รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000022
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การบริหารจัดการ, เศรษฐกิจพอเพียง, การพัฒนาศักยภาพ, ชุมชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :398000
งบประมาณทั้งโครงการ :398,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษ์ยและการจัดการ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในสังคม โดยเฉพาะการมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางพัฒนาและให้ใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม การรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการทางด้านการเงินของเศรษฐกิจชุมชนเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการระดมแหล่งเงินทุนในชุมชน การกู้ยืมเพื่อใช้ในการสร้างอาชีพและดำเนินชีวิต เป็นการเริ่มต้นแหล่งเงินทุนที่จัดตั้งโดยชุมชนเอง การบริหารจัดการในรูปแบบของสมาชิกมีกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่สมาชิกในกลุ่ม มีการแบ่งปันผลตอบแทนที่ได้รับอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมใช้หลักสหกรณ์ออมทรัพย์ในการดำเนินงาน การกู้ยืมที่กำหนดดอกเบี้ยขั้นต่ำและกำหนดให้สมาชิกมีการออมอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน ช่วยให้เกิดความมีวินัยทางด้านการเงิน โดยสมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายที่ใช้ในทางปฏิบัติ การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เป็นการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจชุมชนให้ขับเคลื่อนไปด้วยการระดมทุนจากชุมชนอย่างพอเพียงเหมาะสมกับศักยภาพของชุนชนเองเป็นการออมและกู้ยืมเพื่อพัฒนาอาชีพ ในด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เป็นแผนปฏิรูปความคิดและคุณค่าใหม่ของสังคมซึ่งประสบความสำเร็จเชิงกระบวนการ เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกันบนพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพของภาครัฐ เอกชน และประชาชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้รับรู้ข่าวสาร การดำเนินงานของทางราชการจัดทำประชาพิจารณ์ในเรื่องที่สำคัญ พัฒนากลไกในการปกครองที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ การแปลงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ไปสู่แนวทางปฏิบัติยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร การบริหารจัดการเพื่อพัฒนาในระยะต่อไปควรมีแนวทางการดำเนินงานที่ดี ได้แก่ การสนับสนุนบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน ประชาชนและภาคเอกชนเพื่อสร้างพันธมิตรในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2543 : 16-17) ส่วนด้านการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555 – 2559 นั้น ใช้แนวคิดที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8-10 โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ให้ คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ “สร้างสมดุลการพัฒนาในทุกมิติ ในส่วนของวิสัยทัศน์ ประเทศไทยในระยะ 5 ปีข้างหน้า คือ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ มี 6 ประการ คือ 1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม 2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 3. ยุทธศาสตร์ความเข็มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหารและพลังงาน 4. ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน 6. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ซึ่งงานวิจัยนี้ตรงกับยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ สู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มุ่งเน้นการปรับระบบบริหารจัดการ มีการประสานและเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างโดยใช้หลักการบูรณาการร่วมกัน จากวัตถุประสงค์ ในด้านของการมีการบริหารจัดการที่ดี สร้างระบบการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของชุมชนให้มีประสิทธิภาพมีขนาดและโครงสร้างที่เหมาะสม ท้องถิ่นมีขีดความสามารถ มีระบบการให้การสนับสนุน สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในประเด็นยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม เพราะการพัฒนาที่เป็นรากฐานนำไปสู่ความเข้มแข็งของหมู่บ้านหรือกลุ่มต่าง ๆในท้องถิ่น ที่มีข้อมูลของท้องถิ่นในประเด็นที่เป็นปัญหาที่แท้จริงของกลุ่มและร่วมช่วยแก้ไขปัญหาโดยผ่านกระบวนการวิจัยที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของสมาชิกในท้องถิ่น ซึ่งจากการศึกษาที่ผ่านมาพบปัญหาสำคัญของการดำเนินงานคือ การกำหนดแผนการพัฒนาที่ขาดความสอดคล้องกับบริบทของชุมชนและท้องถิ่น และการประสานงานร่วมกันขององค์กรภาคส่วนต่าง ๆขาดความร่วมมือและรับทราบปัญหาที่แท้จริงของชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาและการพัฒนาเป็นไปในลักษณะคนละทิศละทาง ต่างคนต่างทำ ขาดการบูรณาการร่วมมือกัน ทำให้ใช้เวลานานในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และมองข้ามการเปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนได้ใช้ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นต่อการพัฒนางานของตนเอง ท้องถิ่นของตน ชุมชนของตน ร่วมกันอย่างเต็มศักยภาพ สิ่งเหล่านี้ผู้วิจัยจึงพบปัญหาดังกล่าวและสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี มีสมาชิกกลุ่ม 2,000 คนกว่าคน (ข้อมูลปี 2556) เป็นกลุ่มออมทรัพย์ที่ระดมทุนจากสมาชิกเพื่อบริหารจัดการด้านการเงินด้วยสมาชิกในชุมชนเองมีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพหลายประเภทมาจัดทำร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในชุมชนที่ผลิตจากวัตถุดิบในชุมชน ร้านค้าชุมชน การบริหารจัดการแบบเศรษฐกิจพอเพียงปลูกผักปลอดสารพิษ ผลิตข้าวโดยใช้เกษตรอินทรีย์ การจักสาน เป็นต้น จากกิจกรรมดังกล่าวกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของตนให้สามารถพึ่งตนเองโดยได้เริ่มจากการจัดการทุนในชุมชนซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาครบวงจร มีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์จากการระดมเงินทุนจากสมาชิกและมี การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกลุ่มโดยจัดทำบัญชีที่น่าเชื่อถือซึ่งต้องสัมพันธ์กับการเก็บรักษาเงินสดของกลุ่มที่ต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ตลอดเวลา เพื่อเป็นการสร้างความศรัทธาให้เกิดแก่สมาชิกที่เป็นเจ้าของเงินออม การจัดทำบัญชีทางกลุ่มได้จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นไว้ในสมุดสมาชิกรวมและสมุดสมาชิกรายย่อยซึ่งแยกเป็นสมาชิกแต่ละคน เมื่อถึงกำหนดการออมจะนำสมุดมาปรับรายการเป็นปัจจุบันที่กลุ่มโดยมีผู้ทำหน้าที่บันทึกบัญชีของกลุ่มเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อครบปีได้มีการคำนวณดอกเบี้ยที่สมาชิกจะได้รับเป็นรายคน ซึ่งสมาชิกอาจมีทั้งการออมและการกู้ยืม การจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์ยังเป็นเพียงการจดบันทึกยอดเงินในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของสมาชิกแต่ละคนแต่ยังไม่ได้เป็นรูปแบบที่สามารถวัดสถานภาพทางการเงินได้อย่างสมบรูณ์ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มออมทรัพย์มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย เงินปันผลคืนให้กับสมาชิกอย่างเหมาะสมเป็นธรรมและมีข้อมูลเชิงปริมาณที่ตอบคำถามของสมาชิกในกลุ่มได้ว่า มีหลักเกณฑ์การกำหนดอย่างไรอันจะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์อันดีแก่กลุ่มออมทรัพย์ กรรมการบริหารงานและสมาชิกกลุ่ม การพัฒนาระบบบัญชีที่ให้ค่าตอบแก่การบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์ได้นั้นจะเป็นช่องทางในการช่วยเสริมสร้างศักยภาพชุมชนที่มีการพึ่งพาตนเองทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งกลุ่มออมทรัพย์ดังกล่าว ยังขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการบริหารจัดการที่ดี และด้านการจัดทำบัญชี อันจะส่งผลต่อการพัฒนากลุ่มฯ ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาพัฒนาการของกลุ่มและศึกษาพัฒนาการของกลุ่มและศึกษาการพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพความสามารถในการบริหารจัดการของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี ตามขั้นตอนและกระบวนการพัฒนา โดยผู้วิจัยและสมาชิกกลุ่ม จะดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาทางวิชาการ และพัฒนางานการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาศักยภาพ การบริหารจัดการที่ดีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการที่ดีกลุ่มออมทรัพย์ตำบลท่าโพ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี 4. เพื่อสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบที่มีการบริหารจัดการที่ดี (P) 2.ได้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบ จำนวน 1 กลุ่ม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และผู้มีส่วนร่วมอื่น ๆ ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ที่มุ่งศึกษาถึงการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1. พื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 1. พื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเลือกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 2.1 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาชุมชน ข้อมูลความจำเป็น (จปฐ.) และอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาสร้างกรอบแนวคิด สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของชุมชน 2.2 การสัมภาษณ์ (Interview guide) โดยสร้างวัตถุประสงค์กรอบแนวคิดที่กำหนดขึ้น เป็นคำถามแบบปลายเปิดเพื่อให้การสัมภาษณ์เป็นไปในลักษณะยืดหยุ่นและได้ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสภาพทั่วไปและปัญหาของกลุ่มออมทรัพย์ในด้านการบริหารจัดการ 2.3 การสังเกตการณ์ (Observation) ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้สังเกตการณ์ใน 2 ลักษณะ คือการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation observation) และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม(Participation observation) 2.4 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการวิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม(SWOT Analysis) ในการประเมินสภาพปัญหาอุปสรรคตลอดจน จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี เพื่อวิเคราะห์สภาพของกลุ่ม ฯ และสร้างกลยุทธ์ทางเลือกที่ดีให้แก่กลุ่ม ฯ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้เทคนิคการระดมพลังสร้างสรรค์ (AIC) ในการระดมความคิด เปิดโอกาส สมาชิกกลุ่มได้พูดคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ข้อมูลข่าวสาร สภาพปัญหาและความต้องการเพื่อหาแนวทางแก้ไขพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ต่อไป 2.5 การบันทึกเสียง เทป วีดิทัศน์ เพื่อใช้ประกอบการเก็บข้อมูลในขณะที่ลงพื้นที่ในการวิจัย ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการและกลุ่มสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ ฯ 2.6 แบบบันทึกภาคสนาม (Field notes) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลที่ได้จาการสังเกตและสัมภาษณ์และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้วิจัยเพื่อป้องกันการลืม เพราะบางครั้งการจำอย่างเดียวอาจทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วย สมบูรณ์เพียงพอ โดยใช้การบันทึกประเด็นที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองเพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ในการศึกษา ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 2 ประเภท ดังนี้ 3.1 ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ได้จาการศึกษาเอกสารต่าง ๆที่ มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตตำบลท่าโพ จังหวัดอุทัยธานี ทั้งเอกสารของทางราชการที่จัดทำไว้ และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนามที่ เก็บข้อมูลตามเครื่องมือที่กำหนดไว้ในการศึกษา ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ ตามกรอบแนวคิดในการวิจัย 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นในขณะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลและหลังจากที่เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้วิธีการตีความข้อมูลโดยวิธีพรรณนา จากการจัดเก็บข้อมูลตามวิธีการต่าง ๆ ที่เสนอไปแล้วนำมาวิเคราะห์โดยการมองประเด็นหลัก (Major themes) ที่พบเห็นในข้อมูลการสัมภาษณ์ทั้งหมดก่อนและนำมาแตกย่อยออกเป็นประเด็นย่อย (Sub themes) และหัวข้อย่อย (Categories) เมื่อผู้วิจัยสังเกตเห็นเนื้อหาที่แตกต่างออกไปจากวัตถุประสงค์และขอบเขตที่วิจัย และหากมีประเด็นปัญหาอุปสรรคขณะจัดเวทีให้สมาชิก ผู้วิจัยจะให้สมาชิกวิพากษ์จนได้ข้อยุติ แล้วจึงนำมาทำการวิเคราะห์โดยสรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการศึกษา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :337 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
-นวพร ประสมทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด