รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000099
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A Competency Development of Teacher as Researchers to Promote Up-stream Chaopraya Community Cultural Tourism for student Teacher of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สมรรถนะครูนักวิจัย, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาทดสอบและวิจัยทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :382500
งบประมาณทั้งโครงการ :382,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :13 มกราคม 2557
วันสิ้นสุดโครงการ :12 มกราคม 2558
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความมั่นคงของชาติไทยขึ้นอยู่กับความสามารถของคนไทยในการดำรงตนอย่างมีวิจารณญาณในทุกโอกาส เมื่อมีภาระงาน ปัญหา อุปสรรคผ่านเข้ามาในชีวิต คนไทยต้องสามารถคิด วิเคราะห์ ประพฤติ สร้าง พัฒนา ประเมิน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดต่อการพัฒนาทักษะต่างๆ นี้ก็คือ วัยเด็ก เมื่อนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะที่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ ฯลฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว คุณลักษณะเหล่านี้จะติดตัวผู้เรียนไปตลอด ดังนั้น เมื่อผู้เรียนเข้าสู่ตลาดงานก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นคนไทยที่สามารถดำรงตนได้อย่างมีวิจารณญาณ การเสริมความมั่นคงของชาติดังกล่าวในขั้นต้น ในขณะที่การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยในวัยเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะจะเป็นกลไกในการผลิตคนไทยที่ดำรงตนอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างยั่งยืน แต่จะใช้เวลาอย่างน้อย 16-20 ปี ก่อนที่คนรุ่นนี้จะเข้าสู่ตลาดงาน โดยมีครูแม่แบบที่มีคุณภาพและประสบการณ์ในการวิจัยจริงเป็นผู้สร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้ประเทศไทย จึงไม่สามารถที่จะละเลยผู้เรียนที่อยู่ในระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันได้ การปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาบัณฑิตโดยเฉพาะครูยุคใหม่ แบบระบบรวบยอดครบวงจรที่เหมาะกับกำลังของชาติกลุ่มนี้จะช่วยให้ประเทศไทยได้กำลังคนที่เสริมความมั่นคงของชาติได้ภายในเวลา 4 ปี นักศึกษากลุ่มนี้จะได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างครบวงจรโดยใช้ทรัพยากร โจทย์ปัญหา และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นหัวข้อการเรียนรู้ตลอด 4 ปีในการเรียนระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถเป็นครูต้นแบบยุคใหม่ที่จะถ่ายทอดสู่เยาวชนในภูมิภาคเพื่อเป็นเยาวชนยุคใหม่ต่อไป การปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบการพัฒนาบัณฑิตแบบระบบรวบยอดครบวงจร จะเน้นกิจกรรมการเรียนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อทรัพยากรในชุมชนในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ประจำชุมชน ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม ฯลฯ ผู้เรียนจะเข้าใจร่วมกันว่าการให้ความสำคัญกับชุมชนไม่ใช่เพียงการเกิดสำนึกที่ดีเท่านั้น แต่จะต้องนำเอาประเด็นปัญหาของชุมชนเข้ามาเป็นโจทย์ในการเรียนและการวิจัยของตนเองด้วย ผู้เรียนต้องมีบทบาทในการเรียนแบบลงมือปฏิบัติด้วยตนเองกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินงานที่มีสัมฤทธิ์ผล ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน (คณาจารย์และผู้บริหาร) ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันว่าการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความมั่นคงของชาติ ผู้เรียนต้องได้รับการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้การตั้งและตอบโจทย์ในเชิงวิจัย/พัฒนาร่วมกัน เพื่อให้ได้กำลังคนที่มีความสามารถทางความคิดและมีฝีมือจำนวนมากพอที่จะสร้าง impact ต่อการพัฒนาชาติได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตั้งอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีพื้นที่ทางกายภาพพื้นที่หนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้คนในประเทศมากพอสมควร คือพื้นที่ต้นน้ำเจ้าพระยา เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นแหล่งรวมของแม่น้ำ 4 สาย และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่สำคัญสายหนึ่งของประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวเรามักพบเห็นความหลากหลายของความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ธัญญาหาร ความหลากหลายของผู้คน ประเพณีวัฒนธรรม จากประเด็นดังกล่าวจึงทำให้คณะผู้วิจัยสนใจที่จะหยิบยกพื้นที่ต้นน้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่ศึกษา ทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นกระบวนในการสร้างกระบวนทัศน์การเรียนรู้ใหม่ ๆ ต่อการสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สะท้อนความเป็นวิถีชีวิตของคนที่อยู่ในชุมชนคนต้นน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การดำรงอยู่ การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงในสภาพบริบทที่เปลี่ยนไปถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจต่อการถอดรหัสความรู้ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อนำสิ่งเหล่านี้เข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ไม่ได้อยู่เพียงแต่ในโรงเรียน หรืออยู่เพียงแต่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่ตามธรรมชาติ ดังนั้นการให้ความสำคัญต่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏพบเห็นและพำนักอาศัยอยู่ในบริเวณต้นน้ำเจ้าพระยาก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะจะทำให้เราสามารถศึกษาความหลายหลายในมิติมุมมองต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุม และที่สำคัญน่าจะเป็นการตีกรอบและสร้างวิธีการดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ได้อย่างชัดเจนขึ้น จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น คณะผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาและพัฒนาศักยภาพครูสู่ ความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ ว่าควรมีแนวทางหรือวิธีการพัฒนาศักยภาพครูสู่ความเข้มแข็งของชุมชนบนฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างไร เพื่อให้บุคลากรของสถานศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินการบริหารจัดการคุณภาพร่วมกับชุมชน มีความร่วมมือหลายจากหลายภาคส่วน จนสามารถปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลและชุมชน บนพื้นฐานองค์ความรู้ภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น ให้สามารถเรียนรู้และปรับตนเองเข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้โดยเสริมสร้างกระบวนการตัดสินใจที่ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นอย่างแท้จริง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 6.1 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 มีทักษะการวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูล 6.2 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 มีทักษะการกำหนดปัญหาการวิจัย 6.3 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 มีทักษะการเขียนเค้าโครงการวิจัย 6.4 เพื่อให้นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 มีทักษะการดำเนินการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาครูให้มีสมรรถนะครูนักวิจัยโดยใช้โจทย์การท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา มีนักวิจัยร่วมโครงการ จำนวน 3 คน จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยขอบเขตของโครงการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 7.1 การวิจัยนี้มุ่งพัฒนานักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้มีสมรรถนะครูนักวิจัย โดยมีทักษะการวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูล การกำหนดปัญหาการวิจัย การเขียนเค้าโครงการวิจัย และ การดำเนินการวิจัยโดยใช้โจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา 7.2 กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา ได้แก่ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ชั้นปีที่ 1-4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีละ 3 สาขาวิชา จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 480 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) ดังนี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการสืบค้นข้อมูลให้สามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างน้อย 3 แหล่ง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการกำหนดปัญหาการวิจัย นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะนักวิจัยด้านการเขียนเค้าโครงการวิจัย และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการดำเนินการวิจัย 7.3 ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. โจทย์วิจัยเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและชุมชน ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (G) ได้แก่ 1. นักศึกษาครูมีสมรรถนะครูนักวิจัย 2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การวิจัยครั้งนี่ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัย คณะผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะ นำเสนอดังนี้ ความหมายของสมรรถนะ เทื้อน ทองแก้ว (2551. On-line : 2 ; อ้างอิงจาก McClelland,D.C. 1973. “Testing for Competence rather than for Intelligence” : 28 ,1-14) กล่าวว่า สมรรถนะคือบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ (2547 : 61) ได้สรุปคำนิยามของสมรรถนะไว้ว่า สมรรถนะคือ คุณลักษณะของบุคคล ซึ่งได้แก่ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณสมบัติต่างๆ อันได้แก่ ค่านิยม จริยธรรม บุคลิกภาพ คุณลักษณะทางกายภาพ และอื่นๆ ซึ่งจำเป็นและสอดคล้องกับความเหมาะสมกับองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสามารถจำแนกได้ว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานได้ต้องมีคุณลักษณะเด่นๆอะไร หรือลักษณะสำคัญๆอะไรบ้าง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สาเหตุที่ทำงานแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะขาดคุณลักษณะบางประการอะไร เป็นต้น พิเชฐ บัญญัติ (2551. On-line) กล่าวว่า สมรรถนะ คือคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่ทำให้บุคลากรในองค์กรปฏิบัติงานให้องค์กรได้ผลงานที่โดดเด่นกว่าที่อื่น โดยบุคลากรเหล่านี้ตองแสดงคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมดังกล่าวให้มากกว่าเพื่อนร่วมงาน สามารถทำงานในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่าและได้ผลงานที่ดีกว่า อธิพงศ์ ฤทธิชัย (2551 : 2 ; อ้างอิงจาก วัฒนา พัฒนพงศ์. 2547 : 33) กล่าวว่า สมรรถนะหมายถึง ระดับของความสามารถในการปรับและใช้กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทัศนคติ พฤติกรรม ความรู้และทักษะ เพื่อการปฏิบัติงานให้เกิดคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในองค์กร บุคลากรทุกคนควรมีความสามารถพื้นฐานในหน้าที่ที่เหมือนกันครบถ้วนและเท่าเทียมกัน และควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถพิเศษที่แตกต่างกันออกไปนอกเหนือจากความสามารถของงานในหน้าที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ระดับความสามารถทางอารมณ์ (Emotional Quotient : EQ) และความสามารถทางสติปัญญา(Intelligence Quotient : IQ) อรัญ โสตถิพันธุ์ (2551. On-line) กล่าวว่า Competency หมายถึง กลุ่มของทักษะ ความรู้ ความสามารถ รวมทั้งพฤติกรรม คุณลักษณะและทัศนคติที่บุคลากรจำเป็นต้องมี เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา (2551 : 5) ให้ความหมายสมรรถนะว่า สมรรถนะหมายถึง ความสามารถของบุคคลในด้านความรู้ ความคิด ทักษะและคุณลักษณะ คุณธรรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้บรรลุอย่างมีประสิทธิภาพ จากความหมายของสมรรถนะที่นักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายไว้จึงสรุปได้ว่า สมรรถนะหมายถึงความสามารถของบุคคลในด้านความรู้ ความคิด ทักษะคุณธรรมและคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้บรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิติ/องค์ประกอบของสมรรถนะ ศุภชัย ยาวะประภาษ (2548 : 45) กล่าวว่า สมรรถนะอาจแสดงออกได้ในมิติเดียว หรือหลายๆมิติประกอบกัน มิติของสมรรถนะที่พบเสมอ มี 5 มิติ แต่ละมิติมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเข้ม หรือความสมบูรณ์ของการกระทำ (Intensity or Completeness of Action) สมรรถนะส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่ทุ่มเทลงไป และความสมบูรณ์ของการกระทำที่เกิดขึ้นเพื่อให้ความตั้งใจนั้นเป็นจริง ตังอย่างเช่นสมรรถนะเรื่องความมุ่งสู่ผลสำเร็จจะอยู่ในระดับสูงขึ้น ถ้าการแสดงออกนั้นมีการกล้าเสี่ยงเพื่อให้งานสำเร็จประกอบด้วย ไม่ใช่เพียงตั้งใจทำงานให้ดีเท่านั้น 2. ขนาดของผลกระทบ (Size of Impact) ผลกระทบที่เกิดจากการกระทำอาจหมายถึงทั้งบุคคลที่ได้รับผลกระทบตำแหน่งของบุคคล ขนาดของโครงการ หรือขอบเขตความรุนแรงของปัญหา ความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในสมรรถนะที่แสดงออก โดยมิติของผลกระทบอาจแยกให้เห็นถึงระดับของสมรถนะที่เยี่ยม หรือดีมาก และระดับที่ยอมรับได้ 3. ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความสลับซับซ้อนของพฤติกรรม ซึ่งรวมถึงการนำปัจจัยหลากหลายต่างๆเข้าสู่การพิจารณาตัดสินใจ ตั้งแต่สิ่งของ บุคคล ข้อมูล แนวคิด หรือสาเหตุปัจจัยต่างๆ นับเป็นการแสดงถึงสมรรถนะระดับพื้นฐานของสมรรถนะบางประเภท ส่วนใหญ่จะเป็นสมรรถนะด้านการใช้ความคิด(Thinking) 4. ความพยายามที่ใส่ลงไป (Amount of Effort) ปริมาณของความพยายามเป็นพิเศษที่ใส่ลงไป หรือปริมาณเวลาที่ทุ่มเทลงไปเพื่อการทำงานให้เกิดผล เป็นมิติที่สองของสมรรถนะบางเรื่อง 5. มิติที่มีลักษณะเฉพาะ(Unique Dimension) สมรรถนะบางประเภทมีลักษณะเฉพาะตัว ตัวอย่างเช่น สมรรถนะเร่องความมั่นใจในตนเอง (Self Confidence) มีระดับสเกลที่ สอง คือ การจัดการกับความล้มเหลว ซึ่งกล่าวถึงการที่บุคคลฟื้นสภาพจากความผิดหวัง และหลีกเลี่ยงการคิดในเรื่องลบที่ห่อเหี่ยว สมรรถนะเรื่องความคิดริเริ่ม(Initiative) มีมิติเรื่องเวลามาเกี่ยวข้อง อาทิ บุคคลนั้นสามารถมองไปสู่อนาคตได้ไกลแค่ไหน ปละสามารถดำเนินการเพื่ออนาคตได้หรือไม่ ผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานในเกณฑ์ดีมาก มักเป็นผู้ที่สามารถมองภาพในอนาคตได้ วางแผนเพื่อไปสู่ภาพอนาคต และดำเนินการตามแผนนั้นได้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาความหมายเรื่ององค์ประกอบของสมรรถนะของนักการศึกษาหลายคนสรุปได้ ดังนี้ เทื้อน ทองแก้ว (2551. On-line ; อ้างอิงจากDavid McClelland ) ได้กำหนดองค์ประกอบของสมรรถนะไว้ 5 ส่วน คือ 1. ความรู้ (Knowledge) คือ ความรู้เฉพาะในเรื่องที่ต้องรู้ เป็นความรู้ที่เป็นสาระสำคัญ เช่น ความรู้ด้านเครื่องยนต์ เป็นต้น 2. ทักษะ (Skill) คือ สิ่งที่ต้องการให้ทำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ทักษะทางคอมพิวเตอร์ ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ เป็นต้น ทักษะที่เกิดได้นั้นมาจากพื้นฐานทางความรู้ และสามารถปฏิบัติได้อย่างแคล่วคล่องว่องไว 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง (Self-concept) คือ เจตคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตน หรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น เช่น ความมั่นใจในตนเอง เป็นต้น 4. บุคลิกประจำตัวของบุคคล (Traits) เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคลนั้น เช่น คนที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ หรือมีลักษณะเป็นผู้นำ เป็นต้น 5. แรงจูงใจ / เจตคติ (Motives / Attitude) เป็นแรงจูงใจ หรือแรงขับภายใน ซึ่งทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่เป้าหมาย หรือมุ่งสู่ความสำเร็จ เป็นต้น อรัญ โสตถิพันธุ์ (2551. On-line) กล่าวว่า องค์ประกอบของสมรรถนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ 1. Knowledge หมายถึงความสามารถในการอธิบายได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ได้แก่ รู้ความหมาย รู้ขั้นตอนและรู้ประยุกต์ใช้ 2. Skill หมายถึงความสามารถในการลงมือทำด้วยตนเอง โดยดูจากความซับซ้อน ความสม่ำเสมอและความหลากหลาย 3. Attribute หมายถึงแบบแผนการแสดงออก(สไตล์/ลีลา) โดยดูจากค่านิยม แนวโน้มการแสดงออกและแรงจูงใจ นอกจากนี้ยังมีสมรรถนะที่เรียกว่าแนวคิดของตนเอง (Self-concept) ได้แก่ ทัศนคติและค่านิยม ซึ่งเป็นสมรรถนะที่ปรับเปลี่ยนได้ต้องใช้ระยะเวลานาน และสามารถทำได้ด้วยการฝึกอบรม การใช้หลักจิตวิทยา หรือการสั่งสมประสบการณ์ในการพัฒนา แต่เป็นสิ่งที่ทำได้ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลา ประเภทของสมรรถนะ สมรรถนะอาจสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆได้หลายประเภท และหลายวิธี ผู้ศึกษาและพัฒนาเรื่องนี้ได้ศึกษาการแบ่งประเภทของนักวิชาการหลายคน ดังนี้ ศุภชัย ยาวะประภาษ (2548 : 49) ได้แยกสมรรถนะออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นสมรรถนะที่ทุกคนในองค์กรต้องมีเพื่อที่จะทำให้องค์การสามารถดำเนินงานได้สำเร็จลุล่วงตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย แผนงาน และโครงการต่างๆขององค์การ สมรรถนะหลักนี้จะผูกโยงเข้ากับสมรรถนะหลักขององค์การเอง องค์การแต่ละแห่งจะมีบุคลิกลักษณะที่เป็นเสมือนแก่น หรือหลักขององค์การ อาทิ ศาลยุติธรรมอาจมีสมรรถนะหลักคือ สมรรถนะเรื่องการส่งเสริม และรักษาความยุติธรรม องค์การของรัฐที่มีประชาชนมาติดต่อทุกวัน อาทิ รัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคต่างๆ อาจเน้นสมรรถนะหลักเรื่องการให้บริการอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยอาจเน้นสมรรถนะหลักคือ การรักษา ส่งเสริมคุณภาพวิชาการ เป็นต้น สมรรถนะหลักขององค์การจะถ่ายทอดลงไปที่บุคลากร และกลายเป็นสมรรถนะที่บุคลากรทุกคนในองค์การต้องมี 2. สมรรถนะเฉพาะลักษณะงาน (Functional Competency) เป็นสมรรถนะที่บุคคลที่ทำงานในสายงานนั้นต้องมีเพิ่มเติมจากสมรรถนะหลัก อาทิ ฝ่ายกฎหมายต้องมีสมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และมีสมรรถนะด้านทักษะในการตีความกฎหมาย ฝ่ายบัญชีต้องมีสมรรถนะหลักด้านความรู้ของการบัญชี และมีทักษะด้านการทำบัญชี ฝ่ายการวางแผนต้องมีสมรรถนะหลักคือ สมรรถนะด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ และมีทักษะในการจัดทำแผน เป็นต้น ฯลฯ เทื้อน ทองแก้ว (2551. On-line) ได้จำแนกสมรรถนะออกเป็น 5 ประเภท คือ 1. สมรรถนะส่วนบุคคล(Personal Competencies) หมายถึง สมรรถนะที่แต่ละคนมี เป็นความสามารถเฉพาะตัว คนอื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ 2. สมรรถนะเฉพาะงาน (Job Competencies) หมายถึง สมรรถนะของบุคคลกับการทำงานในตำแหน่ง หรือบทบาทเฉพาะตัว เช่น อาชีพนักสำรวจ ก็ต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์ตัวเลข การคิดคำนวณ ความสามารถในการทำบัญชี เป็นต้น 3. สมรรถนะองค์การ (Organization Competencies) หมายถึง ความสามารถพิเศษเฉพาะองค์การนั้นเท่านั้น เช่น บริษัทเนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือบริษัทฟอร์ด (
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :13.1 ศึกษาวิจัยสถาบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลหน่วยงาน หลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารงานของหน่วยงาน องค์กร พร้อมทั้งการวิจัยชุมชน เพื่อหาข้อมูลภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่นโดยเฉพาะภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้าน ศึกษาโจทย์วิจัยเกี่ยวกับปัญหาชุมชน องค์กร/ชุมชน การสื่อสาร รวมทั้งความอ่อนแอหรือความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เพื่อประเมินภาพรวมของหน่วยงานและชุมชน 13.2 จากข้อมูลในข้อ 1 กำหนดโจทย์วิจัย และบทเรียน หรือกิจกรรมเข้าสู่ชั้นเรียนระดับปริญญาตรีในระดับชั้นปีที่ 1 – 4 ให้เหมาะสมกับแผนการศึกษาในระดับชั้นปีต่างๆ 13.3 ดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยให้กับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา มีรายละเอียดดังนี้ - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอย่างน้อย 3 แหล่ง ได้แก่ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติ ความสำคัญ ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา โดยให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษา ค้นคว้าข้อมูล สำรวจ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือแหล่งข้อมูลในชุมชน และสรุปผลการศึกษาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการกำหนดปัญหา การวิจัย โดยให้นักศึกษาได้สำรวจพื้นที่ เรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ และฝึกกำหนดปัญหาการวิจัยจากวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา ศึกษาเชิงลึกตามรายวิชาที่ลงเรียน 2-3 สาขาวิชา - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการเขียนเค้าโครงการวิจัย โดยผู้วิจัยจัดให้ความรู้ด้วยการบูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชา การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และนักศึกษาฝึกเขียนเค้าโครงการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา - นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 พัฒนาสมรรถนะครูนักวิจัยเกี่ยวกับทักษะการดำเนินการวิจัยจากโจทย์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา โดยให้นักศึกษาได้ฝึกดำเนินการวิจัยเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 10 – 15 คน ศึกษาวัฒนธรรมชุมชนคนต้นน้ำเจ้าพระยา และเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว กำหนดปัญหาการวิจัย เขียนเค้าโครงการวิจัย และดำเนินการวิจัยเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยงเชิงวัฒนธรรม ตามหัวข้อหรือโจทย์วิจัยที่ตนเองกำหนด พร้อมทั้งนำเสนอผลการวิจัยต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 13.4 จัดนำเสนอผลงานของนักศึกษาครูแต่ละชั้นปี จัดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษา 13.5 วิเคราะห์และประเมินผลโครงการวิจัย โดยเน้นการพัฒนาทักษะของนักศึกษาครูที่สอดคล้องตามแผนการเรียนของแต่ละระดับชั้น และการใช้ผลงานวิจัยในการพัฒนาชุมชน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :447 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสิริพร ปาณาวงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด