รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000019
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยประยุกต์ใช้เกมวี ในวิชาพลศึกษา สำหรับนักเรียนช่วงอายุ 10 - 12 ปี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Blended Learning Model by Applying The Wii in Physical Education For students aged 10-12 years.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :The Development of Blended Learning Model by Applying The Wii in Physical Education For students aged 10-12 years.
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > โปรแกรมวิชาพลศึกษาและนันทนาการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :425000
งบประมาณทั้งโครงการ :425,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :การพัฒนาทดลอง
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :พลศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น จะช่วยให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้ทักษะเทคโนโลยี หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ได้มุ่งเน้นให้ผู้สอนจัดการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ เน้นให้ความรู้ และคุณธรรม ผู้เรียนต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และการแก้ปัญหา กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการของสมอง เพื่อนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับกิจกรรมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ลงมือปฏิบัติจริง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับกลุ่มและครู ได้ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษานั้นเป็นการศึกษาสุขภาพที่มีเป้าหมาย เพื่อการดำรงสุขภาพ การสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตขิงบุคคล ครอบครัวและชุมชนให้ยั่งยืน สุขศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ เจตคติ คุณธรรม ค่านิยม และการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพควบคู่กันไป พลศึกษา มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือในการพัฒนาโดยรวมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา รวมทั้งสมรรถภาพเพื่อสุขภาพและกีฬา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) โดยคุณภาพของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน และการควบคุมตนเองในการเคลื่อนไหวแบบผสมผสาน รู้หลักการเคลื่อนไหวและสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมทางกาย เกม การละเล่นกีฬาพื้นเมือง กีฬาไทย กีฬาสากลได้อย่างปลอดภัยและสนุกสนาน มีน้ำใจนักกีฬา โดยปฏิบัติตามกฎ กติกา สิทธิ และหน้าที่ของตนเองจนงานสำเร็จลุล่วง(กระทรวงศึกษาธิการ, 2551) ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพลศึกษาในโรงเรียนนั้น เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ ความอดทนอดกลั้น รู้จักเสียสละ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มีความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม การตัดสินใจที่ดี อารมณ์มั่นคง และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข กิจกรรมทางพลศึกษาเป็นพฤติกรรมที่เรียนรู้ได้จากการแสดงออกของนักเรียน จากการที่ได้สัมผัสกับกิจกรรมทางพลศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความสามารถของตน ได้สร้างความคุ้นเคยกับกิจกรรมทางพลศึกษา การจัดการพลศึกษาในโรงเรียน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา ควบคู่กันไป (นัยนา เมฆหมอก, 2547) ในการเรียนรู้ทางพลศึกษาผู้เรียนจะได้รับโอกาสให้เข้าร่วมในกิจกรรมทางกาย และกีฬาทั้งประเภทบุคคล และประเภททีมอย่างหลากหลายทั้งของไทย และสากล นอกจากผู้เรียนจะได้พัฒนาศักยภาพทางกายอย่างเต็มที่แล้ว ยังได้เรียนรู้ และฝึกฝนตนเองตามกฎกติกา ระเบียบ และหลักการทางวิทยาศาสตร์จากการแข่งขัน และการทำงานร่วมกันเป็นทีมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นการได้รับประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความถนัด ความสนใจ และร่วมเสริมสร้างให้ ผู้เรียนรักการออกกำลังกายมากขึ้นไปอีก และกวิน คเชนทร์เดชา (2546, อ้างถึงใน สุชาดา เรืองดำ: 2547 ) กล่าวว่า เมื่อนักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมทางพลศึกษาแล้ว จะต้องได้รับการพัฒนาใน 3 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับวาสนา คุณาอภิสิทธิ์ (2544) กล่าวว่า วิชาพลศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาแขนงหนึ่งนั้นมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เช่นเดียวกับวิชาอื่นๆ แต่ใช้กิจกรรมการออกกำลังกาย ( กีฬา ) เป็นสื่อ และกิจกรรมเหล่านั้นได้รับการคัดสรรเป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับ บุชเชอร์ (Bucher, 1964 : 27 – 28 ) กล่าวว่า พลศึกษาเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการทางการศึกษา พลศึกษาไม่ได้เป็นเพียงวิชาเพิ่มในหลักสูตร แต่เป็นโปรมแกรมในการสอนของโรงเรียน มีไว้เพื่อไม่ให้เด็กมีเวลาว่าง และพลศึกษายังเป็นส่วนสำคัญของการศึกษา ตลอดจนเป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีทิศทางที่ถูกต้องในการพัฒนาทักษะของเด็กอย่างมีคุณค่ารวมทั้งในด้านการใช้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์การร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการมีสุขภาพที่แข็งแรง มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านสังคม และจิตใจที่ดี พลศึกษาจึงเป็นวิชาที่มีความสำคัญ อันจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการเรียนของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ระบบการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันยังไม่สามารถสร้างพื้นฐานในด้านการคิด สร้างวิธีการเรียนรู้ให้คนไทยมีทักษะในการจัด และทักษะในการดำเนินชีวิตที่สามารถเผชิญกับปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ (นวลพรรณ ไชยมา, 2554) และจากการศึกษาของไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2548) พบว่า กระบวนการเรียนรู้ของไทยไม่ได้สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากการเรียนการสอนยังมีลักษณะป้อนโดยการบรรยายของครูผู้สอนทำให้ผู้เรียนต้องจดท่องจำตามที่อาจารย์บอกเป็นหลัก ส่งผลให้สิ่งที่เรียนมากลายเป็นความรู้ที่ไม่สามารถใช้ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2543) ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาในระดับประถมศึกษาไม่สามารถสอน และจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามจุดประสงค์ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของหลักสูตรที่กำหนดไว้ ตลอดจนการจัดและสนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะ (สามารถ ศรีจันทร์งาม, 2541) สอดคล้องกับผลการวิจัยของ จรัส ขนิษฐ์น้อย (2540) ศึกษาเรื่อง “สภาพและแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาในโรงเรียนชาวเขา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดน่าน” ในด้านปัญหาการดำเนินการสอนวิชาพลศึกษาส่วนใหญ่พบปัญหาในด้านความยากลำบากในการจัดการเรียนการสอนเน้นทักษะกระบวนการให้นักเรียนครบทุกขั้นตอน และกิจกรรมการเรียนที่ปลูกฝังบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ เช่น ระเบียบวินัย ความมีน้ำใจนักกีฬา ศีลธรรม จริยธรรม การเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี และอีกด้านหนึ่งความสำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนโดยเน้นการการทำงานกลุ่ม ปัญหาในส่วนนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินการเรียนการสอนที่มีความสำคัญประการหนึ่ง การเรียนการสอนในโรงเรียนชาวเขา ซึ่งมีความแตกต่างจากโรงเรียนของคนไทยโดยทั่วไป ครูผู้สอนวิชาพลศึกษาควรมีวิธีการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนในโรงเรียน กิจกรรมแต่ละกิจกรรม ควรได้รับการเลือกสรรให้เหมาะสมกับนักเรียน ครูควรคิดวิธีการสอนใหม่ๆ เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร จากผลการวิจัยนี้ สอดคล้องกับสุชาดา เรืองดำ (2547) ศึกษาเรื่อง “ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” กล่าวว่า วิชาพลศึกษา เป็นวิชาที่เป็นภาคปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงออกมาในรูปของการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการปฏิบัติ การจัดกิจกรรมก็ต้องใช้สื่ออุปกรณ์ต่างๆ มีวิธีการสอนที่หลากหลาย อาจจะกระทำได้ยากในสภาพจริงของโรงเรียนในแถบชายแดนภาคใต้ แม้แต่บางครั้งการปฏิบัติในบางอย่างอาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับผู้เรียนที่นับถือศาสนา อิสลามก็เป็นได้ ซึ่งอาจทำให้ครูผู้สอนเน้นการสอนแบบสาธิตมากเกินไป เนื่องจากอุปกรณ์ สถานที่ไม่เพียงพอให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติ จึงอาจจะทำให้การสอนไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้ ครูพลศึกษาส่วนใหญ่ใช้วิธีการสาธิตประกอบการบรรยายเป็นหลัก ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดปัญหา นักเรียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการดำเนินการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดและศักยภาพของบุคคลในด้านความมีเหตุผล ความมีระบบและเป็นระเบียบ การสื่อสาร การเลือกสรรสารสนเทศและการกำหนดกลยุทธ์ ในการแก้ปัญหาซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของทุกคนและยังใช้เป็นเครื่องมือสร้างเสริมทักษะเพื่อการศึกษาในศาสตร์อื่นๆได้อีกด้วย (สำนักงานส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: สสวท, 2545) ซึ่งสอดคล้องกับ Jonassen (อ้างถึงใน นวลพรรณ: 2554) ที่กล่าวว่าเทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้ในฐานะเป็นเครื่องมือแห่งการสร้างความรู้ (Knowledge Construction) ที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถของผู้เรียนในการเรียนรู้สำหรับตัวเองมากกว่าที่จะเป็นสิ่งที่ใช้สอน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันมีความสำคัญและจำเป็นมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไป จากการศึกษาของบทบาทของครูผู้สอนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนการสอนตามยุคสมัย โดยเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ความรู้เป็นผู้
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :-เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยประยุกต์ใช้เกมวี ในวิชาพลศึกษา ของนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี -ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้เกมวี ที่มีต่อนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยประยุกต์ใช้เกมวี ในวิชาพลศึกษา ของนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี -ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้เกมวี ที่มีต่อนักเรียนในระดับอายุ 10-12 ปี
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1009 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธนสิริ โชคทวีพาณิชย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นายสยาม ทองใบ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายทินกร ชอัมพงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายวุฒิชัย ประภากิตติรัตน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นายสมบัติ ศรีทองอินทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด