รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000124
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ของโครงการวิจัย การบริหารจัดการ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :ทฤษฎีการเมือง
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11(พ.ศ. 2555-2559) ที่มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม โดยการสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาพัฒนาคน สร้างค่านิยมให้คนไทยภูมิใจในวัฒนธรรมไทย และยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ลดปัญหาความขัดแย้งความคิดและสร้างความเป็นเอกภาพในสังคม ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านข้อมูลข่าวสาร สถานโบราณประวัติศาสตร์หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปี ถือเป็นประโยชน์ในทางศิลป ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี และเป็นสิ่งที่สร้างความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของไทยที่มีวัฒนธรรมที่ดีงามมาหลายสมัย โดยเฉพาะโบราณสถานที่วัดโคกไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่กรมศิลปกรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามพระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่สมควรอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติของชาติโดยเฉพาะชาวตำบลท่าน้ำอ้อย ต่างมีความภูมิใจในโบราณสถานแห่งนี้ ที่เป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดีราวพุทธศตวรรษที่ 12-13และมีการค้นพบในพ.ศ.2507 ของ ดร.ควอริตซ์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้ดำเนินการสำรวจและขุดแต่งโบราณสถานวัดโคกไม้เดนเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2507 ได้เขียนเล่าไว้เกี่ยวกับการขุดค้นเมืองนี้ว่ามีกำแพงดินอยู่ 2 ชั้น ชั้นในล้อมพื้นที่วงกลม ชั้นนอกล้อมพื้นที่รูปรี ประมาณ 1000 หลา กำแพงทั้งสองชั้นต่างมีคูเมืองกว้างประมาณ 35 หลา ขุดขนานกัน ไปในการเปิดหน้าดินทำการขุดค้นทางโบราณคดีตามคำอนุญาตของกรมศิลปกรนั้น ได้พบเศษหม้อดินเผา และกระดูกสัตว์เป็นจำนวนมากแล้ว ยังได้พบหลักฐานทางโบราณคดีอีกหลายชิ้น เช่น แผ่นดินเผาจำหลักรูปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หินบดยารูปอานม้าพร้อมด้วยลูกหินบด คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผาและโบราณวัตถุอื่นๆ นอกจากนั้นยังพบหลักศิลปะจารึกสูงราว 2 ฟุตหลักหนึ่งซึ่งชำรุดและลบเลือนไปเกือบหมด แต่ยังเหลือตัวอักษรที่พอมองเห็นได้อยู่สามสี่บรรทัด ซึ่งเป็นตัวหนังสือในพุทธศตวรรษที่ 13 และการขุดค้นได้พบ เศษภาชนะดินเผา กระดูกสัตว์จำนวนมาก แผ่นดินเผาสลักเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธศาสนา แท่นหินบดยา หินบดยา คอตะเกียงโรมันทำด้วยดินเผา ที่ถือว่าเป็นกุญแจที่สำคัญในการค้นคว้าประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นอย่างยิ่ง แต่ในปัจจุบันโบราณสถานแห่งนี้กำลังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงทั้งในด้านสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป การบุกรุกสถานที่ อีกทั้งการถูกลืม หรือไม่เป็นที่รู้จักจากเยาวชนและพี่น้องของชาวไทยรุ่นหลัง และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง กล่าวว่า มีผู้นำสิ่งปฏิกูลจากรถดูดส้วมไปทิ้งในบริเวณสถานเมืองบน ทั้งยังมีขยะมูลฝอย การสร้างที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร ตัดไม้ ขุดตักดิน และขุดค้นหาวัตถุโบราณ หากปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไปโบราณสถานแห่งนี้อาจถูกทำลายหรือสาบสูญได้ ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยมีความต้องการศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาสถานประวัติศาสตร์และเป็นที่รู้จักแก่เยาวชนในท้องถิ่นตลอดจนมีแนวทางการบริหารจัดการที่ดีสืบทอดต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชน และการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :หน่วยงานที่นำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีโบราณสถานศึกษาในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2) สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดทุกจังหวัด โดยเฉพาะในจังหวัดนครสวรรค์ 3) มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะสาขาประวัติศาสตร์ และสาขารัฐศาสตร์ 4) เป็นผลงานวิชาการในการเผยแพร่ทางวารสาร หรืออ้างอิงในสถานศึกษาได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :8.1.แนวความคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน นรินทร์ชัย พัฒนพงศา (2546, หน้า 4) ได้สรุปความหมายของการมีส่วนร่วมว่า การมีส่วนร่วม คือ การที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ไม่เคยได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ หรือเข้า ร่วม การตัดสินใจหรือเคยมาเข้าร่วมด้วยเล็กน้อยได้เข้าร่วมด้วยมากขึ้น เป็นไปอย่างมี อิสรภาพ เสมอภาค มิใช่มีส่วนร่วมอย่างผิวเผินแต่เข้าร่วมด้วยอย่างแท้จริงยิ่งขึ้นและ การเข้าร่วมนั้นต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสุดท้ายของโครงการ ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร (2532, หน้า 350) ได้ระบุว่า การมีส่วนร่วม ของประชาชนในการพัฒนาชนบท หมายถึง การที่ประชาชนทั้งในเมืองและชนบทได้เข้ามีส่วนร่วมหรือเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานพัฒนาชนบทขั้นตอนใด้ขั้นตอน หนึ่งหรือทุกขั้นตอนแล้วแต่เหตุการณ์จะเอื้ออำนวย โดยสรุป การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันและอย่างเต็มที่ของกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้เสียในทุก ขั้นตอนของโครงการหรืองานพัฒนาชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมี ส่วนร่วมในอำนาจ การตัดสินใจและหน้าที่ความรับผิดชอบ การมีส่วนเข้าร่วมจะเป็นเครื่องประกันว่าสิ่งที่ ผู้มีส่วนได้เสียต้องการที่สุดนั้น จักได้รับการตอบสนองและทำให้มีความเป็นไปได้มาก ขึ้นว่าสิ่งที่ทำไปนั้นจะตรงกับความต้องการที่แท้จริง และมั่นใจมากขึ้นว่าผู้เข้าร่วม ทุกคนจะได้รับประโยชน์เสมอหน้ากัน ขั้นตอนการมีส่วนร่วม โกวิทย์ พวงงาม (2545, หน้า 8) ได้สรุปถึงการมีส่วนร่วมที่แท้จริงของประชาชน ในการพัฒนา ควรจะมี 4 ขั้นตอน คือ 1. การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาของแต่ละท้องถิ่น กล่าวคือ ถ้าหากชาวชนบทยังไม่สามารถทราบถึงปัญหาและเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหา ในท้องถิ่นของตนเป็นอย่างดีแล้ว การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาของท้องถิ่นย่อม ไร้ประโยชน์ เพราะชาวชนบทจะไม่เข้าใจและมองไม่เห็นถึงความสำคัญของการ ดำเนินงานเหล่านั้น 2.การมีส่วนร่วมในการวางแผนดำเนินกิจกรรม เพราะการวางแผนดำเนินงาน เป็น ขั้นตอนที่จะช่วยให้ชาวชนบทรู้จักวิธีการคิด การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล รู้จักการ นำเอาปัจจัยข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน 3.การมีส่วนร่วมในการลงทุนและการปฏิบัติงาน แม้ชาวชนบทส่วนใหญ่จะมี ฐานะยากจน แต่ก็มีแรงงานของตนที่สามารถใช้เข้าร่วมได้ การร่วมลงทุนและปฏิบัติงาน จะทำให้ชาวชนบทสามารถคิดต้นทุนดำเนินงานได้ด้วยตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้การดำเนิน กิจกรรมอย่างใกล้ชิด 4.การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลงาน ถ้าหากการติดตามงานและ ประเมินผลงานขาดการมีส่วนร่วมแล้วชาวชนบทย่อมจะไม่ทราบด้วยตนเองว่างานที่ทำ ไปนั้นได้รับผลดี ได้รับประโยชน์หรือไม่อย่างใด การดำเนินกิจกรรมอย่างเดียวกันใน โอกาสต่อไป จึงอาจจะประสบความยากสำบาก สำนักมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ, กระทรวง ศึกษาธิการ, สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา และทบวงมหาวิทยาลัย(2545,หน้า 116)ยังได้ กล่าวถึง การมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการพัฒนา 5 ขั้น ดังนี้ 1.ขั้นมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาในชุมชนตลอดจน กำหนดความต้องการของชุมชน และมีส่วนร่วมในการจัดลำดับความสำคัญของความ ต้องการ 2.ขั้นมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนา โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนด นโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ กำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่ใช้ 3.ขั้นมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วม ในการสร้างประโยชน์โดยการสนับสนุนทรัพย์ วัสดุอุปกรณ์และแรงงาน หรือเข้าร่วม บริหารงาน ประสานงานและดำเนินการขอความช่วยเหลือจากภายนอก 4.ขั้นการมีส่วนร่วมในการับผลประโยชน์จากการพัฒนา เป็นขั้นตอนที่ ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากการพัฒนาหรือยอมรับ ผลประโยชน์อันเกิดจากการพัฒนาทั้งด้านวัตถุและจิตใจ 5. ขั้นการมีส่วนร่วมในการประเมินผลการพัฒนา เป็นขั้นที่ประชาชนเข้าร่วม ประเมินว่าการพัฒนาที่ได้กระทำไปนั้นสำเร็จดามวัตถุประสงค์เพียงใด การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ชิต นิลพานิช และกุลธน ธนาพงศธร( 2532, หน้า 362) หลักการสำคัญของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนมี ดังนี้ 1. หลักการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างทางราชการกับประชาชน โดย ยึดถือความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานหรือต่อบุคคล 2. หลักการขจัดความขัดแรง ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และความคิด จะมี อิทธิพลต่อการดำเนินงานพัฒนาเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้งานหยุดชะงักและลมเหลว 3. หลักการสร้างอุดมการณ์และค่านิยมในด้านความขยัน ความอดทน การ ร่วมมือ การซื่อสัตย์ และการพึ่งตนเอง เพราะอุดมการณ์เป็นเรื่องที่จะจูงใจประชาชนให้ ร่วมสนับสนุนนโยบาย และเป้าหมายการดำเนินงาน และอาจก่อให้เกิดขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติงาน 4. การให้การศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่องเป็นการส่งเสริมให้คนมีความรู้ความคิด ของตนเอง ช่วยให้ประชาชนมั่นใจในตนเองมากขึ้น การให้การศึกษาอบรมโดยให้ ประชาชนมีโอกาสทดลองคิด ปฏิบัติ จะช่วยให้ประชาชนสามารถคุ้มครองตนเองได้ รู้จักวิเคราะห์เห็นคุณค่าของงาน และน่าไปสู่การเข้าร่วมในการพัฒนา 5. หลักการทำงานเป็นทีม สามารถนำมาใช้ในการแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนาได้ 6. หลักการสร้างพลังชุมชน การรวมกลุ่มกันทำงานจะทำให้เกิดพลังในการ ทำงานและทำให้งานเกิดประสิทธิภาพ สำนักมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ, กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา และทบวงมหาวิทยาลัย (2545,หน้า 118) ได้ กล่าวถึงยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนไว้ 2 ประการคือ 1. การจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ 1.1 จัดเวทีวิเคราะห์สถานการณ์ของหมู่บ้านเพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้ ร่วมกันในประเด็นต่าง ๆ 1.2จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์หรือจัดทัศนศึกษาระหว่างกลุ่มองค์กร ต่าง ๆ ภายในชุมชนและระหว่างชุมชน 1.3 แก่อบรมเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านต่าง ๆ 1.4 ลงมือปฏิบัติจริง 1.5 ถ่ายถอดประสบการณ์และสรุปบทเรียนที่จะนำไปสู่การปรับปรุง กระบวนการทำงานที่เหมาะสม 2. การพัฒนาผู้นำเครือข่าย เพื่อให้ผู้นำเกิดความมั่นใจในความและ ความสามารถที่มี จะช่วยให้สามารถริเริ่มกิจกรรมการแก้ไขปัญหา หรือกิจกรรมการ พัฒนาได้ ซึ่งสามารถทำไค้หลายวิธี ดังนี้ 2.1 แลกเปลี่ยน เรียนfระหว่างผู้นำทั้งภายในและภายนอกชุมชน 2.2 สนับสนุนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนเอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุน ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง 2.3 แลกเปลี่ยนเรียน!และดำเนินงานร่วมกันของเครือข่ายอย่างต่อเนื่องจะทำ ให้เกิดกระบวนการจัดการและจัดองค์กรร่วมกัน 8.2. แนวความคิดการบริหาร อนันต์ เกตุวงศ์ ในปี พ.ศ. 2523 ให้ความหมายการบริหาร ว่า เป็นการประสานความพยายามของมนุษย์ (อย่างน้อย 2 คน) และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดผลตามต้องการ ไพบูลย์ ช่างเรียน ในปี พ.ศ. 2532 ให้ความหมายการบริหารว่า หมายถึง ระบบที่ประกอบไปด้วยกระบวนการในการนำทรัพยากรทางการบริหารทั้งทางวัตถุและคนมาดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ติน ปรัชญพฤทธิ์ ในปี พ.ศ. 2535 มองการบริหารในลักษณะที่เป็นกระบวนการโดยหมายถึงกระบวนการนำเอาการตัดสินใจ และนโยบายไปปฏิบัติ ส่วนการบริหารรัฐกิจหมายถึงเกี่ยวข้องกับการนำเอานโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ โดยสรุปการบริหาร คือ การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล องค์การ หรือประเทศ หรือการจัดการเพื่อผลกำไรของทุกคนในองค์การ 8.3. แนวความคิดการบริหารจัดการ ธงชัย สันติวงษ์ ในปี พ.ศ. 2543 กล่าวถึงลักษณะของงานบริหารจัดการไว้ 3 ด้าน คือ 1) ในด้านที่เป็นผู้นำหรือหัวหน้างาน งานบริหารจัดการ หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ปฏิบัติตนเป็นผู้นำภายในองค์การ 2) ในด้านของภารกิจหรือสิ่งที่ต้องทำ งานบริหารจัดการ หมายถึง การจัดระเบียบทรัพยากรต่าง ๆ ในองค์การ และการประสานกิจกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3) ในด้านของความรับผิดชอบ งานบริหารจัดการ หมายถึง การต้องทำให้งานต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีด้วยการอาศัยบุคคลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน วิรัช วิรัชนิภาวรรณ ในปี พ.ศ. 2548 กล่าวว่า การบริหารจัดการ เป็นกลไกและตัวประสานที่สำคัญที่สุดในการประมวล ผลักดัน และกำกับให้ปัจจัยต่างๆที่เป็นทรัพยากรการจัดการประเภทต่างๆ สามารถดำเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ จนบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ การเข้าใจถึงกระบวนการบริหารจัดการและการฝึกฝนให้มีทักษะสูงขึ้น จะช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิ ภาพมากขึ้นได้ กิจกรรมพื้นฐาน 4 ประการที่ทำให้เกิดกระบวนการบริหารจัดการ มีดังนี้ 1. การวางแผน (Planning) หมายถึงกระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย แผนงาน และตัดสินใจหาวิธีการที่ดีที่สุดที่ทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุผลสำเร็จ 2. การจัดองค์การ (Organizing) หมายถึง กระบวนการในการจัดตั้งและจัดวางทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรที่ไม่ใช่บุคคล โดยวางแผนให้สามารถบรรลุผลสำเร็จขององค์การ 3. การนำและสั่งการ (Leading and Directing) หมายถึง กระบวนการของการมีอิทธิพล เหนือบุคคลอื่นในการที่จะให้บุคคลอื่นมีพฤติกรรมในการทำงานที่ต้องการและทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 4. การควบคุม (Controlling) หมายถึง กระบวนการในการกำหนดกิจกรรมต่างๆ ขององค์การให้เป็นไปตามมาตรฐาน และเป้าหมายที่องค์การคาดหวัง และกำหนดไว้ โดยสรุปการบริหารจัดการเป็นกลไกและตัวประสานที่สำคัญที่สุดในการประมวล ผลักดัน และกำกับให้ปัจจัยต่างๆที่เป็นทรัพยากรการจัดการประเภทต่างๆ สามารถดำเนินไปได้โดยมีประสิทธิภาพ จนบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ 8.4. แนวความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ว
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีการบริหารจัดการอย่างไร
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้วิจัยสามารถกำหนดวิธีวิจัยได้ดังนี้ การออกแบบการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณ (วัตถุประสงค์ ข้อ 1) ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่มีทั้งหมด 2,862 คน (ข้อมูลการจัดทำจปฐ.ของเทศบาลตำบลท่าน้ำอ้อย พ.ศ.2555) กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยจำนวน 341 คน จากจำนวนประชากร จำนวน 2,862 คนโดยใช้ตารางแสดงประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan โดยใช้การสุ่มแบบโควตา เชิงคุณภาพ (วัตถุประสงค์ข้อ 2) ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups)จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง(Purposve Sampling) จากจำนวนประชากรใน ตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ทั้งสิ้น 2,862 คน คือ 1.ผู้นำชุมชน เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน 2.เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น เจ้าหน้าที่จากสำนักงานวัฒนธรรมอำเภอ เจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบ เจ้าหน้าที่จากกรมศิลปกร 3.ตัวแทนภาคประชาชนจากชาวบ้านหมู่ 4 หมู่ 8 ตำบลท่าน้ำอ้อยและหมู่ 6 ตำบลม่วงหัก 4.บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น นักท่องเที่ยว เป็นต้น พื้นที่ที่ทำการศึกษา พื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ตำบลท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ที่มีพื้นที่ 20.87 ตารางกิโลเมตร หรือ 13,044 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เหมาะแก่การทำเกษตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลทั้งหมู่บ้าน จำนวน 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1,2,3,5 และ 6 อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำอ้อยและเขตเทศบาลท่าน้ำอ้อยบางส่วน 3 หมู่ คือ หมู่ 4,7,8 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาโบราณสถานประวัติศาสตร์ โดยแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ข้อ 1.เพื่อศึกษาระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ใช้แบบสอบถาม วัตถุประสงค์ข้อ 2.เพื่อศึกษาการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ใช้การประชุมกลุ่ม (Focus Groups) การวิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ โดยนำแบบสอบถามที่ทำการเก็บรวบรวมทั้งหมด จำนวน 341 ชุด มาวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเป็นเครื่องคำนวณ ใช้สถิติร้อยละ(Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) มาวิเคราะห์ผลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย สำหรับด้านความคิดเห็นในการให้ค่าคะแนนความเห็นโดยกำหนดค่าของความเห็นดังนี้ ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ได้แก่ 5 หมายถึง มากที่สุด 4 หมายถึง มาก 3 หมายถึง ปานกลาง 2 หมายถึง น้อย 1 หมายถึง น้อยที่สุด การกำหนดค่าเฉลี่ยของระดับคะแนน มีดังนี้ ค่าเฉลี่ย 4.50 - 5.00 แปลความว่า มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 3.50 - 4.49 แปลความว่า มาก ค่าเฉลี่ย 2.50 - 3.49 แปลความว่า ปานกลาง ค่าเฉลี่ย 1.50 - 2.49 แปลความว่า น้อย ค่าเฉลี่ย 1.00 - 1.49 แปลความว่า น้อยที่สุด เชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ถึงแนวทางการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ขอบเขตของการวิจัย ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยสามารถกำหนดขอบเขตการวิจัยเฉพาะระดับการการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชนเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ และการบริหารจัดการชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืนของโบราณสถานประวัติศาสตร์วัดเขาไม้เดน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :612 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววรรณมาฆะ เกษรดอกไม้ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด