื่องมือไปทดสอบกับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยวิธีหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของคูเดอร?–ริชาร?ดสัน (KR-20) และทำการวิเคราะห์รายข้อ (Item analysis) เพื่อค้นหาข้อคำถามที่ทำให้ความเชื่อมั่นของแบบวัดทักษะการคิดขั้นสูงมีค่าต่ำ และปรับปรุงรายข้อเกี่ยวกับข้อคำถามเพื่อให้เข้าใจตรงกันมากขึ้นโดยใช้หลักทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และการหาค่าความเชื่อมั่นโดยประยกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง พิมพ์เป็นรูปเล่ม การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องวัด ค่าความยาก ค่าอำนาจจำนก และค่าโอกาสการเดา โดยยึดหลักทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ใช้โปรแกรม IRTPRO และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น โดยยึดหลักทฤษฎีการสรุปอ้างอิง (G Theory) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทัษะการคิดด้านการคิดวิเคราะห์ และการคิดแก้ปัญหา ศึกษาค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ ด้วยโปรแกรม LISREL Version 9.1 และตรวจสอบความสอดคล้องของข้อมูลจากการศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์และทำการปรับปรุงโมเดล 13. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :745 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอาวีพร ปานทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายชม ปานตา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด