รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000123
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิเคราะห์ปัจจัยการอ่านที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Analysis of the reading factors that affect achievement of students in Nakhon Sawan Rajabhat University.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ปัจจัยการอ่าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ปัจจัย
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :35000
งบประมาณทั้งโครงการ :35,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตสาศตร์
กลุ่มวิชาการ :สถิติ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การก้าวเข้าสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้นั้นคนในสังคมจำเป็นต้องมีความตื่นตัวในการแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างรอบด้านเพราะโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งยุคข้อมูลข่าวสารความรู้จากอักษรทั้งหลายสามารถถ่ายทอดผ่านการอ่านซึ่งเป็นทักษะสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาเรียนรู้เปิดโลกทัศน์ให้กว้างไกลเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์อันจะนำไปสู่การพัฒนาชีวิตให้สูงขึ้น (ศุภชัย สระพรหม 2554: 1 ) การอ่านเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้และพัฒนาชีวิตซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความรู้แล้วยังก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินและเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้แนวทางในการดำเนินชีวิตการอ่านจึงเป็นหัวใจของการศึกษาทุกระดับ (กรมวิชาการ 2546 (ก): 188) การอ่านทำให้มนุษย์เกิดความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการพัฒนาชีวิตอย่างรอบด้านทั้งวิทยาการสุขภาพร่างกายวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตและการรับรู้ประวัติความเป็นมาในเชื้อชาติการติดต่อสื่อสารและการอ่านเป็นทักษะทางภาษาที่สำคัญและจำเป็นมากในการดำรงชีวิตของคนในยุคปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆได้เปลี่ยนแปลงก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการพัฒนาประเทศย่อมต้องอาศัยการอ่านและการแสวงหาความรู้ดังนั้นการอ่านจึงมีความจำเป็นและสำคัญยิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติจนกลายเป็นวิถีชีวิตปรกติ (กลิ่น สระทองเนียม,2554:22) แม้ว่าในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาหน่วยงานองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านต่อเนื่องกันมาแล้วก็ตามแต่จากผลการสำรวจการอ่านหนังสือของคนไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2551 พบว่าเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปีที่อ่านหนังสือเองหรือผู้ใหญ่อ่านให้ฟังมีร้อยละ 36.0 ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 6 ปีขึ้นไปอัตราการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนหรือนอกเวลาทำงานมีร้อยละ 66.3 โดยกลุ่มเด็กมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่าวัยอื่นซึ่งต่างจากญี่ปุ่นสิงคโปร์เวียดนามเป็นอย่างมากเพราะคนของเขามีสถิติการอ่านหนังสือปีละ60 เล่มแต่คนไทยเราได้อ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงปีละ2 เล่มเท่านั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านมากขึ้นคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบให้การส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติโดยกำหนดให้ปี 2552 – 2561 เป็น“ทศวรรษแห่งการอ่าน” และกำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปีซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็น “วันรักการอ่าน” (ฟาฏินา วงศ์เลขา 2553: 23) การอ่านเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้เพราะการเรียนวิชาต่างๆทุกระดับต้องอาศัยความสามารถทางการอ่านทั้งสิ้นทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาต่างๆดีตามไปด้วย แม้ว่าการอ่านมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเรียนการสอนทุกระดับแต่จากการสำรวจสังเกตเบื้องต้นพบว่านักศึกษาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับกิจกรรมต่างๆ และความถี่ในการอ่านหนังสือค่อนข้างน้อย คณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาสภาพการอ่านหนังสือของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เพื่อนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้บริหารครูอาจารย์ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการวางนโยบายในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านของนักศึกษา
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติต่อการอ่านหนังสือนิสัยรักการอ่าน และทักษะการอ่าน ภาษาไทย 2.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการสนับสนุนด้านการอ่านของผู้ปกครองและเงินทุน เวลาว่าง 3.เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมได้แก่ที่พัก เพื่อน และสภาพห้องเรียน
ขอบเขตของโครงการ :1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 2 , 3 และ 4 2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 2 , 3 และ 4 จำนวน 1,000 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :เพื่อนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้บริหาร ครูอาจารย์ ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการวางนโยบายในการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนในด้านการอ่านของนักศึกษา
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตาม หัวข้อต่อไปนี้ 1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่าน 2. เอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยรักการอ่าน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามสภาพการอ่านหนังสือของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์แบบสอบถามแบ่งออกเป็นเป็น 6 ตอน ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว ตอนที่ 2 แบบสอบถามทัศนคติต่อการอ่าน ตอนที่ 3 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่าน ตอนที่ 4 แบบสอบถามการสนับสนุนด้านการอ่านของผู้ปกครอง ตอนที่ 5แบบสอบถามทักษะการอ่านภาษาไทย วิธีการสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพเครื่องมือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว ตอนที่ 2 แบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยมีขั้นตอนการสร้างดังนี้ 2.1 ผู้วิจัยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติต่อการเรียน 2.2 ผู้วิจัยศึกษาการสร้างแบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียน 2.3 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนตามแนวคิดข้อที่ได้จาก ข้อ 2.1 และ 2.2 โดยแบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท(Likert Scale Type) มี 5 ระดับได้แก่จริงที่สุดจริงจริงบ้างจริงน้อยจริงน้อยที่สุด เกณฑ์การแปลผล ใช้เกณฑ์การประเมินค่าความหมายแบบสอบถามทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยตาม แนวคิดของวิเชียรเกตุสิงห์ ( 2538: 9 ) ในการวิจัยครั้งนี้แปลผลได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 3.67 - 5.00 หมายถึงมีทัศนคติทางบวก คะแนนเฉลี่ย 2.34 - 3.66 หมายถึงมีทัศคติปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 2.33 หมายถึงมีทัศนคติทางลบ ตอนที่ 3 แบบสอบถามนิสัยรักการอ่านมีขั้นตอนการสร้างดังนี้ 3.1 ผู้วิจัยศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนิสัยรักการอ่าน 3.2 ผู้วิจัยศึกษาแบบสอบถามนิสัยรักการอ่านของสกุณีเกรียงชัยพร (2548) 3.3 ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามนิสัยรักการอ่านตามแนวคิดข้อที่ได้จากข้อ 3.1 และ 3.2โดยแบบสอบถามนิสัยรักการอ่านเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแนวคิดของลิเคอร์ท (Likert Scale Type) มี 5 ระดับได้แก่จริงที่สุดจริงจริงบ้างจริงน้อยจริงน้อยที่สุด หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามที่คัดเลือกแล้วในข้อ 2 โดยใช้สูตร KR-20 ของคูเคอร์ริชาร์ดสัน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้ 1. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษา 2. ผู้วิจัยนำแบบสอบถามมาตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามคือตอบครบ ทุกข้อปรากฏว่าสมบูรณ์ทุกฉบับแล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และนำข้อมูลมา วิเคราะห์ทางสถิติต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ดังนี้ 1. วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยการคำนวณหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 2. วิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนตัวด้านครอบครัวด้านสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (The Pearson Product Moment Correlation Coefficient) โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำเสนอข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1. สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard – Deviation) 2. สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือได้แก่ 2.1 การหาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อของแบบสอบถามโดยใช้เทคนิค 27% กลุ่มสูง - กลุ่มต่ำโดยใช้ตารางวิเคราะห์ของจุงเตห์ฟาน 2.2 การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยใช้สูตร KR-20 ของคูเคอร์ริชาร์ดสัน3. สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานได้แก่ วิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนตัวปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเพื่อทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :697 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววรพรรณ เจริญขำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางสาวไอริน ชุ่มเมืองเย็น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นางสาวพรวิลัย ชาญกิจกรรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด