รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000016
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Ways to prevent and respond to a repeat of the children and youth in the case of an offense related to drugs as a predictive factor of Criminology.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การกระทำผิดซ้ำ (Repeat offenses), ยาเสพติด (Drug), อาชญาวิทยา (Criminology)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :400000
งบประมาณทั้งโครงการ :400,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขานิติศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เมื่อมองย้อนไปยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ปัญหายาเสพติด ยังไม่แพร่ระบาดรุนแรงมากทั้งยังสามารถควบคุมและจำกัดวงของการแพร่ระบาดได้ ซึ่งต่างจากปัจจุบัน ที่ปัญหาได้ทวีความซับซ้อนและรุนแรงเพิ่มขึ้น ทุกส่วนของสังคมยอมรับว่ายาเสพติดเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยที่รัฐบาลของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะทำสงครามกับยาเสพติด ด้วยพลังแผ่นดินนั้น นับว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีและเป็นก้าวแรกสำคัญที่จะช่วยให้การแก้ปัญหาประสบความสำเร็จได้ ซึ่งได้กล่าวในการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทางเอาชนะยาเสพติด ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2544 โดยกล่าวว่า “ปัญหายาเสพติดมีความรุนแรงมาก จำนวนผู้เสพมีมาก การทำลายของยาเสพติดต่อคุณภาพของคนรุนแรงมาก จะต้องใช้ยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน จึงจะได้ผล กล่าวคือต้องให้คนทั้งชาติมาช่วยกันต้องให้ทุกคนรู้ว่าภัยของชาติในทุกด้านมันมีอยู่จริง ต้องปลุกเร้าให้เกิดความเป็นชาติความรักสามัคคี” การใช้ยาเสพติดเป็นพฤติกรรมการใช้ยาในทางที่ผิด เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่เบี่ยงเบนออกไปจากแนวปกติ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่างผสมผสานกันที่สำคัญคือ ต้องมียาเสพติด มีกลุ่มผู้ค้าและกลุ่มผู้เสพ ซึ่งก็คือประชากรในทุกกลุ่มที่อยู่ในสังคม รวมทั้งภาวะทางสังคมที่เอื้ออำนวยให้เพลี่ยงพล้ำตกเป็นทาสยาเสพติดชนิดนั้นๆการที่บุคคลจะตัดสินใจเลือกที่จะใช้ยาเสพติดเป็นทางออกหรือไม่นั้น มีองค์ประกอบอยู่หลายอย่างในทีนี้จะขอกล่าวถึงบริบทโดยรวมที่เกี่ยวข้อง ในการเอื้อให้เกิดปัญหายาเสพติด ดังนี้ 1.สภาวะของสังคม สภาพสังคมที่มีความปกติสุข ทุกคนในสังคมสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติธรรมดาได้อย่างมีความสุข ไม่มีแรงผลักดันให้ต้องพึ่งยาเสพติด และมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าการใช้ยาเสพติดการใช้ยาในทางที่ผิดก็จะไม่เกิดขึ้น 2. ขนบธรรมเนียมและประเพณี มีส่วนสำคัญในฐานะปัจจัยเกื้อหนุนต่อการใช้ยาเสพติดเช่นครอบครัวที่พ่อแม่มีอาชีพต้มเหล้าขาย หรือเปิดร้านขายเหล้า บุหรี่ หรือครอบครัวที่พ่อแม่ นิยมตั้งวงกินเหล้า เล่นไพ่ สูบบุหรี่ รวมทั้งธรรมเนียมพื้นบ้านของบางท้องถิ่นที่ชักชวนกันเสพสิ่งเสพติดกันอย่างสนุกสนานในเทศการต่างๆ ย่อมเป็นองค์ประกอบที่ชักจูงให้เด็กหันไปเสพสิ่งเสพติดตามอย่างได้อย่างง่ายดาย 3. อิทธิพลความฟุ้งเฟ้อ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนในสังคมหันไปเสพสิ่งเสพติด เช่น การเฉลิมฉลองในโอกาสต่างๆ การกระทำตามอย่างของวัยรุ่น ที่คิดว่ายาเสพติดเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวและจำเป็นต้องใช้เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเที่ยวเตร่ เป็นต้น ความฟุ้งเฟ้อเหล่านี้เป็นเรื่องของค่านิยมที่เราจะรณรงค์ชักจูงให้เลิกหรือขจัดให้หมดไปได้ยากยิ่ง 4. ขาดแคลนแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ การที่ประชาชนในสังคมขาดแคลนแหล่งพักผ่อนทั้งกายและใจ ทำให้ไม่มีช่องทางผ่อนคลายความเครียดและความกดดัน ประชาชนบางส่วนจึงหันเข้าหาการพักผ่อนด้วยการดื่มเหล้า จากที่ได้กล่าวถึงปัญหายาเสพติดในภาพรวมมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการขับเคลื่อนของสังคมโดยรวมจะสามารถส่งผลให้ปัญหาต่างๆ คลี่คลายในทางที่ดีได้แนวคิดทางสังคมที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ก็คือ ฉันทามติ (Consensus Theory)กล่าวคือ“ความคิดเห็นที่รวมกันจำนวนหนึ่งของกลุ่มที่ผสมผสานกัน หรือของสาธารณะอย่างหนึ่ง ซึ่งรวมเอาความคิดเห็นของมวลสมาชิก แล้วผนึกเข้าไว้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่จำเป็นจะต้องเป็นความคิดที่ลงรอยกันเป็นเอกฉันฑ์ แต่เป็นความคิดที่มวลสมาชิกถือเป็นฐานในการปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างน้อยก็คราวหนึ่ง” ทุกคนในสังคมยอมรับว่ายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ที่บ่อนทำลายประเทศชาติและประชากรในชาติ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ที่ถือว่าเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ยาเสพติดก็แพร่ระบาดเข้าไปอย่างรวดเร็ว ทุกส่วนในสังคมพยายามเข้าไปช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ดูเหมือนว่ายิ่งแก้ไข ปัญหาก็ยิ่งมากขึ้นและทวีความรุนแรงซับซ้อนขึ้นทุกทีจากแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า การดำเนินงานเป็นไปในลักษณะแยกส่วน ต่างคนต่างแก้ ความซ้ำซ้อนและความไม่มีเอกภาพในการแก้ไขปัญหาจึงเกิดขึ้น สำหรับปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยนั้น นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งและเป็นปัญหาที่ทุกภาคทุกส่วนจะต้องให้ความสนใจและดำเนินการแก้ไขโดยเร่งรีบซึ่งจะเห็นได้ว่า ในแต่ละปีนั้นมีจำนวนเป็นหมื่นๆ ราย อย่างเช่นในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนถึง 46,918 ราย ในปีพ.ศ. 2552 มีจำนวนถึง 46,371 ราย และในปี พ.ศ. 2553 มีจำนวนถึง 44,057 ราย ซึ่งคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดก็ถือเป็นคดีความผิดหนึ่งที่มีผู้กระทำผิดเป็นจำนวนมาก (รายงานสถิติคดีประจำปี, กลุ่มงานข้อมูลและสารสนเทศ, สำนักงานพัฒนาระบบงานยุติธรรมเด็กและเยาวชน.2554 : online) เนื่องจากเด็กและเยาวชนเหล่านี้นั้นเป็นวัยที่อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ (Transitional period) โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น คือ เป็นช่วงที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็ก เข้าไปสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้น(อายุระหว่าง 17-25) ซึ่งช่วงอายุดังกล่าวนี้ในทางอาชญาวิทยาในกลุ่มของ Life-course theory ถือว่าเป็นช่วงอายุที่มีปัญหามากกว่ากลุ่มอื่นๆ เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านร่างกายและจิตใจและช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการกระทำผิดมากที่สุดหรือสูงที่สุดโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี(Sampson and Laub, 1993 : 312) ฉะนั้นกลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้จะต้องได้รับความสนใจและให้การดูแล ป้องกันแก้ไขเป็นพิเศษมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพื่อมิให้กลุ่มคนเหล่านี้กระทำผิดขึ้นอีกอย่างไรก็ดีการกระทำผิดครั้งแรกของเด็กและเยาวชนเหล่านี้ก็นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญยิ่งอยู่แล้ว ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องระดมสรรพกำลังต่างๆ เข้าดำเนินการแก้ไขอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ แต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ กลุ่มเด็กและเยาวชนเหล่านี้ยังมีการกระทำผิดอีกหลายๆ ครั้ง หรือกระทำผิดซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องจะต้องระดมสรรพกำลังเข้าดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาดังกล่าวที่ยากยิ่งขึ้นไปอีก ยากกว่าการกระทำผิดครั้งแรกอีกหลายเท่าตัว เนื่องจากการกระทำผิดซ้ำนั้นมีสาเหตุที่เชื่อมโยงหรือได้รับอิทธิพลมาจากปัจจัยหลายๆ อย่าง ซึ่งบางอย่างก็ไม่เหมือนกับการกระทำผิดครั้งแรก นอกจากนั้นปัจจัยที่มีอิทธิพลเหล่านี้ ยังเป็นปัจจัยที่ละเอียดอ่อน ลึกซึ้งและยากต่อการที่จะค้นหา และยากต่อการที่จะป้องกันและแก้ไขได้ ซึ่งการศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนนอกจากจะทำให้ทราบถึงปัจจัยต่างๆ ว่ามีอิทธิพลต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนมากน้อยแค่ไหน มีอิทธิพลอย่างไรแล้ว ยังจะมีประโยชน์ต่อแนวทางในการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหาการกระทำผิดดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล และทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โดยอาศัยพื้นฐานการกำหนดนโยบาย และแผนการดำเนินการมาจากอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญ คือ 6.1 เพื่อศึกษาถึงปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยา ที่สามารถทำนายกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 6.2 เพื่อศึกษาหาแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด บนพื้นฐานของอิทธิพลของปัจจัย ทางด้านอาชญาวิทยา
ขอบเขตของโครงการ :ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดใน 16 ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในเด็กและเยาวชนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดใน 16 ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญาวิทยา แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับความบีบคั้นหรือความกดดันทางสังคม และแนวคิดเกี่ยวกับโอกาสในการกระทำผิด ขอบเขตด้านระยะเวลา ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2556 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 1) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ตัวแปรทางด้านภูมิหลังทางประชากร ตัวแปรทางด้านความผูกพันทางสังคม ตัวแปรทางด้านการคบหาสมาคมกับเพื่อนที่เคยกระทำผิด ตัวแปรทางด้านความบีบคั้นหรือความกดดันทางสังคม และตัวแปรทางด้านโอกาสในการกระทำผิด และ 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :17.1 ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยาที่มีอิทธิพลต่อกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (P) 17.2 ได้แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด บนพื้นฐานของอิทธิพลของปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยา (P) 17.3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้องค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานในการบริการทางวิชาการ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (I) 17.4 กรมคุมประพฤติ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สามารถนำผลการวิจัยที่ได้ ไปใช้เป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่อไป (G)
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญาวิทยา แนวคิดเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับความบีบคั้นหรือความกดดันทางสังคม แนวคิดเกี่ยวกับโอกาสในการกระทำผิด
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีรายละเอียดวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1)เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดใน16 ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน จำนวน 14,695 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในเด็กและเยาวชน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1)เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดซ้ำในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติดใน 16 ศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนจำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และความสามารถ มีความชำนาญเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดในเด็กและเยาวชน จำนวน 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีที่เกี่ยวกับยาเสพติด และฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ทบทวนเอกสารและสังเคราะห์แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ ในทางอาชญาวิทยาในการอธิบายหรือทำนายการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 3. สรุปผลที่ได้วิเคราะห์ปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 4. สัมภาษณ์แบบลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดบนพื้นฐานของอิทธิพลของปัจจัยทางด้านอาชญาวิทยา การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ (Statistic Analysis) โดยการวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์?เส้นทาง (Path Analysis)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :180 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางศิริวรรณ กมลสุขสถิต บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด