รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000126
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of learning management process by the participation of phrapariyattt in Nakhonsawan.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้,การจัดการเรียนรู้,การมีส่วนร่วม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559) ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม โดยการสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาพัฒนาคน ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) วิทยาการสมัยใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แพร่ขยายไปได้อย่างไร้พรมแดนซึ่งวิทยาการเหล่านี้มีความสัมพันธ์และสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งการเตรียมคนในชาติให้มีความพร้อมให้สามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีศักยภาพเพียงพอต่อการเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายต้องตระหนักการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาประเทศต้องอาศัยความมีคุณภาพของคนในชาติ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ประเทศชาติจะพัฒนาได้อย่างรวดเร็วต้องอาศัยทรัพยากรหลัก คือ คนในชาติที่มีการศึกษาดี มีความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ รู้เท่าทันวิทยาการสมัยใหม่และสามารถนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง พัฒนารากฐานการดำรงชีวิตของตนได้อย่างสมดุล การพัฒนาการศึกษาจึงเป็นภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเดินการเพื่อพัฒนาคนให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในสังคมโลก การพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างหลากหลาย เพียงพอ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง การศึกษาเป็นกลไกลที่สำคัญที่จะทำให้มนุษย์มีความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการใช้เหตุผล เพื่อแสวงหาสิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตตนเองและสังคม ตลอดจนในการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพ ในทางปรัชญานั้นถือว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาล้วนมีความสามารถด้วยกันทั้งสิ้น จึงเป็นหน้าที่ของการจัดระบบการศึกษาที่จะทำให้พบว่ามนุษย์แต่ละคนมีความสามารถในด้านใด และพยายามส่งเสริมให้มนุษย์ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะตามความสามารถและความถนัดของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค สังคมใดที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีการศึกษาเฉลี่ยระดับสูงและมีเกณฑ์จะส่งผลให้ประชาชนมีความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ประกอบกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช ๒๕๔๒ มาตรา ๖ กล่าวว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อการพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนเการสอนมากขึ้น มีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจากเดิม อีกทั้งยังบูรณาการวิชาต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับท้องถิ่น/ชุมชนที่ผู้เรียนได้อาศัยอยู่ ทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่การเรียนการสอน ส่วนใหญ่ก็ยังมีการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบภาคทฤษฏีในห้องเรียนอยู่ การปฏิบัติจริงในห้องเรียน หรือตามสถานที่จริงยังมีอยู่น้อยทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดทักษะในการปฏิบัติงาน โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาได้ดำเนินการจัดการศึกษาโดยยึดแนวนโยบาย กฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติมาเป็นหลักในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะการนำชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนให้ครอบคลุมกระบวนการต่อไปนี้ คือ การจัดทำแผนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อประกอบการสอน และการวัดและประเมินผลการเรียนการสอน แต่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ยังขาดการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม ทั้งจากครูผู้สอน ผู้ปกครองและแม้แต่ตัวผู้เรียนเอง ผู้บริหารและครูผู้สอนจึงควรสร้างกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมให้มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเอง ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการพัฒนาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์ในปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2546: 4) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วนร่วม คือ การที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ไม่เคยได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ หรือเข้า ร่วม การตัดสินใจหรือเคยมาเข้าร่วมด้วยเล็กน้อยได้เข้าร่วมด้วยมากขึ้น เป็นไปอย่างมี อิสรภาพ เสมอภาค มิใช่มีส่วนร่วมอย่างผิวเผินแต่เข้าร่วมด้วยอย่างแท้จริงยิ่งขึ้นและ การเข้าร่วมนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ที. อาร์. แบทเทน (Batten อ้างถึงใน ถนอม สุขสง่าเจริญ 2526: 25) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมว่า ต้องการให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจการต่าง ๆ โดยถือเสมือนว่าเป็นแบบฝึกหัดในการพัฒนาคน ให้ต้องใช้ความคิด ตัดสินใจ วางแผน และดำเนินการเองอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นหนทางทำให้สมองของคนเกิดการพัฒนา รวมทั้งต้องยึดหลักต่อไปนี้เพ่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ได้แก่ 1. หลักการช่วยตนเอง 2. หลักการให้ประชาชนมีส่วนร่วม 3. หลักประชาธิปไตยในการดำเนินงาน ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (2540 : 28-29) ได้แบ่งประเภทของการมีส่วนร่วมที่สรุปออกมาเป็น 11 กลุ่มใหญ่ มีสาระโดยสังเขปดังนี้ 1. การจำแนกตามกิจกรรมในการมีส่วนร่วม เป็นการจำแนกที่พิจารณาจากกิจกรรมของโครงการนั้น ๆ ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ อาจมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานหรือโครงการ แต่โดยทั่วไปแล้ว การพิจารณาการมีส่วนร่วมในมิตินี้เกี่ยวข้องกับ 1.1 การมีส่วนร่วมในการริเริ่มโครงการ 1.2 การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 1.3 การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ 2. การจำแนกตามประเภทของกิจกรรมหรือขั้นตอนของการมีส่วนร่วมประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 2.1 การมีส่วนร่วมในการริเริ่มงาน/โครงการ 2.2 การมีส่วนร่วมในขั้นตอนการวางแผน 2.3 การมีส่วนร่วมในขั้นดำเนินโครงการ 2.4 การมีส่วนร่วมในขั้นการประเมินผลโครงการ 3. การจำแนกตามระดับความสมัครใจในการเข้าร่วม แบ่งระดับของความสมัครใจ ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 3.1 การมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ 3.2 การมีส่วนร่วมโดยการถูกชักนำ 3.3 การมีส่วนร่วมโดยการบังคับหรือการเกณฑ์จากผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า 4. การจำแนกตามวิธีของการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ 4.1 การมีส่วนร่วมโดยตรง 4.2 การมีส่วนร่วมโดยอ้อม 5. การจำแนกตามระดับความเข้มของการมีส่วนร่วม แบ่งระดับของความเข้มในการมีส่วนร่วมออกเป็น 3 ระดับ คือ 5.1 ระดับของการมีส่วนร่วมเทียม 5.2 ระดับของการมีส่วนร่วมเพียงบางส่วน 5.3 ระดับของการมีส่วนร่วมที่แท้จริง 6. การจำแนกตามระดับความถี่ของการมีส่วนร่วม เป็นการพิจารณาจากจำนวนของผู้ที่เข้าเป็นส่วนร่วม และหรือจำนวนครั้งของผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วม 7. การจำแนกตามประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 7.1 การมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผล หมายถึงการมีส่วนร่วมที่ผู้เข้ามามีส่วนร่วม เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างชัดเจน 7.2 การมีส่วนร่วมที่ไม่มีประสิทธิผล หมายถึงการมีส่วนร่วมที่ผู้เข้ามามีส่วนร่วมเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการเพียงบางส่วน 8. การจำแนกตามพิสัยของกิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 8.1 การมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง 8.2 การมีส่วนร่วมเป็นช่วง ๆ 9. การจำแนกตามระดับขององค์การ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 9.1 การมีส่วนร่วมในระดับล่างขององค์การ 9.2 การมีส่วนร่วมในระดับกลางขององค์การ 9.3 การมีส่วนร่วมในระดับสูงขององค์การ 10. การจำแนกตามประเภทของผู้มีส่วนร่วม แบงออกเป็น 4 ประเภท คือ 10.1 ผู้ที่อาศัยในท้องถิ่น 10.2 ผู้นำท้องถิ่น 10.3 เจ้าหน้าที่ของรัฐ 10.4 คนต่างถิ่น 11. การจำแนกตามลักษณะของการวางแผน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 11.1 การวางแผนจากบนลงล่าง 11.2 การวางแผนจากล่างขึ้นบน กฤษดา ผุยพรม (2546 : 21) ได้กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน หมายถึง กระบวนการที่ผู้บริหารและครูอาจารย์ในโรงเรียนใช้การติดต่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจอันดีกับผู้ปกครองนักเรียน หรือประชาชนในชุมชน เพื่อให้มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ไพรัตน์ เตชะรินทร์ ( 2527:6-7) ได้ให้ความหมายและหลักการสำคัญเกี่ยวกับนโยบายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา หมายถึง กระบวนการที่รัฐบาลส่งเสริมการชักนำและการสร้าโอกาสให้กับประชาชนในชุมชน ทั้งส่วนบุคคล กลุ่มชุมชน สมาคม มูลนิธิและองค์กรอาสาสมัครให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องรวมกันการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึงกระบวนการที่ประชาชนมีความสมัครใจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อตัวประชาชนเอง โดยให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อตนเองและมีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ปรารถนา ทั้งนี้ต้องมิใช่เป็นการกำหนดกรอบความคิดจากบุคคลภายนอก ปรัชญา เวสารัชช์ (2538, หน้า 8) กล่าวว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึงกระบวนการซึ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆของกิจกรรมของส่วนรวมซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาชนบท โดยในการเข้ามาเกี่ยวข้องนี้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ความพยายามและเสียสละทรัพยากรบางอย่างเช่น ความคิด วัตถุแรงกาย และเวลา เมธี จันทร์จารุภรณ์( 2539 : 8-10) การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของการสาธารณสุขมูลฐานที่จะส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถอย่างแท้จริง ในการกำหนดทิศทางและความต้องการของชุมชน ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วมอย่างเป็นฝ่ายกระทำเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวพลัง ของประชาชน (mass movement) เพื่อนาไปสู่การแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ให้เกิดการป้องกันและควบคุมโรคในชุมชนได้ อคิน รพีพัฒน์ (2527 : 107-111) ได้กำหนดขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนี้ 1. การค้นปัญหา สาเหตุของปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไข 2. การตัดสินใจเลือกแนวทางและวางแผนพัฒนาการแก้ไขปัญหา 3. การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาตามแผน 4. การประเมินผลกิจกรรมพัฒนา รูปแบบของการมีส่วนร่วม การที่ประชาชนภายในพื้นที่มีการรวมกลุ่มในรูปของประชาคมหรือชุมชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สนับสนุนความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้ร่วมคิด ร่วมทํา ร่วมแก้ไขปัญหาซึ่งการแก้ไขปัญหานั้นจําเป็นต้องมีความร่วมมือทําพร้อมๆ กันในทุกระดับ ต้องระดมทุกองค์ประกอบในสังคมโดยเฉพาะชุมชน เพื่อเสริมสร้างความเป็นชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเองรูปแบบของการมีส่วนร่วมที่ดําเนินอยู่โดยทั่วไป สามารถสรุปได้เป็น 4 รูปแบบ คือ 1. การรับรู้ข่าวสาร (Public Information) ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับการแจ้งให้ทราบถึงรายละเอียดของโครงการที่จะดําเนินการ รวมทั้งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ การได้รับแจ้งข่าวสารดังกล่าวจะต้องเป็นการแจ้งก่อนที่จะมีการตัดสินใจดําเนินโครงการ 2. การปรึกษาหารือ (Public Consultation) เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมที่มีการจัดการหารือระหว่างผู้ดําเนินการโครงการกับประชาชนที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโครงการและกิจกรรมมากขึ้น 3. การประชุมรับฟังความคิดเห็น (Public Meeting) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนและฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรือกิจกรรม และผู้มีอํานาจตัดสินใจในการทําโครงการหรือกิจกรรมนั้นได้ใช้เวทีสาธารณะในการทําความเข้าใจ และค้นหาเหตุผลในการดําเนินโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่นั้น ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่ 3.1 การประชุมในระดับชุมชน (Community Meeting) โดยจัดขึ้นในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ โดยเจ้าของโครงการหรือกิจกรรมจะต้องส่งตัวแทนเข้าร่วม เพื่ออธิบายให้ที่ประชุมทราบถึงลักษณะโครงการและผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและตอบข้อซักถาม 3.2 การประชุมรับฟังความคิดเห็นในเชิงวิชาการ (Technical Hearing) สําหรับโครงการที่มีข้อโต้แย้งในเชิงวิชาการ จําเป็นจะต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาจากภายนอกมาช่วยอธิบายและให้ความเห็นต่อโครงการ ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมต้องได้รับทราบผลดังกล่าวด้วย 3.3 การประชาพิจารณ์(Public Hearing) เป็นเวทีในการเสนอข้อมูลอย่างเปิดเผยไม่มีการปิดบังทั้งฝ่ายเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากโครงการ ซึ่งจะต้องมีองค์ประกอบของผู้เข้าร่วมที่เป็นที่ยอมรับ มีหลักเกณฑ์และประเด็นในการพิจารณาที่ชัดเจน และแจ้งให้ทุกฝ่ายทราบทั่วกัน 4. การร่วมในการตัดสินใจ (Decision Making) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งประชาชนจะมีบทบาทในการตัดสินใจได้เพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของคณะกรรมการที่เป็นผู้แทนประชาชนในพื้นที่ลักษณะที่สําคัญของการมีส่วนร่วมว่าเป็นเรื่องของกระบวนการ ซึ่งได้สรุปถึงขั้นตอนของการมีส่วนร่วมได้ 4 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้ 1. มีส่วนร่วมในการคิด ศึกษา และค้นคว้า หาปัญหาและสาเหตุของปัญหาตลอดจนความต้องการของชุมชน 2. มีส่วนร่วมในการวางนโยบาย หรือแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เพื่อลดและแก้ไขปัญหา 3. มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดหรือปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย 4. มีส่วนร่วมในการควบคุม ติดตาม และประเมินผลการทํางานการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจําเป็นต้องใช้วิธีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมในการนําพาข่าวสารจากหน่วยงานภาครัฐบาลหรือเอกชน ไปสู่ประชาชนผู้เป็นเป้าหมาย สิ่งสําคัญในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการสื่อสารนั้น ต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะถือว่าเป็นส่วนช่วยให้กระบวนการติดต่อสื่อสารสัมพันธ์หรือแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสมาชิกในสังคมเป็นไปได้โดยสะดวกขึ้น กล่าวคือ ประชาชนมีส่วนร่วมใน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ผู้วิจัยสามารถกำหนดวิธีวิจัยได้ดังนี้ การออกแบบการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงคุณภาพ ใช้การประชุมกลุ่ม อภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อการจัดการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จ. นครสวรรค์ 1.ผู้บริหารโรงเรียน 2.ครูผู้สอน 3.ตัวแทนผู้ปกครอง 4.ผู้แทนชุมชน 5.นักเรียน พื้นที่ที่ทำการศึกษา พื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล/แบบบันทึก การสังเกต แบบตรวจสอบ/บันทึกรายการ ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยการเก็บรวมข้อมูลผู้วิจัย ได้แยกการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้วิธีการ 2 แบบร่วมกันคือ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว(Individual interview) 2. การคัดเลือกผู้ร่วมสนทนากลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่มีคุณสมบัติตรง ตามที่ผู้วิจัยได้กำหนดไว้หรือกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรื่องการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อ 1.เพื่อศึกษาการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก(In-dept Interview) การสังเกต หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัตถุประสงค์ข้อ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้แบบสัมภาษณ์ การสังเกต ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วัตถุประสงค์ข้อ 3. เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ใช้การประชุมกลุ่ม อภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) และสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้แบบสัมภาษณ์ การสังเกต ปรากฏการณ์ เหตุการณ์ หรือพฤติกรรมของกลุ่มบุคคล ชุมชน และหน่วยงาน หรือจากหลักฐานเอกสารต่าง ๆ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ถึง เพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา และหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :289 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางวิชญาภา เมธีวรฉัตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด