รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000018
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :To develop innovative products to enhance the value chain of rice. Community enterprise Nile Chao Phraya river.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :โซ่อุปทานข้าว ( Supply Chain of Rice) นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า (Innovation to value creation)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :300000
งบประมาณทั้งโครงการ :300,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความสำคัญ ที่ทำการวิจัย สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11 (พ.ศ. 2555-2559) ได้เน้นการพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สร้างความเข้มแข็งให้สังคม ชุมชน และท้องถิ่น การเกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่นอย่างมากมาย เช่น ปัญหาความยากจน และปัญหาการใช้ทรัพยากรที่เกิดจากการประกอบอาชีพ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549: 5-7) สถานการณ์การทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเน้นผลผลิตปริมาณมาก การใช้เทคโนโลยีและสารเคมีเป็นปัจจัยหลักสำคัญในกระบวนการผลิต ความเสียหายที่ดีต่อสภาพดิน น้ำ อากาศ ส่งผลกระทบต่อความอุดมสมบูรณ์ปัจจัยทางธรรมชาติที่เป็นรากฐานการทำเกษตรกรรม ปริมาณผลผลิตที่ได้ตกต่ำและคุณภาพไม่ค่อยจะปลอดภัย สอดคล้องกับรายงานการวิจัย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (รายงานกิจการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร.2550) ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรส่วนใหญ่คือ ต้นทุน และความรู้ที่น้อยจึงไม่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรได้เต็มที่ในการผลิต และอีกปัญหาที่พบกันอยู่เสมอคือปัญหาพ่อค้าคนกลาง ราคาที่พ่อค้าคนกลางได้รับจากเกษตรกรนั้นเป็นราคาที่ต่ำมาก แต่กลับไปขายต่อได้ในราคาที่สูง ส่วนต่างจำนวนมากนี้ทำให้กำไรเกือบจะทั้งหมดตกไปอยู่ที่พ่อค้าคนกลาง การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ที่เน้นการสร้างมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (Value Creation From Knowledge Application) (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2549: 5-7) และสอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี (Technology) เศรษฐกิจ (Economic) สังคม (Social) การเมือง (Politics) การค้าระหว่างประเทศ (International Trade) และการแข่งขัน (Competition) จำเป็นต้องมีการจัดการความรู้และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาการบริหารจัดการระหว่างประเทศ (International Institute for Management Development) มีการศึกษาความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย พบว่าอยู่ในอันดับที่ 43 (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. 2549: 8-9) ทำให้มีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนการพัฒนาด้านต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดการทรัพยากร เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันตั้งแต่ระดับชุมชนและสังคมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย คือขาดการพัฒนารูป พึ่งพาตนเองตามแนวแบบเศรษฐกิจพอเพียงขาดการจัดการระบบโซ่อุปทานในเชิงพาณิชย์ แต่ที่สำคัญ ชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก พื้นที่การเกษตรในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าวและพืชไร่ โดยเป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดถึงร้อยละ 69.86 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด โดยพื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มของลุ่มน้ำเจ้าพระยา พืชที่ปลูกในลำดับรองลงมาคือพืชไร่ มีการปลูกประมาณร้อยละ 23.76 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมดโดยจะปลูกบริเวณที่ราบที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ โดยเฉพาะบริเวณฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำ ส่วนพื้นที่การเกษตรที่เหลือมีการปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้นในจำนวนไม่มากนักประมาณร้อยละ 5.74 ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด (กรมชลประทาน.2553) โดยการปลูกข้าวนั้น เกษตรกรต้องใช้เวลารอการเก็บเกี่ยวข้าวนั้นแต่ละครั้ง ประมาณ 3-4 เดือน โดย 1 ปี อาจปลูกข้าวได้ 1-2 ครั้ง เนื่องจากในปัจจุบันนั้นเราจะไปอ้างอิงธรรมชาติค่อนข้างมาก ทำให้รายได้ของเกษตรกรนั้นไม่พอกับรายจ่ายที่ได้ลงทุนไว้ ทำให้เกิดหนี้สิน บางเกษตรกรต้องทำเช่าที่ดินในการทำนา พอเจอกับธรรมชาติที่ไม่คง ทำให้เป็นหนี้สินจำนวนมาก พอหลายๆปี ก็ทำให้มีหนี้สินที่ไม่สามารถใช้ได้หมด ทำให้เป็นผลเสียหลายด้าน จาก ปัญหาดังกล่าว โครงการวิจัยสามารถทำให้เกษตรกรได้รวมกลุ่มพึ่งพาตนเอง เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจชุมชนเพื่อเป็นหลักประกันการอยู่ดีกินดีของประชาชนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ประเทศไทยยังมีทุนที่เป็นทรัพยากร ผลผลิต รวมทั้งทุนทางสังคม โดยเฉพาะความรู้ ภูมิปัญญา ระบบคุณค่าและวัฒนธรรม การส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนได้เรียนรู้ได้พบทุนเหล่านี้ ได้พัฒนาขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากรและทุนที่มีอยู่ให้เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการสร้างสรรค์กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลายและมีระบบการจัดการที่เรียกว่าวิสาหกิจชุมชน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อศึกษารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 2 เพื่อพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 3 เพื่อประเมินผลรูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นไปตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิตและการตลาด โดยใช้ระเบียบการวิจัย มีวิธีดำเนินการโดยใช้วิธีการศึกษา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1 ขั้นที่หนึ่ง การเก็บรวบรวบข้อมูล ชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีส่วนร่วม ดังนี้ 1.1. การเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลักษณะแนวกว้างและลึก โดยใช้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งที่เป็นรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ 1.2. การเก็บข้อมูลจากจัดกิจกรรม การศึกษาดูงาน โดยการสังเกตรวบรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 1.3. การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้นำชุมชน ได้จากการสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ขั้นที่สอง ศึกษารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนี้ 2.1 สภาพเศรษฐกิจ 2.2 สังคมและวัฒนธรรม 2.3 สภาพแวดล้อม 2.4 กระบวนการผลิต 2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.6 การวิเคราะห์สภาพปัญหา (SWOT Analysis) 3 ขั้นที่สาม การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 3.1 สร้าง ต้นแบบ 3.2 ทดลอง ต้นแบบ 3.3 วิเคราะห์จากการทดลอง ต้นแบบ 4 ขั้นที่สี่ การประเมินรูปแบบ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน 4.1 ประเมินรูปแบบ การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4.2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4.3 จดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมของผลการวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีการดำเนินการวิจัย การวิจัยการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นไปตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิตและการตลาด โดยใช้ระเบียบการวิจัย มีวิธีดำเนินการโดยใช้วิธีการศึกษา 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1 ขั้นที่หนึ่ง การเก็บรวบรวบข้อมูล ชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีส่วนร่วม ดังนี้ 1.1. การเก็บข้อมูลภาคสนามจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาลักษณะแนวกว้างและลึก โดยใช้ทั้งแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล ทั้งที่เป็นรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการ 1.2. การเก็บข้อมูลจากจัดกิจกรรม การศึกษาดูงาน โดยการสังเกตรวบรวมจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 1.3. การเก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้ผลิต ผู้ซื้อ และผู้นำชุมชน ได้จากการสนทนากลุ่ม การทำเวทีประชาคม และกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ขั้นที่สอง ศึกษารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ดังนี้ 2.1 สภาพเศรษฐกิจ 2.2 สังคมและวัฒนธรรม 2.3 สภาพแวดล้อม 2.4 กระบวนการผลิต 2.5 เทคโนโลยีสารสนเทศ 2.6 การวิเคราะห์สภาพปัญหา (SWOT Analysis) 3 ขั้นที่สาม การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 3.1 สร้าง ต้นแบบ 3.2 ทดลอง ต้นแบบ 3.3 วิเคราะห์จากการทดลอง ต้นแบบ 4 ขั้นที่สี่ การประเมินรูปแบบ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน 4.1 ประเมินรูปแบบ การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4.2 การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนการพัฒนารูปแบบนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าโซ่อุปทานข้าว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 4.3 จดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมของผลการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :3611 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐเศรษฐ์ น้ำคำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60
-สุรชัย บุญเจริญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายเสกสิทธิ์ รัตนสิริวัฒนกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด