รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000127
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดทำแผนการตลาดเชิงบูรณาการบนฐานข้อมูลด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :An Integrated Marketing Plan base on Traveler Behavior to Promote Tourism in Nakhonsawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แผนการตลาดการเชิงบูรณาการ หมายถึง แนวทางที่ใช้ในการบริหารการตลาดสำหรับแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว หมายถึง ทัศนคติ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากการท่องเที่ยวมีส่วนในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการ เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น สำหรับภาวการณ์การท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2557 นั้น คาดว่ามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในทุกภาค และเนื่องจากโครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ภาวการณ์การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น และการท่องเที่ยวนอกจากจะสามารถดึงดูดเงินตราต่างประเทศได้โดยตรงแล้วยังเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในสาขาอื่น ๆ อีกมากมายทำให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ในภาคเศรษฐกิจเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางประวัติศาสตร์ ถึงแม้ว่าจังหวัดนครสวรรค์จะมีวัตถุดิบด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพจำนวนมาก รวมทั้งตำแหน่งที่ตั้งซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของจังหวัด นอกเหนือจากการพึ่งพาแหล่งรายได้จากสินค้าเกษตรกรรมเป็นหลักก็ตาม แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทางจังหวัดมิได้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แสดงให้เห็นว่าสถานภาพการท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้น ในเขตภาคเหนือตอนล่างมีส่วนแบ่งของจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและส่วนแบ่งรายได้ต่ำเมื่อเทียบกับภาคอื่น ๆ กล่าวคือ ในเขตภาคเหนือตอนล่างจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวน้อย และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมีการใช้จ่ายต่ำ การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวนั้น นอกจากการเพิ่มปริมาณนักท่องเที่ยวแล้วจำเป็นต้องเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวด้วย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายทั้งสองประการนั้นจำเป็นต้องมีธุรกิจด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวด้วย ดังนั้นการจัดทำแผนการตลาดเชิงบูรณาการบนพื้นฐานของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์เป็นไปอย่างสอดคล้องกัน และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกฝ่าย รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ในระยะยาวต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่อสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อสร้างแผนการตลาดการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและสร้างแผนการตลาดการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งขอบเขตของการวิจัยดังต่อไปนี้ 6.1 ด้านประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 6.1.1. นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ 6.1.2. ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจขายของฝากและของที่ระลึก ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง ธุรกิจนาเที่ยว และธุรกิจสถานบันเทิง 6.13. ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น ภาครัฐ คือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดหรือควบคุมนโยบายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ ภาคธุรกิจ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับในจังหวัดนครสวรรค์ และภาคการศึกษา คือ อาจารย์ผู้สอนหรือผู้มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ 6.2 ด้านพื้นที่ ในการดาเนินการวิจัยครั้งนี้ พื้นที่ที่ทำการศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แหล่งท่องเที่ยวในในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ คือ หน่วยงานภาครัฐและธุรกิจต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาคม ผู้ประกอบธุรกิจ เป็นต้น สามารถนำผลที่ได้จากการวิจัย ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างของธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสววรค์ และช่วยส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ ในการพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา และชุมชน อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :นาถพิมล วาดสันทัด (2545 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน (SWOT Analysis) 2) พัฒนา กลยุทธ์ทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย นักท่องเที่ยว และบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการใช้แบบสอบถาม ผลการจากการศึกษา พบว่า เมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนมีจุดแข็งด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว คือ มีเอกลักษณ์ มีประวัติศาสตร์และโบราณสถานที่น่าศึกษา แต่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนคือ สิ่งอำนวยความสะดวก สาธารณูปโภค การบริหารจัดการ การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวและการประชาสัมพันธ์ สำหรับโอกาสในการพัฒนา คือ หน่วยงานราชการมีนโยบาย แผนงานและให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน ตลอดจนการค้าขายกับประเทศจีนมีความเจริญ ทางด้านอุปสรรคต่อการพัฒนา คือ ขาดงบประมาณ ประชาชนขาดจิตสำนึกในการหวงแหนมรดกทางการท่องเที่ยว บุคลากรไม่มีความรู้ด้านการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ส่วนการพัฒนาด้านกลยุทธ์ทางการตลาดเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสน พบว่า จะต้องมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่มีจุดเด่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีความสมบูรณ์และมีเอกลักษณ์ ตลอดจนมีการปรับปรุงสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกให้ดีขึ้น สำหรับราคาของการเข้าชมสถานที่นั้นจะต้องมีการกำหนดราคาให้สูงขึ้นให้เหมาะสมกับคุณค่าของผลิตภัณฑ์และเพื่อการนำเสนอผลิตภัณฑ์ และการกำหนดราคาให้มีความหลากหลาย การจัดจำหน่ายควรเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านอินเตอร์เน็ต และเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการตลาดควรเพิ่มการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น จัดกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักเมืองประวัติศาสตร์เชียงแสนเพิ่มมากขึ้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว 1.1 ธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม 1.2 ธุรกิจขายของฝากและของที่ระลึก 1.3 ธุรกิจโรงแรมและที่พัก 1.4 ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง 1.5 ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ 1.6 ธุรกิจบันเทิง 2. แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ 2.1 แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ 2.2 แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 2.3 แหล่งท่องเที่ยวนันทนาการและอื่น ๆ 3. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคและการตัดสินใจซื้อ 4. ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดทำแผนการตลาด 5. แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยอาศัยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงสารวจ (Survey Research) โดยมีขั้นตอนการดาเนินการศึกษาดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary research) เป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต พระราชบัญญัติ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา 2. กำหนดแนวทางการศึกษาและประเมินความเป็นไปได้ที่จะทำการวิจัยต่อไป 3. สร้างเครื่องมือวิจัยโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถาม 4. ส่งแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยในการตรวจสอบ ความถูกต้อง สมบูรณ์ 5. เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดนครสวรรค์ และแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตอำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์ 6. รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาจัดทำแผนการตลาดเชิงบูรณาการ และสรุปผลรายงานการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :764 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสุวชัช พิทักษ์ทิม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
นายวนัช คุ้งบรรพต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวลฎาภา แผนสุวรรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด