รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000138
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษ ที่ 21
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Training Curriculum to competency teaching of the learning management in 21st Century.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :หลักสูตรฝึกอบรม , สมรรถนะการสอน, ศตวรรษที่ 21
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2545 แนวการจัดการศึกษาคือ ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลและในการจัดกระบวนการเรียนรู้ควรให้ความสำคัญกับการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น สถาบันผลิตครูไม่สามารถผลิตครูให้มีคุณลักษณะตามที่สังคมต้องการได้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิตครูมีประสิทธิผลต่ำ ถ้าพิจารณาจากหลักสูตรการผลิตครูจะพบว่าหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่กำหนดจากส่วนกลางและผูกติดกับแนวคิดสากลมากกว่าท้องถิ่น เน้นทฤษฎีมากกว่าการปฏิบัติจริง เน้นองค์ความรู้มากกว่าวิธีแสวงหาความรู้ วิชาที่สอนเป็นแบบแยกส่วน ขาดความเชื่อมโยงและบูรณาการ มีผลให้ผู้เรียนไม่ได้พัฒนาทักษะและวิธีการมองปัญหาในเชิงองค์รวม กระบวนการเรียนการสอนเพื่อผลิตครูยังเน้นครูเป็นศูนย์กลาง เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้มากกว่าการส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ รักที่จะเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอนเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนและการวัดผลฝ่ายเดียว ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วม และ ที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนขาดการประสานสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของท้องถิ่นและชุมชน ทำให้นักศึกษาครูไม่สามารถเรียนรู้ และพัฒนาวิชาชีพครูให้เหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิตของสภาพแวดล้อมได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ สื่อ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้ในสถาบันผลิตครูไม่เอื้อให้นักศึกษาครู แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเอง การวัดผลและประเมินผลเน้นการสอบวัดเนื้อหาวิชาการมากกว่าการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ชี้นำแนวความคิดและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับการเป็นครูในอนาคต และที่สำคัญ หลักสูตรการผลิตครูไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการผลิตครูรุ่นใหม่ซึ่งต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีความพร้อมทั้งความรู้ในเนื้อหาวิชาการ ความสามารถในการชี้นำความรู้ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอและมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งสามารถปรับใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพได้ (สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ, 2540) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันยังมุ่งเน้นการสอนที่ครูเป็นศูนย์กลางจึงไม่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากสภาพแวดล้อมในชุมชนและสังคมผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้ จากสภาพจริงหรือจากการปฏิบัติจริง(กระทรวงศึกษาธิการ, 2542 : 4) และครูยังยึดการสอนโดยเป็นผู้ให้ความรู้เพียงฝ่ายเดียว เน้นการเรียนการสอนในห้องเรียน ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ไม่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น ไม่แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการจัด การเรียนการสอนยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาคนให้มีลักษณะ“มองกว้าง คิดไกล ใฝ่รู้” พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน คือ การนั่งฟัง จดบันทึก การสอนจะให้ผู้เรียนมีคุณภาพนั้นจะต้องเตรียมสื่อ กิจกรรม แหล่งข้อมูล ที่หลากหลายให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้มาก เน้นกระบวนการคิด กระบวนการกลุ่ม นำความรู้ไปใช้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2543 : 47) การที่บุคคลจะแสดงสมรรถนะใดสมรรถนะหนึ่งได้ มักจะต้องมีองค์ประกอบของทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถ และคุณลักษณะอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สมรรถนะการบริการที่ดี ซึ่งอธิบายว่า“สามารถให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้” นั้น หากขาดองค์ประกอบต่างๆได้แก่ ความรู้ในงานหรือทักษะที่เกี่ยวข้อง และคุณลักษณะของบุคคลที่เป็นคนใจเย็น อดทน ชอบช่วยเหลือผู้อื่นแล้วบุคคลก็ไม่อาจจะแสดงสมรรถนะของการบริการที่ดีด้วยการให้บริการที่ผู้รับบริการต้องการได้กล่าวอีกนัยหนึ่ง สมรรถนะ ซึ่งก็คือลักษณะเชิงพฤติกรรมเป็นกลุ่มพฤติกรรมที่องค์การต้องการจากข้าราชการ เพราะเชื่อว่าหากข้าราชการมีพฤติกรรม การทำงานในแบบที่องค์การกำหนดแล้ว จะส่งผลให้ข้าราชการผู้นั้นมีผลการปฏิบัติงานดี และส่งผลให้องค์กรบรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการไว้ (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. 2548 : 6) สมรรถนะ (Competency) คือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะความสามารถและคุณลักษณะอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่นในองค์กร สมรรถนะ(Competency) มีแนวคิดพื้นฐานมาจากแนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่นในเรื่องเชาวน์ปัญญาและบุคลิกภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในองค์การ ซึ่งเป็นเรื่องที่นักจิตวิทยาองค์การได้ศึกษากันมาเป็นเวลานานแล้ว กล่าวกันว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา สมรรถนะ (Competency) ให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือไปจากการวัดเชาวน์ปัญญา สมรรถนะ Competency เปลี่ยนการเน้นการวิเคราะห์คนมากกว่าการวิเคราะห์งาน เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบองค์การสมัยใหม่ที่เน้นการทำงานเป็นโครงการ และลักษณะงานที่กว้างและหลากหลาย สมรรถนะ (Competency) เริ่มใช้เมื่อปี 1973 McClelland ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง ต่อมาบริษัทในกลุ่มบริษัท เฮย์กรุ๊ป ได้มีการนำมาใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล เพื่อเข้าทำงานและเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลาย รวมทั้งภาคเอกชนของไทยด้วย ส่วนภาคราชการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ร่วมกับบริษัทเฮย์กรุ๊ปได้จัดทำ Competency Model ของระบบราชการไทย เพื่อให้ได้ต้นแบบสมรรถนะ หรือ Competency Model สำหรับระบบราชการไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ข้าราชการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมกับหน้าที่และส่งเสริมให้ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้แนวคิดในการจัดการศึกษาทุกระดับต้องมีความทันสมัยและปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลในแต่ละองค์กร โดยกระบวนการที่สามารถพัฒนาองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาที่ต้องผลิตบัณฑิต และให้บัณฑิตสามารถนำความรู้ไปใช้ในอนาคตได้นั้นต้องอาศัยกระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรงของคณาจารย์และนักศึกษาได้ปฏิบัติร่วมกันในขณะที่อยู่ในมหาวิทยาลัย สมรรถนะของการพัฒนามนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาตามหลักทฤษฏีของ competency based curriculum นั้นต้องอาศัยหลักของการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตามกรอบของผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนซึ่งต้องใช้เครื่องมือการวัดผลและประเมินผลที่สอดคล้องกับโครงสร้างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ โดยการเรียนรู้นั้นต้องอาศัยแนวทางการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยกระบวนการบูรณาการสาระวิชาที่ส่งผลต่อสมรรถนะของนักศึกษา ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดสมรรถนะการสอนของนักศึกษาวิชาชีพครู ในการผลิตครูให้มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาประเทศต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 3. เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21
ขอบเขตของโครงการ :6.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาสาระของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม และเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม ประกอบด้วย คู่มือดำเนินการฝึกอบรมและแผนการฝึกอบรม 2. ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 โดยใช้เนื้อหาการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 3. การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตรวรรษที่ 21 โดยการประเมิน โดยใช้การประเมินเชิงระบบCIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Deniel L. tufflebeam) มาใช้ 3.1 การประเมินสภาวะแวดล้อม ( Context) เกี่ยวกับ หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของ หลักสูตรฝึกอบรม และการเตรียมการดำเนินการฝึกอบรม 3.2 การประเมินปัจจัยนำ ( Input) เกี่ยวกับ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้และงบประมาณ 3.3 การประเมินกระบวนการ ( Process) เกี่ยวกับ การดำเนินงาน กิจกรรมการดำเนินงานตามหลักสูตรฝึกอบรม และการประเมินผล 3.4 การประเมินผลผลิตผลิต ( product ) เกี่ยวกับ ผลการดำเนินงานตามหลักสูตรฝึกอบรม และคุณภาพของผู้เข้ารับการอบรม 6.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ครู โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี 6.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นครสวรรค์ อุทัยธานี 6.4 ขอบเขตด้านเวลา ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.2 ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 11.3 สามารถนำหลักสูตรดังกล่าวไปขยายผลในการฝึกอบรมครูให้มีความสามารถในด้านการสอนและการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับทักษะในศตรวรรษที่ 21 แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สนใจ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร 1.1 ความหมายของหลักสูตร ในการจัดการศึกษาที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น ต้องอาศัยหลักสูตรเป็นเครื่องมือนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ถ้าปราศจากหลักสูตรการจัดการศึกษาก็จะไม่สำเร็จลุล่วงไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นหลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เพราะหลักสูตรจะเป็นโครงร่างกำหนดไว้ว่าจะให้เด็กได้รับประสบการณ์อะไรบ้าง จึงจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กและสังคม หลักสูตรเป็นแนวทางที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้แก่ผู้เรียน อีกทั้งยังเป็นเครื่องชี้ให้เห็นรูปแบบของสังคมในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไรอีกด้วย ดังคำกล่าวของนักการศึกษาและนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายและความสำคัญที่สอดคล้องและแตกต่างกันดังนี้ Good (1973, p.157) ได้ให้ความหมายของคำว่าหลักสูตรไว้ในพจนานุกรมทางการศึกษาว่า หลักสูตร คือ กลุ่มรายวิชาที่จัดไว้อย่างมีระบบ หรือลำดับวิชาที่บังคับสำหรับการจบการศึกษาหรือเพื่อรับประกาศนียบัตรในสาขาวิชาหลักต่าง ๆ เช่น หลักสูตรสังคมศึกษา หลักสูตรพลศึกษา สุมิตร คุณานุกร (2520, หน้า 2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรไว้ใน 2 ระดับคือ 1. หลักสูตรระดับชาติ หมายถึง โครงการให้การศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะสอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษาที่กำหนดไว้ 2. หลักสูตรระดับโรงเรียน หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายที่โรงเรียนจัดให้แก่นักเรียน ไม่ว่าจะเรียนภายในหรือภายนอกโรงเรียนก็ตาม เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ เสริมศรี ไชยศร (2526, หน้า 2-3) ได้ให้ความหมายของหลักสูตรใน 2 ลักษณะ คือ 1. หลักสูตร หมายถึง ประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียนในความรับผิดชอบของสถาบันหนึ่ง ซึ่งประสบการณ์ของผู้เรียน ได้แก่ 1) ประสบการณ์ที่คาดหวัง 2) ประสบการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เช่น กำลังเรียน กำลังสอน หรือกำลังทำกิจกรรมอื่น ๆ ในโครงการกิจกรรมนักเรียนและ 3) ประสบการณ์ที่เป็นผลของการเรียนการสอน หรือของการจัดกิจกรรมในโครงการอื่นซึ่งอาจมีนอกเหนือไปจากสิ่งที่คาดหวัง 2. หลักสูตร หมายถึง แผนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการสอน หรือก่อนการปฏิบัติจริงในโครงการใดก็ตาม ซึ่งหลักสูตรในความหมายนี้จะมีลักษณะเป็น “โครงการ” หรือเป็น “แนวทางปฏิบัติ” สอดคล้องกับที่ สงบ ลักษณะ (2540, หน้า 41) ได้กล่าวไว้ว่า “หลักสูตร คือมวลประสบการณ์ทั้งมวลที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ มีความสามารถทางทักษะ เจตคติ และคุณสมบัติอันเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร”นอกจากนี้ ธำรง บัวศรี (2542, หน้า 7) กล่าวว่า “หลักสูตร คือ แผนซึ่งได้ออกแบบจัดทำขึ้น เพื่อแสดงถึงจุดหมาย การจัดเนื้อหา กิจกรรมและมวลประสบการณ์ในแต่ละโปรแกรม การศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ตามจุดหมายที่กำหนดไว้”จากความหมายของหลักสูตรดังได้กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า หลักสูตร หมายถึงแผนประสบการณ์ หรือมวลประสบการณ์ หรือโครงการ หรือแนวทางให้ปฏิบัติ ที่จัดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบ เพื่อจัดให้กับผู้เรียน และให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาการในด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา และทักษะต่าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้ ทุกประการโดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาวิชาของแต่ละวิชากิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :12.1 วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการสอนด้านกาจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 12.2 สถานที่ทำการทดลอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :581 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายทองแดง สุกเหลือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด