รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000136
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Approach graphic design on the packaging to communicate Flavors and Look of honey products.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ออกแบบกราฟิก , บรรจุภัณฑ์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :12 กุมภาพันธ์ 2558
วันสิ้นสุดโครงการ :11 กุมภาพันธ์ 2559
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :บรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากการปกป้องรักษาสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ส่วนประกอบภายนอกของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ยังทำหน้าที่อีก 2 บทบาทหลัก คือ การโฆษณาและการขาย (ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ, 2541) อีกทั้งยังสามารถแสดงข้อมูลอาหาร เช่น ข้อมูลด้านโภชนาการ ส่วนประกอบของอาหาร วันที่ผลิต วันหมดอายุ คำแนะนำ และเครื่องหมายเลขทะเบียนหรือเลขอนุญาตจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดังนั้น บรรจุภัณฑ์จึงเป็นสิ่งที่แสดงรวมไว้ซึ่งรูปร่างลักษณะของภาชนะบรรจุและการออกแบบ สีสัน รูปร่าง ตราฉลาก ข้อความโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้บริโภคให้หยิบยกเอาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ บทบาทในหน้าที่นี้จึงเปรียบจึงเปรียบเสมือน การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เป็น พนักงานขายเงียบ ที่ทำหน้าที่โฆษณา ประชาสัมพันธ์ แทนคน ณ บริเวณจุดซื้อ น้ำผึ้ง เป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพการผลิตและส่งออกสูง โดยปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกน้ำผึ้ง จำนวน 8,945.17 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 577.64 ล้านบาท มีตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศเยอรมนี ไต้หวัน และซาอุดีอาระเบีย กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรให้แข่งขันกับต่างประเทศโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตรและสร้างความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งน้ำผึ้งเป็นสินค้าทางการเกษตรชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลก จึงสนับสนุนให้เกษตรกรเห็นความสำคัญในเรื่องของมาตรฐานการผลิต เพื่อให้ได้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค และเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งได้ราคาน้ำผึ้งที่สมเหตุผลสอดคล้องกับคุณภาพของน้ำผึ้ง รวมถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สวยงามเพื่อก่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าสินค้าผลิตภัณฑ์ผึ้งเป็นการยกระดับน้ำผึ้งไทยสู่ครัวโลก(หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 28 สิงหาคม 2556) กลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทันธานี เป็นกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมการการทำสวนผลไม้ เกษตรกรมีรายได้จากการขายน้ำผึ้ง ในขณะเดียวกันผึ้งช่วยผสมเกสรให้กับพืชผลไม้ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็ง และต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งให้มีคุณภาพ มาตรฐาน การวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง จะเกิดประโยชน์กับกลุ่มชุมชนในประเทศไทย ที่ต้องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งเพื่อขายในประเทศหรือเพื่อส่งออก ทั้งนี้ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์เฉพาะชุมชนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาประชาชนเท่านั้น ยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต กระจายรายได้ไปยังส่วนภูมิภาคและกระจายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(นิพนธ์ เชื้อเมืองแมน,2542) อีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อผู้บริโภคในการรับรู้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ จึงมีการค้นคว้าแนวทางในการใช้องค์ประกอบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ซึ่งจะเป็นตัวนำเสนอและบ่งบอกรสชาติ หน้าตา ของผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ รวมถึงต้องมีความสวยงามเพียงพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคให้หยิบจับสินค้าเหล่านั้นขึ้นมาจนเกิดการตัดสินใจซื้อ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 2. เพื่อกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก ที่สื่อถึงรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. เพื่อประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
ขอบเขตของโครงการ :1.ศึกษาทฤษฎีและวิเคราะห์รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นที่รูปแบบกราฟิก 2 มิติ เฉพาะองค์ประกอบกราฟิกที่สำคัญ ได้แก่ ภาพ สี สัญลักษณ์ ตัวอักษร และการจัดองค์ประกอบ 2. รวบรวมกลุ่มตัวอย่างเฉพาะที่เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งที่เป็นของกลุ่มเกษตรกร ที่วางจำหน่ายในจังหวัดอุทัยธานี เท่านั้น 3. ออกแบบต้นแบบบรรจุภัณฑ์เฉพาะกลุ่มยุวเกษตรกรบ้านชุมยาง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. สร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 2. ได้แนวทางการออกแบบกราฟิก เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. ทราบถึงการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง 4. สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรอื่นๆได้ 5. สามารถนำมาบูรณการ เข้ากับเรียนการสอนในวิชาการออกแบบกราฟิก 4 ได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ในสมัยก่อนนั้น การใช้บรรจุภัณฑ์ก็เพื่อเก็บรักษาสินค้าให้คงสภาพ (Protection) ในระยะเวลาหนึ่งหรือจนกว่าจะนำไปใช้ แต่เมื่อมีการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น บรรจุภัณฑ์จึงมีบทบาทในด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) เริ่มเน้นเรื่องความสวยงาม สะดุดตา ตลอดจนความสะดวกในการนำไปใช้ บรรจุภัณฑ์ในปัจจุบันมีหน้าที่ 1.1 ทำหน้าที่รองรับ (Contain) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่รองรับสินค้าให้รวมกันอยู่เป็นกลุ่มน้อย หรือตามรูปร่างของภาชนะนั้น ๆ 1.2 ป้องกัน (Protect) บรรจุภัณฑ์จะทำหน้าที่ป้องกันคุ้มครองสินค้าที่บรรจุอยู่ภายในไม่ให้ยุบ สลาย เสียรูปหรือเสียหายอันเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยสภาพดินฟ้าอากาศ ระยะเวลาในการเก็บรักษา สภาพการขนส่ง กล่าวคือให้คงสภาพลักษณะของสินค้าให้เหมือนเมื่อผลิตออกจากโรงงานให้มากที่สุด 1.3 ทำหน้าที่รักษา (Preserve) คุณภาพสินค้าให้คงเดิมตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย 1.4 บ่งชี้ (Identify) หรือแจ้งข้อมูล (Inform) รายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้าเกี่ยวกับชนิด คุณ - ภาพและแหล่งที่มาหรือจุดหมายปลายทาง โดยหีบห่อต้องแสดงข้อมูลอย่างชัดเจนให้ผู้บริโภครู้ว่าสินค้าที่อยู่ภายในคืออะไร ผลิตจาที่ไหน มีปริมาณเท่าใด ส่วนประกอบ วันเวลาที่ผลิต วันเวลาที่ หมดอายุ การระบุข้อความสำคัญ ๆ ตามกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและยา ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) 1.5 ดึงดูดความสนใจ (Consumer Appeal) และช่วยชักจูงในการซื้อสินค้า เนื่องจากสินค้าชนิดใหม่มีเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา การแข่งขันทางด้านตลาดก็เพิ่มมากขึ้นทุกวัน ผู้ซื้อสินค้าย่อมไม่อาจติดตามการเคลื่อนไหวทางด้านตลาดได้ทัน หีบห่อจึงต้องทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกบรรจุอยู่ให้กับผู้ซื้อด้วย ต้องดึงความสนใจของผู้ซื้อที่ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้สนใจในการใช้ และหลังจากใช้แล้วเกิดความพอใจที่จะซื้อใช้อีก หีบห่อจะทำหน้าที่ขายและโฆษณาสินค้าควบคู่กันไปในตัวด้วย เสมือนหนึ่งเป็นพนักงานขายเงียบ (Silent Salesman) ดังนั้นการที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจ และชักจูงใจให้เกิดการซื้อได้จึงเป็นผลจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่น ขนาด รูปร่าง สี รูปทรง วัสดุ ข้อความรายละเอียด ตัวอักษร ฯลฯ 1.6 ช่วยเพิ่มผลกำไร หีบห่อจะทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ไม่ได้ ถ้าหากหีบห่อไม่สามารถช่วยเพิ่มผลกำไรให้กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ หีบห่อสามารถช่วยส่งเสริมยุทธวิธีการตลาด โดยการเปิดตลาดใหม่หรือการเพิ่มยอดขายให้กับสินค้าแต่ละชนิด เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต 1.7 สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 1.8 การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด 1.9 การแสดงตัว (Presentation) คือ การสื่อความหมาย บุคลิก ภาพพจน์ การออกแบบและสีสันแห่งคุณภาพ ความคุ้มค่าต่อผู้บริโภค / ผู้ใช้ / ผู้ซื้อ ให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ชัดแจ้ง สร้างความมั่นใจ เห็นแล้วอดซื้อไม่ได้ 1.10 การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้ 2.ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ การออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ เป็นการบอกถึงเรื่องราวของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มี ทั้งผลดีและผลเสียของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลที่นักออกแบบกราฟิกควรนำเสนอมีดังนี้ คือ ประเภท 1. ส่วนประกอบหรือส่วนผสมโดยประมาณ 2. คุณค่าทางสมุนไพร 3. ขั้นตอนหรือวิธีใช้ 4. การเก็บรักษา 5. วันที่ผลิตและวันหมดอายุ 6. คำบรรยายสรรคุณ 7. ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต 3.การใช้ตัวอักษรและตัวพิมพ์ ประชิด ทินบุตร (2530 :29) กล่าวไว้ว่า ตัวอักษรหรือตัวพิมพ์จัดว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญอันดับแรกของการออกแบบ การออกแบบโดยทั่ว ๆ ไป มีการนำตัวอักษรมาใช้เพื่อการออกแบบเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ 1. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนดึงดูดตา มีลักษณะตัวอักษรแบบ Display face เพื่อต้องการตกแต่งหรือการเน้นข้อความข่าวสารให้สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ดู ผู้อ่าน ด้วยการใช้ขนาดรูปแบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ มีความเด่นเป็นพิเศษ 2. ใช้ตัวอักษรเป็นส่วนบรรยายหรืออธิบายเนื้อหา คือ การใช้ตัวอักษรเป็น Book face หรือเป็นตัว Text ที่มีขนาดเล็กในลักษณะของการเรียงพิมพ์ข้อความเพื่อการบรรยายหรืออธิบายส่วนประกอบปลีกย่อย และเนื้อหาที่สื่อสารเผยแพร่ ดังนั้นการที่จะนำตัวอักษรมาใช้ในการออกแบบกราฟิกผู้ออกแบบจึงควรที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ถึงส่วนประกอบของตัวอักษรในภาษาต่าง ๆ ในเรื่อง รูปแบบตัวอักษร รูปลักษณะของตัวอักษร ขนาดตัวอักษร 4.ความคิดพื้นฐาน Fundamental Concept ความคิดรวบยอดพื้นฐานสำหรับการแก้ปัญหาการจัดวางตัวอักษร จำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาความขัดแย้งกัน (Contrast) ของตัวอักษร ต้องเปรียบเทียบผลการมองเห็นที่ขัดแย้งกันของประชากรเป้าหมาย สภาพตัดกันหรือขัดแย้งกันเป็นตัวแสดงพลัง ในอันที่จะช่วยให้การออกแบบเสนอความคิดที่ชัดเจนขึ้น ความขัดแย้งคือ พลังอันเร้าใจทางการเห็น (Force of Visual Intensity) และช่วยให้กระบวนการสื่อสารง่ายดายขึ้นได้ 1.เข้าใจง่าย Readability ความเข้าใจในสื่อสารเกินความถึงการจัดตัวอักษรแบบต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพส่วนรวม ที่มองเห็นได้ เป็นความง่ายบนการผสมผสานแบบตัวอักษร สัญลักษณ์ ภาพถ่าย และภาพประกอบเข้าด้วยกัน ( รวมความซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ) 2.อ่านง่าย Legibility เป็นการเกี่ยวข้องกับการออกแบบหรือเลือกแบบตัวอักษรที่แสดงบุคลิกเฉพาะตัว ให้อ่านง่าย รวดเร็ว การทดสอบอาจทำโดยอ่านตัวอักษรแต่ละแบบ แล้วเปรียบเทียบเวลาของการอ่าน 5.ประโยชน์ของบรรจุภัณฑ์ 1. การป้องกัน (Protection) เช่น กันน้ำ กันความชื้น กันแสง กันแก๊ส เมื่ออุณหภูมิสูงหรือต่ำ ด้านทานมิให้ผลิตภัณฑ์แปรสภาพไม่แต่ไม่ฉีกขาดง่าย ปกป้องให้สินค้าอยู่ในสภาพใหม่สดอยู่ในสภาวะแวดล้อมของตลาดได้ในวงจรยาว โดยไม่แปรสภาพขนานแท้และดั้งเดิม 2. การจัดจำหน่ายและการกระจาย (Distribution) เหมาะสมต่อพฤติกรรมการซื้อขายเอื้ออำนวยการแยกขาย ส่งต่อ การตั้งโชว์ การกระจาย การส่งเสริมจูงใจในตัว ทนต่อการขนย้าย ขนส่ง และการคลังสินค้า ด้วยต้นทุนสมเหตุสมผล ไม่เกิดรอยขูดขีด / ชำรุด ตั้งแต่จุดผลิตและบรรจุจนถึงมือผู้ซื้อ / ผู้ใช้ / ผู้บริโภค ทนทานต่อการเก็บไว้นานได้ 3. การส่งเสริมการจำหน่าย (Promotion) เพื่อยึดพื้นที่แสดงจุดเด่น โชว์ตัวเองได้อย่างสะดุดตา สามารถระบุแจ้งเงื่อนไข แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอผลประโยชน์เพิ่มเติมเพื่อจูงใจผู้บริโภค เมื่อต้องการจัดรายการเพื่อเสริมพลังการแข่งขัน ก็สามารถเปลี่ยนแปลงและจัดทำได้สะดวก ควบคุมได้และประหยัด 4. การบรรจุภัณฑ์กลมกลืนกับสินค้า และกรรมวิธีการบรรจุ (Packaging) เหมาะสมทั้งในแง่การออกแบบ และเพื่อให้มีโครงสร้างเข้ากับขบวนการบรรจุ และเอื้ออำนวยความสะดวกในการหิ้ว – ถือกลับบ้าน ตลอดจนการใช้ได้กับเครื่องมือการบรรจุที่มีอยู่แล้ว หรือจัดหามาได้ ด้วยอัตราความเร็วในการผลิตที่ต้องการ ต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่ำหรือสมเหตุสมผล ส่งเสริมจรรยาบรรณและรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและอยู่ในทำนองคลองธรรมถูกต้องตามกฎหมายและพระราชบัญญัติต่าง ๆ 5. เพิ่มยอดขาย เนื่องจากในตลาดมีสินค้าและคู่แข่งเพิ่มขึ้นตลอดเวลา หากบรรจุภัณฑ์ของสินค้าใดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี จะสามารถดึงดูดตา ดึงดูดใจผู้บริโภคและก่อให้เกิดการซื้อในที่สุด รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต 6. ทฤษฎีสีของโคบายาชิ (Shigenobu Kobayashi) เป็นทฤษฎีที่ค้นคว้าเกี่ยวกับสุนทรียภาพของสี โดยใช้วิธีการหาตำแหน่งเฉพาะของสีที่ปรากฏในวัตถุที่ต้องการหา ด้วยคำศัพท์ที่สื่อความหมายด้านอารมณ์ความรู้สึกถึง 180 คำ นำมาเชื่อมโยงกับชุดสีตามทฤษฎีแม่สีวัตถุธาตุของมันเซลล์
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1.สมมุติฐาน การใช้องค์ประกอบทางด้านการออกแบบกราฟิกสามารถนำมาจัดวางเพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ และแสดงบุคลิกของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งได้หรือไม่ กรอบแนวคิดในการในหาบุคลิกที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - ศึกษาข้อมูลลักษณะของผลิตภัณฑ์ ด้านการผลิต การบรรจุหีบห่อ การจัดจำหน่าย ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์ และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ - ศึกษาด้านสีกับบุคลิกภาพ ตามแนวคิดของ โคบายาชิ (Shigenobu Kobayashi: 1990) ที่กล่าวไว้ว่า การแบ่งประเภทของสีที่ตั้งอยู่บนพื้นบานของบุคลิกภาพนั้น จะเป็นตังแปรที่สำคัญที่ทำให้สามารถเข้าใจ และรับรู้ถึงการผสมผสานของสีเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่ง โคบายาชิได้แบ่งคำย่อยๆ ทั้งหมด 180 บุคลิกภาพ กรอบแนวคิดในการกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง -ทฤษฎีการใช้สี Color Image Scale (Shigenobu Kobayashi, 1990) ดังนี้ 1.พื้นฐานของสี 2. ความเข้าใจในการรับรู้เรื่องสี 3. จิตวิทยาสี 4. วิธีการใช้สีบนงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ -ทฤษฎีการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ (พิทย์พันธ์ สิทธิรักษ์, 2547) ดังนี้ 1. ภาพ 2. สี 3. ตัวอักษร 4. สัญลักษณ์ 5. การจัดวางองค์ประกอบบนบรรจุภัณฑ์ - ทฤษฎีการรับรู้ของผู้บริโภค ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้งห้า (Hanna และ Wozniak, 2001) ดังนี้ 1. มองเห็น (Vision) 2. การดมกลิ่น (Smell) 3. การรับรส (Taste) 4. การได้ยินเสียง (Sound) 5. การสัมผัส (Touch) โดยผู้วิจัยเลือกศึกษาการรับรู้ของบริโภคที่เกิดจากการมองเห็นเท่านั้น กรอบแนวคิดในการประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์นำผึ้ง ในขั้นตอนการประเมินการรับรู้ผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ น้ำผึ้งใช้กรอบแนวคิดในการศึกษา ดังนี้ 1.ด้านการรับรู้(ด้านการมองเห็น) - รสชาติ (กลิ่นรส) - รูปลักษณ์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ขั้นตอนหาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - ศึกษาและรวบรวมทฤษฎีของการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ - รวบรวมตัวอย่างบรรจุภัณฑ์ที่เป็นบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลอด - จำแนกบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้ง ได้แก่ ภาพ สี สัญลักษณ์ ตัวอักษร - กำหนดบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งร่วมกันระหว่างกลุ่มเกษตรกรและผู้วิจัย 2. ขั้นตอนกำหนดแนวทางการออกแบบกราฟิก เพื่อสื่อรสชาติ รูปลักษณ์ ของผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - สังเคราะห์ผลที่ได้จากการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์ตัวอย่างที่รวบรวมมาเข้ากับทฤษฏีองค์ประกอบศิลป์ ที่แสดงถึง รสชาติ และ รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และแสดงถึงบุคลิกภาพของบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้งได้ ผู้วิจัยได้กำหนดประเด็นในการออกแบบให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การรับรู้รสชาติ สื่อด้วยกลุ่มสี ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงรสชาติของผลิตภัณฑ์ ประเด็นที่ 2 การรับรู้รูปลักษณ์ สื่อด้วยภาพและลวดลายกราฟิก ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้ถึงลักษณะของผลิตภัณฑ์ -ออกแบบและพัฒนารูปแบบตามแนวทางที่ได้สังเคราะห์ร่วมกันระหว่างเกษตรกรและผู้วิจัยเพื่อให้ได้รูปแบบขององค์ประกอบสี สัญลักษณ์ ภาพ และตัวอักษร ที่ออกแบบจัดวางให้เกิดรูปแบบกราฟิกต้นแบบสำหรับบรรจุภัณฑ์น้ำผึ้ง 3. ขั้นตอนประเมินการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง - ประเมินโดยใช้แบบสอบถาม พร้อมภาพประกอบต้นแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1560 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายจิรทัศน์ ดาวสมบูรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวเพ็ญนภา มณีอุด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด