รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000111
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ผลของการรมโอโซนต่อคุณภาพการเก็บรักษาข้าวเจ้าขาวผสมข้าวหอมมะลิ
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Effect of Ozone Fumigation on Stored Quality of Milled Rice Mixed with Jasmine Rice Packing
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โอโซน ข้าวเจ้าขาว ข้าวหอมมะลิ บรรจุถุง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาการออกแบบและเทคโนโลยีเซรามิก
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :450440
งบประมาณทั้งโครงการ :450,440.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ธันวาคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ข้าว (Oryza sativa) เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญโดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งผลิตและส่งออกข้าวสารที่สำคัญที่สุดประเทศหนึ่งของโลก และข้าวหอมมะลิเป็นข้าวสารที่มีมูลค่าการส่งออกสูง โดยปี พ.ศ. 2555 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 57,433 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2556) เนื่องจากข้าวหอมมะลิเมื่อหุงต้มแล้ว เมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนิ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป มีลักษณะร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอมทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในหลายประเทศ แต่ข้าวหอมมะลิมีราคาสูงกว่าข้าวเจ้าขาวจึงมีการนำข้าวสารทั้งสองชนิดมาผสมกัน เพื่อให้ได้อัตราส่วนที่ผู้บริโภคต้องการและสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวสารบรรจุถุงได้ สำหรับการเก็บรักษาข้าวสารไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรในโกดังหรือในโรงสีมักจะเกิดความเสียหายแก่ผลิตผลเป็นอย่างมาก จากการเข้าทำลายของ แมลง ไร เชื้อรา นก และหนู โดยเฉพาะแมลงซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญและทำความเสียหายให้ผลิตผลเกษตรมากที่สุด เนื่องจากแมลงเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กสามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตระยะเวลาสั้น (กรมวิชาการเกษตร, 2551) ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายโดยทางตรง เช่น สูญเสียน้ำหนัก สูญเสียคุณค่าทางอาหาร สูญเสียคุณภาพ สูญเสียเงิน และสูญเสียชื่อเสียง (สำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวและการแปรรูปผลิตผลเกษตร, 2551) ปัจจุบันการเก็บรักษาเมล็ดธัญพืชจะทำการรมด้วยสารฆ่าแมลง เช่น อะลูมิเนียมฟอสไฟด์ เมทิลโบรไมด์ และฟอสฟีน (Tiwari et al., 2010) ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่อแมลงและมนุษย์ และอาจจะมีการตกค้างค้างได้ จึงทำให้ผู้บริโภคที่มีความสนใจเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย (food safety) เกิดความตระหนักเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรมีการใช้เทคโนโลยีสะอาด (clean technology) ซึ่งไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และเพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้าวสารได้ โดยเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจในขณะนี้ คือ การใช้โอโซน โอโซน (O3) เป็นแก๊สที่มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดส์อย่างแรง สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ (พรพิมล, 2543) โดยมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์หรือฆ่าจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชหลายชนิดได้ เนื่องจากโอโซนจะทำลายไปออกซิไดส์โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ของแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส ทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ และนอกจากโอโซนเป็นสารฆ่าเชื้อจุลินทรีย์อย่างรุนแรงแล้ว ยังมีข้อดีคือ เมื่อโอโซนแตกตัวจะไม่ก่อให้เกิดสารพิษ เพราะหลังการแตกตัวของโอโซนจะได้แก๊สออกซิเจน (ชมภูศักดิ์, 2540) ในปัจจุบันมีการนำโอโซนไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและการส่งออกผักและผลไม้ ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ยอมรับว่าโอโซนเป็นสารที่ใช้ได้อย่างปลอดภัย (generally recognized as safe; GRAS) นอกจากนี้การรมโอโซนมีผลในการฆ่าแมลง ทำลายสารพิษ และยับยั้งกิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ ในเมล็ดธัญพืชได้ดี โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ด (Tiwari et al., 2010) และยังมีรายงานการรมโอโซนความเข้มข้น 13.9 มิลลิกรัม/ลิตร ในเมล็ดข้าวสาลีทำให้มีการตายของตัวอ่อนแมลง Tribolium confusum มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 72.6 % และยังพบว่ามีผลทำให้ตัวเต็มวัยตายถึง 90 - 100 % (Isikber and Oztekin, 2009) สำหรับการใช้แก๊สโอโซนรมข้าวบาเล่ย์ที่ความเข้มข้น 11 และ 26 มิลลิกรัม/กรัม เป็นเวลา 15 นาที มีผลทำให้การเจริญของเชื้อรา Fusarium sp. ลดลง 24 - 36 % (Kottapalli et al., 2005) ดังนั้นการใช้โอโซนจึงน่าจะเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรักษาข้าวสารได้ดี โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบการใช้แก๊สโอโซนเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวสารที่ผสมระหว่างข้าวเจ้าขาวและข้าวหอมมะลิบรรจุถุงในระหว่างการเก็บรักษา นอกจากนี้ยังไม่ใช้สารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อหาอัตราส่วนของข้าวเจ้าขาวผสมข้าวหอมมะลิที่มีผลต่อคุณภาพและการยอมรับของผู้บริโภคระหว่างการเก็บรักษาและหลังการหุงต้ม 2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการรมโอโซนคุณภาพการเก็บรักษาของข้าวเจ้าขาวผสมข้าวหอมมะลิบรรจุถุง
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :572 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ดร.ศรัณยา เพ่งผล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด