รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000120
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ภาวะผู้นำ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :30000
งบประมาณทั้งโครงการ :30,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :19 พฤศจิกายน 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :18 พฤศจิกายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของโลกมีพลวัตสูง ความเจริญทางเทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งในความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่หลีกหนีไม่พ้นกระแสโลกยุคโลกาภิวัฒน์ เพราะฉะนั้น หากเราไม่เร่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โอกาสทางการค้าในเวทีโลกของเราก็จะก้าวไปสู่จุดเสี่ยง ปัจจัยสำคัญยิ่งซึ่งจะเป็นตัวตัดสินว่าประเทศเราจะเดินออกมาจากจุดเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วได้หรือไม่นั้นก็คือ “ ทรัพยากรมนุษย์ ” เป็นการเตรียมคนเพื่อให้พร้อมในความเจริญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หลักสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ จะต้องให้ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการ การฝึกอบรมความรู้ที่ทันสมัยรวมทั้งการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป เช่น การให้คนมีความรู้ จะต้องฝึกให้มีวินัยในการทำงานควบคู่กันไปด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า “ ทุนมนุษย์ ” นั้น เป็นทุนที่สำคัญ ที่สุดในการพัฒนา เพราะทุนมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้น เป็นทุนพื้นฐาน ที่จะนำไปสู่การพัฒนาในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทุนเศรษฐกิจ ทุนสังคม หรือแม้แต่ทุนทางด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานทั่วไป เมื่อ “ ทุนมนุษย์ ” มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาของประเทศ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ” จะเป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญยิ่งตามมา สมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเป็นเรื่องของความสามารถที่เกิดขึ้นเฉพาะตระกูล หรือเฉพาะบุคคลและสืบเชื้อสายกันได้ บุคลิกและลักษณะของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่มีมาแต่กำเนิดและเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ผู้ที่เกิดในตระกูลของผู้นำย่อมจะต้องมีลักษณะผู้นำด้วย ในขณะเดียวกันภายใต้บริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบันย่อมมีผลกระทบต่อองค์การและผู้นำที่จะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดเชิงกระบวนทัศน์ขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถเผชิญต่อภาวะแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงคาดว่าผู้นำในอนาคตต้องยอมรับแนวคิดที่ต้องให้บริการ มีมุมมองที่กว้างไกลระดับโลก เข้าใจองค์การรูปแบบใหม่จากมุมมองที่เป็นองค์รวมเป็นลักษณะบูรณาการ มีความยืดหยุ่นสูง ต้องมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้นำ ในอนาคต ต้องชอบต่อความท้าทายและการทดลองใหม่ ๆ จะต้องผูกพันต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงกับภาวะผู้นำจะต้องคู่กันตลอดไป มีความสามารถในการสร้างความสมดุลได้ดีระหว่างงานในตำแหน่งหน้าที่ผู้นำ กับด้านชีวิตส่วนตัว รวมทั้งการสร้างความงอกงามด้านความรู้สมัยใหม่ที่เกี่ยวกับวิชาชีพของตน ในองค์การที่ดีจำเป็นต้องมีทั้งภาวะผู้นำและการบริหารจัดการที่เข้มแข็งจึงจะทำให้เกิด ประสิทธิผลได้สูงสุด โดยเฉพาะภายใต้ภาวะของโลกที่มีพลวัตสูง ย่อมต้องการได้ผู้นำที่กล้าท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม มีความสามารถในการสร้างวิสัยทัศน์และสามารถในการดลใจสมาชิกทั้งองค์การให้มุ่งต่อความสำเร็จตามวิสัยทัศน์นั้น แต่เราก็ยังต้องมีการบริหารที่สามารถกำหนดรายละเอียดของแผนงาน สามารถออกแบบโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพขององค์การ กองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นอีกหนึ่งกองทุนที่เกิดจากการรวมกลุ่มของชุมชน การบริหารจัดการในรูปแบบของสวัสดิการ การออมเพื่อกู้ยืมและปันผล การรวมกลุ่มฌาปนกิจเพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่เสียชีวิต และช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิต บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง โดยเกิดจากการรวมตัวของประชาชนในพื้นที่ ด้วยความสมัครใจ ซึ่งชาวชุมชนเข้ามามีบทบาทในการร่วม กันคิด ร่วมกันสร้างระบบ ร่วมกันบริหารจัดการและร่วมกันรับผลประโยชน์ จากการดำเนินงานดังกล่าว กองทุนสวัสดิการชุมชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพผู้นำเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจของโลก และเพื่อให้สามารถเผชิญต่อภาวะแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชนและศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :พื้นที่ ตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ผู้นำชุมชน แกนนำชุมชน เจ้าหน้าและผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครง มีความรู้ความสามารถและทักษะการตั้งคำถามสืบค้น การเก็บข้อมูลชุมชน การบันทึก การจัดระบบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และตีความ คิดและเขียนโครง รวมถึงสามารถบริหารโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เกิดกลไกความร่วมมือในกิจกรรมด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดการ สวัสดิการชุมชนและเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ 3 ผู้นำชุมชนชุมชน แกนนำชุมชน ผู้ที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมโครงการวิจัย สามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิ มีความรู้ความเข้าใจและเท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรูปแบบต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นได้ 4. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/หน่วยงานภาครัฐ/หน่วยงานภาคเอกชนอันเป็นเสมือนดังภูมิคุ้มกันของท้องถิ่นในการรู้เท่าทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสระแก้ว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สำรวจเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัย ดังนี้ 1. แนวคิดเรื่องภาวะผู้นำ ความหมายของคำว่าภาวะผู้นา (Leadership) Nelson และQuick (1997: 346) ให้ความหมายของภาวะผู้นำ (Leadership)ว่า หมายถึง กระบวนการในการแนะแนวและนำทางพฤติกรรมของคนในสภาพของการทำงาน Gibson, Ivancevich และDonnelly (1997: 272) มองภาวะผู้นำ (Leadership)ในเชิงปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของสมาชิกในกลุ่ม โดยมีผู้นำเป็นตัวแทนในการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นๆในกลุ่ม ภาวะผู้นำจึงเกี่ยวข้องกับการใช้อิทธิพลและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของสมาชิกคนอื่นในกลุ่ม ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนั้นต้องมุ่งไปสู่การบรรลุเป้าหมายของกลุ่มด้วย DuBrin. (1998 อ้างถึงใน รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2544: 12) กล่าวถึงผู้นำ (Leader)ว่า เป็นบุคคลที่ทำให้องค์การเจริญก้าวหน้าและบรรลุผลสำเร็จโดยเป็นผู้ที่มีบทบาทแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเป็นบุคคลที่ก่อให้เกิดความมั่นคงและช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม วิภาดา คุปตานนท์ (2544: 237) กล่าวว่า ผู้นำ (Leader) หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถในการที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศคติและการกระทำของผู้อื่น ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ.(2535 อ้างถึงใน มัลลิกา ต้นสอน, 2544: 47)ผู้นำอาจจะเป็นบุคคลที่มีตำแหน่งอย่างเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ ซึ่งเรามักจะรับรู้เกี่ยวกับผู้นำที่ไม่เป็นทางการอยู่เสมอ เนื่องจากบุคคลนั้นมีลักษณะเด่นเป็นที่ยอมรับของสมาชิกในกลุ่ม ทำให้สมาชิกแสดงพฤติกรรมที่มีน้ำหนักและเป็นเอกภาพ โดยเขาจะใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติการและอำนวยการโดยใช้กระบวนการติดต่อสัมพันธ์กัน เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายของกลุ่ม บทบาทของภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ (พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์, 2547: 68) ได้แก่ 1. การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ (blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ต้องรู้ถึงวิธีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายเท่านั้น แต่ผู้นำต้องได้รับการสนับสนุนและความมุ่งมั่นจากพนักงานในการบรรลุถึงเป้าหมายด้วย ผู้นำต้องมีความสามารถนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ (Mission) วิสัยทัศน์ (Vision) และสื่อสารอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจและรู้สึกตื่นเต้นกับทิศทางใหม่นี้ด้วย 2. การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน ในฐานะผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน ขั้นตอนการทำงาน และโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายขององค์การที่ได้วางไว้แล้ว 3. การมอบอำนาจ (Empowering) หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ โดยผู้นำต้องสร้างสภาวะที่จะกระตุ้นการสร้างเสริมและปลดปล่อยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน วิธีการนี้จะช่วยให้บุคคลสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นในองค์การ 4. การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ (Competence) เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามารถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม ลักษณะภาวะผู้นำ มิทเชล และ ลาร์สัน จูเนียร์ (Michell & Larson, Jr., 1987) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ 3ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ ได้แก่ (1) ผู้นำเป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล (2) มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล และ (3) มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ดังนี้ 1) ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ที่ผู้นำพยายามจะมีอิทธิพลเหนือผู้ตามเพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพึงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีการกระทำใด ๆ เป็นกระบวนการ (process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้น ผู้นำทางจากการแต่งตั้ง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงข้าม ผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้นำที่แบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น 2) ภาวะผู้นำ นอกจากเป็นกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ผู้นำใช้อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่าไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่าผู้นำมีภาวะผู้นำได้ 3) ภาวะผู้นำ จะถูกอ้างถึงเมื่อจุดมุ่งหมายของกลุ่ม หรือองค์การประสบความสำเร็จดังนั้นถ้าหากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวได้ ก็ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำหรือไม่มีความสามารถในการนำนั่นเอง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ขั้นการเตรียมความพร้อม 1) เตรียมการและจัดประชุมชี้แจงโครงการระหว่างทีมนักวิจัยส่วนกลางและนักวิจัยในพื้นที่ 2) จัดประชุมเตรียมการกับพื้นที่เป้าหมายเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3) จัดเวทีระดมความคิดเห็นเพื่อจัดทำเครื่องมือในการเก็บข้อมูลองค์ความรู้ในระดับตำบล 4)การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลองค์ความรู้ 2. ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล 1) ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านพัฒนาการของปัญหาด้านศักยภาพของผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชน 2) ลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มศักยภาพผู้นำกองทุนการสวัสดิการชุมชน 3. ขั้นการวิเคราะห์และการประเมินผล 1) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปภาพรวมเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้นำกองทุนสวัสดิการชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :426 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวดนธินี ฟองคำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด