รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000128
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สู่ประชาคมอาเซียน สำหรับโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Training Curriculum to School Curriculum Development Asean Community for
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :หลักสูตรฝึกอบรม , หลักสูตรสถานศึกษา, ประชาคมอาเซียน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยในยุคโลกาภิวัตน์ มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่จะต้องปรับตัวอย่างมากและ รวดเร็ว ภายใต้บริบทการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติ ตั้งแต่ระดับประเทศเพื่อนบ้านในระดับ ภูมิภาคทีมีพรมแดนติดต่อกัน ซึ่งรวมกันเป็นประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์สำคัญอันเป็นเสาหลัก ๓ เสาหลัก คือประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชมคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคม สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยมุ่งหวังให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยการแก้ไข ปัญหาในภูมิภาคด้วยสันติวิธีและมุ่งสร้างความมั่นคงความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ลดช่องว่างการพัฒนาร่วมมือช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมีจุดมุ่งหมายยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชน ความร่วมมือทางการศึกษาและวัฒนธรรม เป็นกลไกสำคัญเพื่อการบรรลุจุดม่งหมายของ ประชาคมอาเซียน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 7 ระบุว่า กระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษา และส่งเสริมสิทธิหน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม และของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและความรู้อันเป็นสากลตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและตามมาตรา 27 (วรรค 2) กำหนดให้สถานศึกษามีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของสถานศึกษาโดยตรงที่จะต้องจัดทำหลักสูตรที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาหลักสูตรอาเซียนเพื่อการรู้อาเซียน จำเป็นที่ผู้จัดทำต้องมีความรู้ความเข้าใจข้อมูลพื้นฐานของประเทศสมาชิกอาเซียนในเบื้องต้น จากนั้นต้องพิจารณาระดับความสำคัญของความรู้ความเข้าใจที่ต้องการในหลักสูตรนั้นๆ ว่าคืออะไร มีเป้าหมายอย่างไร แล้วจึงดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยกำหนดรูปแบบของหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตรที่สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้ จึงจะสามารถพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีความสุขในสังคมอาเซียนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของพันธสัญญาระหว่างหลักสูตรกับผู้เรียน และกับสังคมพร้อมเนื้อหาและข้อมูลที่จำเป็น (สำลี ทองธิว,2555.) รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับอาเซียนในการเสร้างสร้างความแข็งแกร่งและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตลอดจนสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียนและนโยบายของรัฐบาลไทยในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยใช้การศึกษาเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน การรับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาภูมิภาคอย่างยั่งยืน และได้กำหนดให้สาขาการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองการสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดบทบาทการดำเนินงานด้านต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้นการกระชับความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในภูมิภาคอาเซียนภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษา ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา,2555.) บทบาทสำคัญซึ่งสถานศึกษาทุกแห่งสามารถสร้างความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนไทยได้คือ การปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ในมิติของวิสัยทัศน์ทีต้องมองภาพอนาคตทะลุก้าวไปในการอยู่ร่วมในฐานะประชาชนใน ประชาคมอาเซียน ในมิติของหลักการ จุดหมายที่ชัดเจนอันจะนำเด็กและเยาวชนไปสู่อนาคต ที่สำคัญ คือ โครงสร้างหลักสูตร โครงสร้างเวลา หน่วยการเรียนรู้ซึ่งต้องมีการออกแบบให้สามารถพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับโรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อผลักดันการดำเนินการด้านการศึกษาของประเทศไทยให้สอดรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียนและพัฒนาเยาวชนไทยให้มีสมรรถนะที่สำคัญสำหรับ การดำเนินชีวิตในประชาคมอาเซียน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 2. เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 3. เพื่อประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
ขอบเขตของโครงการ :6.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา 1. สร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม โครงสร้างของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาสาระของหลักสูตร กิจกรรมการฝึกอบรม ระยะเวลาในการฝึกอบรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม และเอกสารประกอบหลักสูตร ได้แก่ คู่มือสำหรับผู้ให้การฝึกอบรม ประกอบด้วย คู่มือดำเนินการฝึกอบรมและแผนการฝึกอบรม 2. ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้เนื้อหาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน 3. การประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน โดยการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยใช้การประเมินเชิงระบบโดยประเมินในด้านต่างๆต่อไปนี้ 3.1 ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้านหลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตร สื่อประกอบการฝึกอบรม วิทยากร ระยะเวลาและสถานที่ 3.2 ด้านกระบวนการใช้หลักสูตรฝึกอบรม (Process) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้าน การวางแผนการฝึกอบรม การดำเนินการอบรม การใช้สื่อประกอบการฝึกอบรม และการวัดและประเมินผลการฝึกอบรม 3.3 ด้านผลผลิต (Output) ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมในด้านความรู้ที่ได้รับ ความสามารถในการปฏิบัติ การนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 6.2 กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร และครู โรงเรียนเครือข่ายฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี 6.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู นครสวรรค์ อุทัยธานี 6.4 ขอบเขตด้านเวลา ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 30 กันยายน 2557
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :เช่น การเผยแพร่ในวารสาร จดสิทธิบัตรฯลฯ และหน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 11.2 ผู้บริหาร และครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนได้ 11.3 สามารถนำหลักสูตรดังกล่าวไปขยายผลในการฝึกอบรมผู้บริหารและครูให้มีความสามารถในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน แก่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สนใจ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร ตำรา แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร 1.1 ความหมายของหลักสูตร 1.2 องค์ประกอบของหลักสูตร 1.3 ประเภทของหลักสูตร 1.4 รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร 1.5 กระบวนการพัฒนาหลักสูตร 1.6 การประเมินหลักสูตร 2. แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 3. แนวคิดการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 4. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 5. ประชาคมอาเซียน 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.1 งานวิจัยในประเทศ 6.2 งานวิจัยต่างประเทศ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นสร้างหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 2 ขั้นทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน ขั้นตอนที่ 3 ขั้นประเมินหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :487 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอาภากร โพธิ์ดง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด