รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000133
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยรูปแบบการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Nakhon Sawan Rajbhat University’s Preservice Teacher Professional Unit Based on The Participatory Development Model
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ,การพัฒนาแบบมีส่วนร่วม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (บัณฑิต)
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 7 มาตรา 52 (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,2545 : 30) ให้ส่งเสริมให้มีระบบกระบวนการผลิต การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าวหลักสูตรการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงมีการปรับปรุงเป็นหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2549 โดยมุ่งเน้นจัดการเรียนรู้ภายใต้การดำเนินงานทางการศึกษา และการจัดการศึกษาที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาระบบ การทำงานโดยยึดหลักความเสมอภาค ความถูกต้อง ความชอบธรรม มุ่งผลิตครูที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) (หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2549,2549) นอกจากนั้นยังกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตครูว่าจะต้องมีความรักความศรัทธา ภูมิใจในวิชาชีพครูและมีจรรยาบรรณของวิชาชีพครู มีคุณธรรม จริยธรรม มีความเมตตากรุณาต่อผู้เรียน มีจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง สังคม มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยรูปแบบการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
ขอบเขตของโครงการ :ด้านพื้นที่ การดำเนินการเก็บข้อมูลโรงเรียนในเขตให้บริการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท ประชากร ได้แก่ 1. อาจารย์นิเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง ในโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท ด้านเนื้อหาในการวิจัยในครั้งนี้จะทำการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในบริบทของครู ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องในหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จากนั้นจะนำผลจากการสำรวจมาสร้างกรอบการสนทนากลุ่ม เพื่อหาแนวทางการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูแบบร่วมมือ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้แนวทางการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยรูปแบบการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม 2.ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้ได้แนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของทุกฝ่าย 3.กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย ทำให้เกิดความตระหนักในการพัฒนาร่วมกัน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การวิจัยเรื่อง การพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยรูปแบบการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ดังต่อไปนี้ -การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู – การสนทนากลุ่ม การวิจัยและพัฒนา การพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการวิจัยในครั้งนี้ จะดำเนินการเก็บข้อมูลในโรงเรียนเขตให้บริการของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี และชัยนาท ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มีดังนี้ 1. ศึกษาเอกสาร รายงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู การพัฒนาศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในสถาบันผลิตครู สภาพปัจจุบันและปัญหาของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหลักการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม 2. สำรวจความคิดเห็นของครู ผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นทำการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติทดสอบทีแบบอิสระจากกัน (Independent t - test) รวมทั้งทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม ในกรณีประชากรมากกว่า 2 กลุ่ม ด้วยการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (one-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อคำถามปลายเปิดโดยการจำแนกประเภท แจกแจงความถี่ แล้วสรุปแบบความเรียง 3. นำผลการสำรวจความคิดเห็นจากแบบสอบถามในขั้นตอนแรกมาสังเคราะห์และสร้างกรอบการสนทนากลุ่ม จากนั้นดำเนินการสนทนากลุ่ม โดยกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมสนทนากลุ่มได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 4 กลุ่ม ได้แก่ ครู ผู้บริหารโรงเรียนในเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อาจารย์นิเทศ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา 4. สร้างข้อสรุปแนวทางการพัฒนาหน่วยฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แบบมีส่วนร่วม
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :486 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววไลกรณ์ แก้วคำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นางสาวเนรัญชลา จารุจิตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด