รหัสโครงการ : | R000000121 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | สะพานข้ามวัฒนธรรมผ่านภาษา Cross - Cultural Book เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้ประเพณีแข่งเรือยาวสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Cross – Cultural through language“Cross – Cultural Book” to promote learning English using long boat traditional for elementary school . |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | สะพานข้ามวัฒนธรรม,ประเพณีแข่งเรือยาว, Cross - Cultural |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 40000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 40,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 19 พฤศจิกายน 2556 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 18 พฤศจิกายน 2557 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สังคมไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากการไหลบ่าเข้ามาของกระเสวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้เด็กและเยาวชนไทย ขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน และท้องถิ่นของตนเอง การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2558 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ดังนั้นการเสริมสร้างองค์ความรู้ในเรื่องของวัฒนธรรมและประเพณีที่ถูกต้อง จะสามารถเสริมความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้เด็กและเยาวชน ที่จะก้าวเข้าไปเป็นหนึ่งในประชากรในประชาคมอาเซียน
จากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน (สมเกียรติ อ่อนวิมล : 2554)
จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชุมชนและท้องถิ่นที่เป็นที่มีชื่อเสียงระดับประเทศคือ ประเพณีแข่งเรือยาวที่มีประวัติอันยาวนานของวัดเกาะหงษ์ ตำบลตะเคียนเลื่อนจุดเด่นของเรือนั้นคือการสร้างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยภูมิปัญญาช่างไทยในการขุดเรือโบราณซึ่งถือได้ว่ามีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย (บุญเรืองอินทวรันต์และคณะ, 2535, หน้า 28)
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ประเพณีการแข่งเรือยาว จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาช่างไทย รวมถึงเอกสารที่ถูกบันทึกไว้ เพื่อนำมาพัฒนาเป็น หนังสือ Cross-Cultural Book เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาโดยใช้ประเพณีที่สำคัญในท้องถิ่น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีของชุมชนและเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษารวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของประเพณีแข่งเรือยาววัดเกาะหงษ์อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์
2. เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของ Cross-Cultural Book เพื่อนำไปใช้กับนักเรียนในระดับประถมศึกษา
3. เพื่อศึกษาผลการใช้ Cross-Cultural Book |
ขอบเขตของโครงการ : | ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดด้านต่าง ๆ ออกเป็น 2 ด้านดังนี้
1.ขอบเขตด้านเนื้อหา
- ประเพณีการแข่งเรือยาว วัดเกาะหงษ์ จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบ 2 ภาษา (ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ)
2.ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล
- ปราชญ์ชุมชน วัดเกาะหงษ์ จำนวน 5 ท่าน
- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดเกาะหงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. เป็นต้นแบบการจัดทำหนังสือ Cross-Cultural Book ที่ผสานวัฒนธรรมท้องถิ่นกับภาษาอังกฤษได้อย่างลงตัว
2. ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้พื้นฐานความรู้จากชุมชน
3. เป็นแนวทางในการจัดทำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | ประเพณีการแข่งเรือยาว
วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีความผูกพันและเกี่ยวข้องกับแม่น้ำลำคลองมาโดยตลอดทั้งในการคมนาคมขนส่งการติดต่อและค้าขายอีกทั้งยังรวมถึงการละเล่นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยการแข่งเรือยาวเป็นหนึ่งในประเพณีที่ถูกคิดประดิษฐ์เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยในแถบลุ่มแม่น้ำในชุมชนที่มีแม่น้ำไหลผ่านประเพณีแข่งเรือยาวถือเป็นประเพณีคู่คนไทยที่ถูกนำมาเป็นการละเล่นสืบทอดมาแต่โบราณในช่วงฤดูน้ำหลากซึ่งมักมีการแข่งขันเรือพายควบคู่ไปกับการทาบุญปิดทองไหว้พระช่วงเทศกาลทอดกฐิน (วินัย รอดจ่าย, 2532, หน้า 8)
ประเพณีแข่งเรือยาวเป็นการละเล่นที่มีการรวมกลุ่มกันของคนภายในชุมชนทั้งการสร้างเรือและการฝึกซ้อมฝีพายประจาลาเรือของแต่ละชุมชนเพื่อนามาแข่งขันกันในสนามแข่งขันที่จัดขึ้นโดยมีรูปแบบการแข่งขันตามระเบียบกฎเกณฑ์ที่กำหนดจังหวัดนครสวรรค์ถือเป็นหนึ่งสนามแข่งขันระดับประเทศที่มีเรือยาวจากจังหวัดต่างๆเข้าร่วมแข่งขันเช่นเรือจากจังหวัดพิจิตรจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดชัยนาทจังหวัดน่านจังหวัดอ่างทองและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยหนึ่งในเรือที่มีชื่อเสียงของจังหวัดนครสวรรค์ได้แก่เรือยาวจากวัดเกาะหงษ์ตำบลตะเคียนเลื่อนวัดเกาะหงษ์สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายตั้งแต่ปีพ.ศ.2300 โดยในปีพ.ศ.2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(วัชรินทร์เงินสุข,2549, หน้า 42) ได้เสด็จประพาสต้นเพื่อนมัสการพระประธานในอุโบสถ
วัดเกาะหงษ์จึงเป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามอาทิประเพณีสงกรานต์วัดเกาะหงษ์รวมถึงการเป็นแหล่งภูมิปัญญาช่างไทยในการขุดเรือโบราณที่มีชื่อเสียงระดับประเทศไทยการแข่งเรือยาววัดเกาะหงษ์ตำบลตะเคียนเลื่อนอำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์ถือเป็นประเพณีการแข่งเรือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครสวรรค์ที่มีการดำเนินการมาอย่างยาวนาน (บุญเรืองอินทวรันต์และคณะ, 2535, หน้า 28) ซึ่งเป็นสนามแข่งขันเรือยาวที่มีผู้ให้ความสนใจมากที่สุดของประเทศแห่งหนึ่งโดยวัดเกาะหงษ์มีเรือยาวที่ได้รับชื่อเสียงและเข้าร่วมแข่งเรือยาวในระดับประเทศหลายลาเช่นเรือหงษ์ทองเรือสวัสดิ์คาประกอบเรือกิจเจริญและเรือหงษ์นครเป็นต้น
ประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
กฎบัตรอาเซียน
จากกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน (สมเกียรติ อ่อนวิมล : 2554) |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 12.1 การกำหนดพื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเพณีแข่งเรือยาว
ชุมชนวัดเกาะหงษ์ ต.ตะเคียนเลื่อน อ. เมือง จ.นครสวรรค์
12.2 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย มีดังนี้
12.2.1 ปราชญ์ชุมชน วัดเกาะหงษ์ จำนวน 5 ท่าน
12.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4-6 โรงเรียนวัดเกาะหงษ์
12.3 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย มีดังนี้
12.3.1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานวัฒนธรรม ประเพณีการแข่งเรือยาว จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำข้อคำถามก่อนการลงพื้นที่เก็บข้อมูล
12.3.2 สำรวจข้อมูลในสถานที่จริงที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการแข่งเรือ สัมภาษณ์ปราชญ์ท้องถิ่นที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการแข่งเรือยาว
12.3.3 วิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)แล้วจัดทำหนังสือเรื่องประเพณีการแข่งเรือยาวฉบับภาษาไทย
12.3.4 ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและการใช้ภาษาโดยผู้เชี่ยวชาญ
12.3.5 จัดทำหนังสือเรื่องประเพณีแข่งเรือยาวฉบับภาษาอังกฤษ Cross-Cultural Book โดยการแยกประเภทคำศัพท์ที่ใช้ในเรื่องเป็นประเภทต่าง ๆ พร้อมระบุลักษณะการใช้งาน การอ่าน รวมถึงความหมาย โดยใช้รูปแบบดิกชินารี่
12.3.6 ตรวจสอบความถูกต้องโดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษ
12.3.7 จัดทำ Cross-Cultural Book ฉบับจริงเพื่อนำไปใช้เป็นสื่อเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษา
12.3.8 นำ Cross-Cultural Book ไปใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนใช้ ประถมศึกษาปีที่ 4-6
12.3.9 สอบถามความคิดเห็นครูผู้สอนและนักเรียนที่ใช้ Cross-Cultural Book เพื่อสรุปผลการใช้งาน |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1598 ครั้ง |