รหัสโครงการ : | R000000132 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | ผลของเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำขาไก่ด่าง (Hygrophila polysperma) และ โรทาล่า (Rotala macrandra) |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Effects of iron chelates and conductivity on growth of aquatic plant, Hygrophila polysperma and Rotala macrandra |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ของโครงการวิจัย พรรณไม้น้ำ ขาไก่ด่าง โรทาล่า เหล็กคีเลต ค่าการนำไฟฟ้า , Aquatic plant, Hygrophila polysperma, Rotala macrandra, iron chelates,electrical conductivity (EC)ฉ) |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แขนงวิชาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 30000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 30,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 19 พฤศจิกายน 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 18 พฤศจิกายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันพรรณไม้น้ำสวยงามเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่พรรณไม้น้ำสวยงามที่นำมาจัดในตู้มักมีสีสันสดใสแปลกตา มีความหลากหลายของชนิดที่แตกต่างกัน และยังมีประโยชน์ต่อคุณภาพน้ำ การดำรงชีวิตของปลาในตู้อีกด้วยด้วย ทำให้เกิดความต้องการในตลาดเพิ่มมากขึ้น ชนิดพรรณไม้น้ำที่นิยมนำมาจัดตู้ปลามีหลายชนิด เช่น พรรณไม้น้ำกลุ่มที่มีใบเกิดตามข้อ ชนิดที่นิยม ได้แก่ Cabomba, Hygrophila, Rotala เป็นต้น ซึ่งพรรณไม้น้ำเหล่านี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในตู้ ในการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำธาตุอาหารมีความสำคัญมาก พรรณไม้น้ำต้องการทั้งธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง โดยพรรณไม้น้ำต้องการธาตุอาหารหลักเป็นปริมาณมาก ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โปตัสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) และธาตุอาหารรองปริมาณน้อยแต่ขาดธาตุเหล่านี้ไม่ได้ ได้แก่ คลอรีน (Cl) เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu)
โมลิบดินัม(Mo) และโบรอน (B) ธาตุอาหารรองที่สำคัญก็คือ ธาตุเหล็กซึ่งเป็นธาตุอาหารที่ช่วยให้ใบมีสีเขียวแต่ถ้ามีการใช้ธาตุอาหารเหล่านี้มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อพรรณไม้น้ำได้ ค่าความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหารที่ละลายที่พรรณไม้น้ำจะดูดไปใช้จะแสดงในรูปของค่าการนำไฟฟ้า (electrical conductivity; EC) ถ้าค่า EC สูงหมายความว่ามีธาตุอาหารต่างๆ ละลายอยู่มาก ถ้าค่า EC ต่ำแสดงว่ามีธาตุอาหารต่างๆ ละลายอยู่น้อย ถ้ามีธาตุอาหารน้อยก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำ ดังนั้นในการศึกษาเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารในพรรณไม้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรศึกษาเพื่อหาเหล็กคีเลตและระดับค่าการนำไฟฟ้าที่เหมาะสมต่อวการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำในระบบปลูกใต้น้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1.เพื่อศึกษาเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร (EC) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำขาไก่ด่าง
2.เพื่อศึกษาเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร (EC) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำโรทาล่า |
ขอบเขตของโครงการ : | โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการทดสอบผลการวิจัย เกี่ยวกับการเร่งการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำขาไก่ด่างและโรทาล่า โดยทดสอบสารละลายธาตุอาหารที่มีเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหารที่เหมะสมต่อการเจริญเติบโต ให้มีประสิทธิภาพได้ดีต่อความต้องการของตลาดในอนาคต |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | สามารถเพิ่มผลผลิตพรรณไม้น้ำขาไก่ด่างและโรทาล่า ให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 12.1 การทดลองที่ 1 การศึกษาเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร (EC) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำขาไก่ด่าง
12.1.1 วางแผนการทดลองแบบ 2x4 factorial โดยศึกษาสองปัจจัย ปัจจัยที่หนึ่งคือ เหล็กคีเลต 2 รูปแบบได้แก่ Fe-EDTA และ Fe-DTPA ปัจจัยที่ 2 คือ ระดับค่าการนำไฟฟ้า 4 ระดับ ได้แก่ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ทดลองระดับละ 3 ซ้ำ
12.1.2 วิธีการทดลอง ได้แก่
(1) การเตรียมสารละลายธาตุอาหารสูตร KMITL 2 ที่มีเหล็กคีเลตต่างกัน (ตารางที่ 1)
(2) เตรียมระบบปลูกพรรณไม้ใต้น้ำ
วัสดุปลูกพรรณไม้น้ำใต้คือ ทราย นำทรายมาล้างทำความสะอาดและนำทรายใส่ถัง โดยให้ทรายมีความสูง 3 นิ้ว ติดตั้งปั๊มน้ำขนาด 500 แล้วเติมน้ำลงในถังปริมาตร 50 ลิตร
(3) เตรียมพรรณไม้น้ำ
นำต้นขาไก่ด่างมาวัดความยาวและตัดให้ได้ขนาด 10 เซนติเมตร นำต้นขาไก่ด่างมาปลูกในระบบปลูกพรรณไม้น้ำใต้น้ำลึก 3 เซนติเมตร
12.1.3 บันทึกข้อมูล
วิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ได้แก่ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2--N) ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อุณหภูมิ (temperature) บันทึกอัตราการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำ ได้แก่ ความสูงต้น จำนวนชั้นใบ ความกว้างใบ และความยาวใบ ทุกๆ 2 สัปดาห์ และชั่งน้ำหนักพรรณไม้น้ำเริ่มการทดลองและสิ้นสุดการทดลอง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์
12.2 การทดลองที่ 2 การศึกษาเหล็กคีเลตและค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายธาตุอาหาร (EC) ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำโรทาล่า
12.2.1 วางแผนการทดลองแบบ 2x4 factorial โดยศึกษาสองปัจจัย ปัจจัยที่หนึ่งคือ เหล็กคีเลต 2 รูปแบบได้แก่ Fe-EDTA และ Fe-DTPA ปัจจัยที่ 2 คือ ระดับค่าการนำไฟฟ้า 4 ระดับ ได้แก่ 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร ทดลองระดับละ 3 ซ้ำ
12.2.2 วิธีการทดลอง ได้แก่
(1) การเตรียมสารละลายธาตุอาหารเหมือนการทดลองที่ 1
(2) เตรียมระบบปลูกพรรณไม้ใต้น้ำเหมือนการทดลองที่ 1
(3) เตรียมพรรณไม้น้ำ
นำต้นโรทาล่ามาวัดความยาวและตัดให้ได้ขนาด 10 เซนติเมตร นำต้นขาไก่ด่างมาปลูกในระบบปลูกพรรณไม้น้ำใต้น้ำลึก 3 เซนติเมตร
12.2.3 บันทึกข้อมูล
วิเคราะห์คุณภาพน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ ได้แก่ แอมโมเนีย-ไนโตรเจน (NH3-N) ไนไตรท์-ไนโตรเจน (NO2--N) ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อุณหภูมิ (temperature) บันทึกอัตราการเจริญเติบโตของพรรณไม้น้ำ ได้แก่ ความสูงต้น จำนวนชั้นใบ ความกว้างใบ และความยาวใบ ทุกๆ 2 สัปดาห์ และชั่งน้ำหนักพรรณไม้น้ำเริ่มการทดลองและสิ้นสุดการทดลอง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 885 ครั้ง |